พัฒนาการทางกายของด็ก ของ ผลต่อสุขภาพจากเสียง

สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐพิมพ์จุลสารในปี 2521 ที่แสดงว่า มีสหสัมพันธ์ระหว่างเสียงดังกับเด็กคลอดตัวเล็ก (โดยใช้มาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่ 2.5 กิโลกรัม)และกับอัตราความพิการของทารกแรกเกิดเพิ่มขึ้นในสถานที่หญิงมีครรภ์ต้องได้รับเสียงดัง เช่นที่สนามบินความพิการรวมทั้งปากแหว่ง เพดานปากโหว่ และความพิการของกระดูกสันหลัง[15]

ตามนักวิชาการของรายงานนั้น "มีหลักฐานเพียงพอว่า สิ่งแวดล้อมมีบทบาทในการกำหนดรูปร่าง พฤติกรรม และหน้าที่ของร่างกายในสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ ไม่ใช่เพียงตั้งแต่คลอดสัตว์ในครรภ์สามารถได้ยินเสียงและตอบสนองด้วยการเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนอัตราหัวใจเต้น"เสียงดังมีผลมากที่สุดในระหว่าง 15-60 วันหลังปฏิสนธิ ซึ่งเป็นช่วงที่อวัยวะภายในหลัก ๆ และระบบประสาทกลางจะพัฒนาขึ้น[15]ผลทางพัฒนาการภายหลังจะเกิดขึ้นถ้าเสียงดังทำให้เส้นเลือดของมารดาตีบแล้วลดการไหลเวียนของเลือด และดังนั้น จึงลดออกซิเจนและสารอาหารไปยังทารก

การมีน้ำหนักน้อยและเสียง ยังสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนบางอย่างที่ต่ำในมารดาอีกด้วยฮอร์โมนเหล่านี้เชื่อว่ามีผลต่อการเติบโตของทารกและเป็นตัวบ่งชี้การผลิตโปรตีนที่ดีความแตกต่างของฮอร์โมนมารดาในที่เสียงดังและในที่เงียบจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อใกล้คลอดขี้นเรื่อย ๆ[15]

อย่างไรก็ดี ในงานศึกษาปี 2543 ซึ่งทบทวนงานศึกษาในเรื่องน้ำหนักแรกเกิดและการได้รับเสียงชี้ว่า แม้ว่า งานศึกษาแล้ว ๆ มาอาจจะแสดงว่า เมื่อหญิงได้รับเสียงเกิน 65 dB เนื่องจากเครื่องบิน น้ำหนักแรกเกิดจะลดลงหน่อยหนึ่งแต่ว่า งานศึกษาหลังจากนั้นในหญิงชาวไต้หวัน 200 คนซึ่งวัดการได้รับเสียงโดยเฉพาะสำหรับแต่ละคน ๆ ไม่พบความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญระหว่างการได้รับเสียงกับน้ำหนักแรกเกิดหลังจากปรับตัวแปรกวนที่สมควร เช่น ระดับชั้นทางสังคม น้ำหนักเพิ่มของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ เป็นต้น[1]

พัฒนาการทางประชาน

เมื่อเด็กเล็ก ๆ ได้รับเสียงดังเรื่อย ๆ ที่รบกวนการพูด ก็อาจจะมีปัญหาการพูดหรือการอ่าน เพราะว่า การได้ยินไม่สมบูรณ์โดยเด็ก ๆ จะพัฒนาการเข้าใจคำพูดจนกระทั่งถึงวัยรุ่นหลักฐานแสดงว่าเมื่อเด็กเรียนในห้องเรียนที่เสียงดังกว่า ก็จะมีปัญหาเข้าใจคำพูดมากกว่าเด็กที่เรียนในที่ ๆ เงียบกว่า[35]

ในงานศึกษาของมหาวิทยาลัยคอร์เนลปี 2536 เด็กที่ได้ยินเสียงดังในที่ ๆ เรียนมีปัญหาในการแยกแยะคำพูด และมีพัฒนาการทางประชานที่ล่าช้าหลายอย่าง[36]รวมทั้งปัญหาการเขียนแบบ dysgraphia ซึ่งมักสัมพันธ์กับตัวสร้างความเครียดในห้องเรียนเสียงดังยังมีหลักฐานว่า ทำสุขภาพของเด็กเล็ก ๆ ให้เสียเช่น เด็กจากบ้านที่เสียงดังบ่อยครั้งมีอัตราการเต้นหัวใจที่สูงกว่าอย่างสำคัญ (โดยเฉลี่ย 2 ครั้งต่อนาที) เทียบกับเด็กจากบ้านที่เงียบกว่า[37]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ผลต่อสุขภาพจากเสียง http://www.cbsnews.com/stories/2007/02/18/ap/healt... http://www.flixxy.com/how-sound-affects-us.htm http://www.medscape.com/viewarticle/516462 http://salemnews.com/punews/local_story_103205126.... http://www.whaleacoustics.com/purposeimpactofnoise... http://ist-socrates.berkeley.edu/~lohp/graphics/pd... http://www.cdc.gov/niosh/topics/buyquiet/default.h... http://www.cdc.gov/niosh/topics/buyquiet/default.h... http://www.epa.gov/history/topics/noise/01.htm //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1637786