ที่มา ของ พระคัมภีร์คนยาก

พระคัมภีร์ภาพ

“พระคัมภีร์คนยาก” มิใช่งานเดียวกับงานที่เรียกกันว่า “บิเบลียเพาเพรุม” (Biblia Pauperum หรือ “พระคัมภีร์สำหรับคนจน”) ซึ่งเป็นคัมภีร์ไบเบิลที่เป็นสิ่งพิมพ์ประกอบภาพที่อาจจะออกมาในรูปของเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร หรือ หนังสือภาพพิมพ์แกะไม้ก็ได้ หนังสือพระคัมภีร์ภาพสีวิจิตรเป็นงานที่มีราคาสูงเกินกว่าที่ผู้ยากจนสามารถเป็นเจ้าของได้ แต่ถ้าเป็นงานที่พิมพ์จากบล็อกไม้ก็มีราคาต่ำกว่ามากและอาจจะใช้เป็นตำราสำหรับสอนผู้ยากจน

ตามชื่อภาษาละตินจะแปลว่าพระคัมภีร์สำหรับคนจนแต่หนังสือพระคัมภีร์ภาพแต่ในสมัยแรกเป็นหนังสือที่สร้างขึ้นสำหรับผู้มีฐานะดี และงานแกะสลักและหน้าต่างประดับกระจกสีจะเป็นงานที่สร้างขึ้นเพื่อความรู้ความบันเทิงสำหรับผู้ที่เข้ามาในคริสต์ศาสนสถาน และงานทั้งสองประเภทนี้ต่างก็ครอบคลุมหัวเรื่องหรือเนื้อเรื่องเดียวกัน และถือว่าเป็น งานประเภทที่เรียกว่า “รูปเคารพ

การเขียนงานจากแม่แบบ

ในสมัยก่อนที่จะเกิดสิ่งพิมพ์ขึ้น การสืบทอดเรื่องราวจากหนังสือกระทำโดยการคัดลอกจากต้นฉบับซึ่งเป็นวิธีเดียวที่ใช้ในการอนุรักษ์บทงานเขียนคัมภีร์ไบเบิลและวรรณกรรมอื่น ๆ[2] นอกไปจากบทเขียนแล้วหนังสือคัดลอกเหล่านี้ก็มักจะมีความเห็นและภาพประกอบสอดแทรกด้วย ภาพที่ประกอบแม้ว่าจะเขียนโดยผู้มีความสามารถที่มีเอกลักษณ์และแนวเขียนทางด้านเทคนิคที่เป็นของตนเอง แต่ลักษณะรูปแบบของหัวเรื่องที่เขียนโดยทั่วไปแล้วมักจะเหมือนกันในรูปแบบของฉากเรื่องราวและองค์ประกอบอย่างเดียวกันที่เขียนซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพียงแต่ใช้มีเดียที่ต่างกันเท่านั้น

ตัวอย่างเช่นแม่บท (Motif) ที่เป็นภาพแกะหลายตัวที่ตัวหนึ่งจะยกเท้าขึ้นมาเกาหู ก็จะนิยมเขียนกันในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 ในเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร จิตรกรรมฝาผนัง หรือแผ่นงานสลักหรือภาพตัวแบบคู่ที่มีปีกที่พบบนโลงหินของโรมันโบราณก็นำมาใช้กันในศิลปะศาสนาคริสต์กันเสมอในการวาดภาพทูตสวรรค์เช่นในภาพสลักหินของพระเยซูกับทูตสวรรค์สององค์เหนือพระพาหาจากราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 หรือ 8 ในสเปน หรือ ในภาพพระเยซูทรงรับบัพติศมาวาดโดยปีเอโตร เปรูจีโน การสร้างภาพจากแม่แบบที่เดิมเป็นหนังสือวิจิตรมักจะพบในการสร้างหน้าต่างประดับกระจกสี ที่มักจะนำมาจาก “บิเบลียเพาเพรุม

การถ่ายทอดความคิด

ระหว่างการเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ ในยุโรปไปจนถึงฮังการีราวระหว่างปี ค.ศ. 1220 ถึงปี ค.ศ. 1230 วีลาร์ เดอ ออนกูร์ นาช่างด้านการก่อสร้าง (Master-builder) จากพิคาร์ดในฝรั่งเศสก็ได้วาดภาพสถาปัตยกรรม, ภาพวิทยาศาสตร์ และ รูปแบบต่าง ๆ ที่ยังคงเหลือไว้เป็นสมุดภาพเอาไว้ ภาพวาดส่วนใหญ่เป็นภาพที่ไม่ใช่ภาพเขียนต้นฉบับ ที่ออนกูร์เขียนขึ้นจากสิ่งก่อสร้างและงานศิลปะที่พบเห็นระหว่างการเดินทาง การที่จะทำให้ภาพเหล่านี้มีประโยชน์ในการใช้สอยโดยผู้อื่น แต่ละภาพก็มีหมายเหตุประกอบที่เขียนอย่างละเอียดบรรจงโดยนักคัดอักษรวิจิตรและนำไปใส่รวมกันไว้ในกระเป๋าเอกสารที่เรียกว่า “portfolio” ซึ่งทำให้เราทราบถึงวิธีการถ่ายทอดรูปลักษณ์, ลวดลายการตกแต่ง และความคิดความอ่านจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่ง

ภาพเหมือนตนเองของแม็ทธิว แพริส นักพรตคณะเบเนดิกติน ผู้เป็นนักบันทึกประวัติศาสตร์และ จิตรกรเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร และ นักเขียนแผนที่ชาวอังกฤษ

แม้ว่าชื่อของช่างสลักหิน, จิตรกร, นักเขียนเอกสารตัวเขียนวิจิตร และ นักสร้างงานกระจกสีส่วนใหญ่แล้วจะสูญหายไปแต่เราก็ยังสามารถที่จะติดตามความเคลื่อนไหวของศิลปินบางคนได้บ้าง เช่น

เป็นการ

ใกล้เคียง

พระคัมภีร์คนยาก พระคันธารราฐ พระคันธารราษฎร์ พระคันธกุฎี พระคัมภีร์ไบเบิล พระคัมภีร์หลัก พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม พระคัมภีร์ไบเบิลฉบับเคลือบแคลง พระคัมภีร์ฉบับพระเจ้าเจมส์ พระคัมภีร์ไบเบิลภาษาละติน

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระคัมภีร์คนยาก http://amasis.com/biblia/ http://artchive.com/artchive/T/tintoretto.html http://www.classicalmosaics.com/photo_album.htm http://www.initaly.com/regions/friuli/tiepolo.htm http://www.invenicetoday.com/art-tour/churches/chu... http://www.orthodoxphotos.com/Monasteries_and_Chur... http://www.ourpasthistory.com/architecture/archite... http://www.paradoxplace.com/Perspectives/Venice%20... http://www.sacred-destinations.com/england/st-paul... http://www.scultura-italiana.com/Biografie/Di%20Ba...