การเสียการได้ยิน ของ ผลต่อสุขภาพจากเสียง

มีเตอร์ระดับเสียง (sound level meter) เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการวัดเสียง

กลไกการเสียการได้ยินเกิดจากความบอบช้ำต่อ stereocilia ของคอเคลีย ซึ่งเป็นโครงสร้างหลักเต็มไปด้วยน้ำของหูชั้นในใบหูบวกกับหูชั้นกลางจะขยายความดันเสียงถึง 20 เท่า จึงเป็นความดันเสียงในระดับสูงที่เข้ามาถึงคอเคลียแม้จะเกิดจากเสียงในอากาศที่ไม่ดังมากเหตุโรคของคอเคลียก็คือ สารมีออกซิเจนที่มีฤทธิ์ (reactive oxygen species) ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการตายเฉพาะส่วนกับอะพอพโทซิสที่เกิดจากเสียงของ stereocilia[11]การได้รับเสียงดัง ๆ มีผลต่าง ๆ กันต่อบุคคลกลุ่มต่าง ๆบทบาทของสารมีออกซิเจนที่มีฤทธิ์อาจชี้วิธีการป้องกันและรักษาความเสียหายต่อการได้ยิน และชี้โครงสร้างต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกัน[11]

เสียงดังเป็นเหตุให้โครงสร้างในคอเคลียบอบช้ำ ซึ่งทำให้เสียการได้ยินอย่างแก้ไม่ได้[12]เสียงดังในพิสัยความถี่โดยเฉพาะสามารถทำให้เซลล์ขนของคอเคลียที่ตอบสนองที่ความถี่นั้น ๆ เสียหาย และดังนั้น จะลดสมรรถภาพของหูในการได้ยินเสียงที่ความถี่นั้น ๆ ในอนาคต[13]แต่ว่า เสียงดังในพิสัยความถี่ไหนก็ตาม ก็ยังมีผลไม่ดีต่อการได้ยินของมนุษย์ตลอดทุกพิสัย[14]เพราะหูชั้นนอก (คือส่วนที่สามารถมองเห็นได้) บวกกับหูชั้นกลาง จะขยายเสียงประมาณ 20 เท่าแล้วก่อนจะถึงหูชั้นใน[15]

หูตึงเหตุสูงอายุ (presbycusis)

การเสียการได้ยินมักจะเลี่ยงไม่ได้เมื่อสูงอายุขึ้นแม้ว่า ชายสูงอายุที่ได้รับเสียงดัง ๆ จะไวเสียงน้อยกว่าอย่างสำคัญเทียบกับชายที่ไม่ได้รับ แต่ว่า ความแตกต่างจะลดลงไปเรื่อย ๆ และกลุ่มทั้งสองจะไม่แตกต่างกันเลยโดยอายุ 79 ปี[2]หญิงที่ได้รับเสียงดังในอาชีพจะไม่ไวเสียงต่างจากหญิงที่ไม่ได้รับ และก็ยังได้ยินเสียงได้ดีกว่ากลุ่มชายที่ไม่ได้รับเสียงดังด้วยเนื่องจากเสียงดนตรีและเสียงจากสิ่งแวดล้อมที่หนวกหู เยาวชนในสหรัฐอเมริกาจะมีอัตราความพิการทางการได้ยินเป็น 2.5 เท่าของพ่อแม่ปู่ย่าตายาย โดยจะมีคนพิการถึงประมาณ 50 ล้านคนโดยปี 2050[3]

งานศึกษาปี 2533 ในเรื่องผลทางสุขภาพและการเสียการได้ยิน ติดตามคนเผ่า Maaban ในประเทศกานา ผู้ได้รับเสียงเพราะการคมนาคมและอุตสาหกรรมน้อยโดยเปรียบเทียบอย่างมีระบบกับคนรุ่นเดียวกัน (cohort) ในสหรัฐแล้วพิสูจน์ว่า ความสูงอายุเป็นเหตุการเสียการได้ยินเพียงเล็กน้อยจนเกือบไม่มีนัยสำคัญ แต่มีเหตุมาจากการได้รับเสียงค่อนข้างดังอย่างเรื้อรังจากสิ่งแวดล้อม[12]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ผลต่อสุขภาพจากเสียง http://www.cbsnews.com/stories/2007/02/18/ap/healt... http://www.flixxy.com/how-sound-affects-us.htm http://www.medscape.com/viewarticle/516462 http://salemnews.com/punews/local_story_103205126.... http://www.whaleacoustics.com/purposeimpactofnoise... http://ist-socrates.berkeley.edu/~lohp/graphics/pd... http://www.cdc.gov/niosh/topics/buyquiet/default.h... http://www.cdc.gov/niosh/topics/buyquiet/default.h... http://www.epa.gov/history/topics/noise/01.htm //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1637786