ผลต่อระบบหลอดเลือดหัวใจ ของ ผลต่อสุขภาพจากเสียง

เสียงสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพทางหลอดเหลือดหัวใจอย่างสำคัญ[16]ในปี 2542 องค์การอนามัยโลกสรุปว่า หลักฐานที่มีแสดงสหสัมพันธ์อ่อน ๆ ระหว่างการได้ยินเสียงมากกว่า 67-70 dB(A) นาน ๆ กับความดันโลหิตสูง[17]งานศึกษาปี 2546 แสดงว่า เสียงดังกว่า 50 dB(A) ตอนกลางคืนจะเพิ่มความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด เพราะเพิ่มการผลิตคอร์ติซอล (ฮอร์โมนเครียด) อย่างเรื้อรัง[18][19][20]

เสียงรถในถนนก็พอทำให้เส้นเลือดแดงที่ออกจากหัวใจตีบแล้ว ซึ่งทำให้ความเกิดความดันโลหิตสูงและก็มีประชากรบางกลุ่มที่เสี่ยงเรื่องนี้มากกว่าซึ่งอาจจะเกิดจากความรำคาญเสียงซึ่งเพิ่มระดับอะดรีนาลีน ซึ่งจุดชนวนการทำให้เส้นเลือดตีบ หรืออาจเกิดจากปฏิกิริยาแบบเครียดผลอื่น ๆ ของเสียงดังรวมทั้งปวดศีรษะ ความล้า แผลในกระเพาะอาหาร และอาการรู้สึกหมุน ที่เกิดเพิ่มขึ้น[15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ผลต่อสุขภาพจากเสียง http://www.cbsnews.com/stories/2007/02/18/ap/healt... http://www.flixxy.com/how-sound-affects-us.htm http://www.medscape.com/viewarticle/516462 http://salemnews.com/punews/local_story_103205126.... http://www.whaleacoustics.com/purposeimpactofnoise... http://ist-socrates.berkeley.edu/~lohp/graphics/pd... http://www.cdc.gov/niosh/topics/buyquiet/default.h... http://www.cdc.gov/niosh/topics/buyquiet/default.h... http://www.epa.gov/history/topics/noise/01.htm //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1637786