หัวเรื่อง ของ พระคัมภีร์คนยาก

ฉากจากพระคัมภีร์ไบเบิล

ชีวิตของพระเยซู” - ฉากแท่นบูชาอิเซนไฮม์โดยแม็ทไทอัส กรึนวอลด์จากโบสถ์โคลมาร์

ชีวิตของพระเยซูหัวข้อที่นิยมกันที่สุดในการสร้าง “พระคัมภีร์คนยาก” คือ งานเกี่ยวกับชีวิตของพระเยซู ที่รวมทั้งการประสูติของพระเยซู, การชื่นชมของแมไจ, การชื่นชมของคนเลี้ยงแกะ, พระเยซูผจญมาร, ทุกขกิริยาของพระเยซู, การตรึงกางเขนของพระเยซู และ พระเยซูคืนชีพ การทำก็อาจจะเป็นภาพต่อเนื่องกันเป็นชุดที่อาจจะเป็นงานจิตรกรรม, งานโมเสก, งานประติมากรรมไม้ หรือ หน้าต่างประดับกระจกสี ที่อาจจะตั้งบนผนังของคริสต์ศาสนสถาน โดยเฉพาะภายในมหาวิหารในฝรั่งเศส หรือ ในเยอรมนี ภาพก็อาจจะตั้งอยู่ในช่องบนฉากกางเขนเพื่อที่จะให้ผู้เดินผ่านรอบจรมุขจะได้มองเห็นได้ง่าย

แต่ก็บ่อยครั้งการสร้างงานก็จะเป็นเพียงช่วงชีวิตช่วงใดช่วงหนึ่ง ที่นิยมกันมากก็คือฉากการตรึงกางเขนและพระเยซูคืนชีพ แต่หัวเรื่องอาจจะแตกต่างกันจากโบสถ์หนึ่งไปอีกโบสถ์หนึ่ง โบสถ์ที่ตั้งอยู่ใกล้สถานพยาบาลก็อาจจะเน้นในเรื่องการรักษาโดยปาฏิหาริย์ หรืออีกโบสถ์หนึ่งก็จะเน้นชีวิตในด้านพระภารกิจของพระองค์ที่ทรงกระทำต่อผู้อื่น หัวเรื่องเหล่านี้เป็นที่นิยมกันมากในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20

ชีวิตของพระนางพรหมจารีการบรรยายพระคัมภีร์อีกรูปแบบหนึ่งคือการสร้างภาพชุด “ชีวิตของพระนางพรหมจารี” ในสมัยแรกที่สร้างก็มักจะเป็นภาพชีวิตในวัยต้นที่อาจจะมีฉากเพิ่มเติมเชิงเคลือบแคลงที่มาจากหนังสือเช่นจาก “พระวรสารนักบุญยากอบ” ที่เขียนขึ้นราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 ภาพพระประวัติของพระแม่มารีย์มักจะบรรยายมาจนถึงการกำเนิดของพระเยซู ที่รวมทั้งภาพ “การนมัสการของโหราจารย์” และ “พระเยซูหนีไปอียิปต์” และข้ามมาถึงบั้นปลายชีวิตโดยเฉพาะภาพการ “การตรึงพระเยซูที่กางเขน” และในที่สุด “มรณกรรมของพระนางพรหมจารี” ที่ต่อมาในสมัยกลางมาแทนด้วยภาพ “แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์

พันธสัญญาเดิม”- โจเซฟในอียิปต์บน “ประตูสวรรค์” โดยลอเร็นโซ กิเบอร์ติ

ทางสู่กางเขนงานชุดสำคัญอีกชุดหนึ่งที่นิยมทำกันคืองาน “ทางสู่กางเขน” ซึ่งเป็นภาพเกี่ยวกับทุกขกิริยาของพระเยซูที่บรรยายเหตุการณ์ความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและทางจิตใจของพระเยซูในช่วงเวลาก่อนที่จะทรงถูกพิจารณาคดี และถูกตัดสินให้ถูกประหารชีวิตโดยการตรึงกางเขน การตรึงพระเยซูที่กางเขนทางสู่กางเขน” เป็นภาพชุดที่จะปรากฏในโบสถ์คาทอลิกแทบทุกแห่ง ที่ใช้ในการสักการะ และช่วยในการเป็นภาพกระตุ้นการสวดมนต์หรือการทำสมาธิ ภาพชุดทางสู่กางเขนมักจะเป็นงานจิตรกรรมสีน้ำมัน ประติมากรรมภาพนูน หรือ ไม้สลักนูน ที่ประดับในกรอบที่ห้อยรายบนผนังรอบภายในโบสถ์ เพื่อให้ง่ายต่อการตามลำดับเรื่องราว

พันธสัญญาเดิม งานจากพันธสัญญาเดิมก็เป็นงานอีกประเภทหนึ่งที่เป็นที่นิยม ที่อาจจะเป็นภาพ “พระเจ้าสร้างโลกและมนุษย์” และ ภาพ “ขับจากสวรรค์” เพราะเนื่องมาจากการผิดพระประสงค์ของพระเจ้าของอาดัมและอีฟ งานครบชุดที่เกี่ยวกับพันธสัญญาเดิมเป็นสิ่งที่หาดูได้ยาก ชุดที่เก่าที่สุดทำด้วยโมเสกราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 ภายในมหาวิหารซานตามาเรียมายอเรในกรุงโรม นอกจากนั้นก็มีจิตรกรรมฝาผนังที่สมบูรณ์อีกสองชุดในอิตาลี ชุดหนึ่งวาดโดยจุสโต เดมนาบวยภายในหอศีลจุ่มของมหาวิหารปาดัวในคริสต์ศตวรรษที่ 14 และอีกภาพหนึ่งในช่วงเวลาเดียวกันโดยบาร์โทโล ดิ เฟรดิภายในโบสถ์ที่ซันจีมิญญาโน นอกจากนั้นก็ปรากฏบนหน้าต่างประดับกระจกสีเช่นที่วิหารแซงต์-ชาเปลในกรุงปารีส แต่ภาพชุดพันธสัญญาเดิมที่มีชื่อเสียงที่สุดเป็นภาพที่ปรากฏบนประตูสัมริดของหอศีลจุ่มซานจิโอวานนิแห่งฟลอเรนซ์ที่สร้างโดยลอเร็นโซ กิเบอร์ติที่เรียกกันว่า “ประตูสวรรค์” ส่วนภาพอื่นที่ปรากฏก็มักจะมีขนาดเล็กกว่าที่อาจจะสร้างเหนือประตูหรือหน้าต่างเป็นต้น

ชีวิตของนักบุญ

คริสต์ศาสนสถานและมหาวิหารหลายแห่งใช้ชื่อนักบุญในสมัยแรกๆ หรือบางโบสถ์ก็จะก่อตั้งโดยหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลบางคนผู้ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นนักบุญ ความสัมพันธ์นี้ก็มักจะออกมาในรูปของการตกแต่งโบสถ์ด้วยงานศิลปะ ที่อาจจะเป็นภาพชีวประวัติของบุคคลดังกล่าวที่เกี่ยวกับการกำเนิด, กิจการที่กระทำ และ/หรือ การพลีชีพ

การตกแต่งก็อาจจะเป็นระเบียงภาพเช่นประติมากรรมภาพนูนของเรื่องราวชีวิตของนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ที่มหาวิหารอาเมียงส์ในฝรั่งเศสที่ตั้งอยู่รอบนอกของบริเวณพิธีในบริเวณจรมุข หรืออาจจะเป็นภาพเดี่ยวเช่นประติมากรรมนักบุญเซบาสเตียนขณะที่ถูกผูกกับเสาหรือต้นไม้และมีลูกศรปักเต็มตัว หรือจิตรกรรมหรือประติมากรรมของนักบุญคริสโตเฟอร์แบบพระเยซูข้ามแม่น้ำ เป็นต้น

เรื่องราวชีวิตของนักบุญอาจจะมีพื้นฐานมาจากแหล่งข้อมูลที่เป็นที่น่าเชื่อถือ หรืออาจจะมาจากเรื่องราวที่ประดิษฐ์คิดค้นกันขึ้น บางเรื่องก็ง่ายต่อการเข้าใจว่าเป็นผู้ใด เช่นเรื่องราวเกี่ยวกับโจนออฟอาร์คผู้แต่งตัวอย่างนักรบ, นักบุญสตีเฟนผู้เป็นมรณสักขีองค์แรกของคริสต์ศาสนา หรือ นักบุญฟรานซิสแห่งอาซิซิผู้เทศนานก แต่ก็มีนักบุญอีกมากที่เป็นที่รู้จักกันเฉพาะในท้องถิ่น เช่นนักบุญฟินาแห่งซานจิมิยาโนที่มีภาพเขียนอันงดงามขณะที่กำลังนอนเสียชีวิตที่เขียนโดยโดเมนนิโค เกอร์ลันเดา

ประกาศก, สาวก และ สังฆราช

มรณสักขีของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่แอบบีเวสต์มินสเตอร์, แกรนด์ดัชเชสเอลิซาเบธ เฟโอโดรอฟนาแห่งรัสเซีย, มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์, อัครสังฆราชออสคาร์ โรเมโร และพาสเตอร์เดียทริค บอนเฮิฟเฟอร์

การสร้างงานเกี่ยวกับประกาศก, สาวก และ สังฆราช หรือผู้เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนามักจะทำในบริบทของการใช้เป็นสิ่งตกแต่ง หัวเรื่องก็อาจจะเป็นหัวเรื่องที่เข้าใจง่าย เช่นการสร้างแถวบนหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นภาพของประกาศกผู้พยากรณ์การมาเกิดของเมสไซยาห์ หรือภาพในช่องโค้งบนฉากก็อาจจะเป็นรูปสลักของพระมหากษัตริย์ผู้มีพระราชศรัทธาต่อศาสนา เช่นการตกแต่งระเบียงกษัตริย์บนผนังภายในด้านตะวันตกของมหาวิหารโนเทรอดามแห่งแรงส์ ถ้าเป็นสาวกก็มักจะเป็นอัครสาวกสิบสององค์ แต่บางครั้งก็จะรวมนักบุญพอล, นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์, นักบุญแมรี แม็กดาเลน และอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นนักบุญที่นิยมกัน หรือบางครั้งก็จะขึ้นอยู่กับท้องถิ่นเช่นความนิยมในการสร้างภาพนักบุญเซบาสเตียน หรือ นักบุญร็อคในอิตาลี หรือความนิยมในการสร้างภาพนักบุญจอห์น นโพมุคในสาธารณรัฐเช็กเป็นต้น ลักษณะรูปทรงที่มักจะเป็นแนวตั้งทำให้เหมาะกับการใช้ตกแต่งประกอบโครงร่างทางสถาปัตยกรรม ที่มักจะเป็นทรงเสา, รอบประตูหรือหน้าต่าง หรือบนชั้นบนด้านหน้าของมหาวิหาร

การเลือกว่าจะสร้างรูปใดหรือหัวข้อใดบางครั้งก็ยากที่จะเข้าใจได้ การเลือกก็ขึ้นอยู่กับปรัชญาท้องถิ่น หรือความต้องการชั่วแล่นของผู้จ้างงานอย่างใดอย่างหนึ่ง บางครั้งรูปที่สร้างก็ง่ายต่อการบอกได้ว่าเป็นผู้ใดเพราะมีสัญลักษณ์ประจำตัวประกอบ เช่นนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์ก็อาจจมีกางเขนใบหญ้าและแถบหรืออาจจะสวมเสื้อขนอูฐ, นักบุญแมรี แม็กดาเลนก็จะมีผอบน้ำมันหอม, นักบุญปีเตอร์ถือกุญแจสวรรค์, นักบุญอากาธาถือถาดที่มีหน้าอก ผู้เป็นมรณสักขีก็มักจะถือใบปาล์ม หรือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการฆ่า นักบุญเดอนีส์ประคองหัวตนเองที่อ้างกันว่าเดินถือรอบเมือง

หัวข้อที่นิยมสร้าง

ใกล้เคียง

พระคัมภีร์คนยาก พระคันธารราฐ พระคันธารราษฎร์ พระคันธกุฎี พระคัมภีร์ไบเบิล พระคัมภีร์หลัก พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม พระคัมภีร์ไบเบิลฉบับเคลือบแคลง พระคัมภีร์ฉบับพระเจ้าเจมส์ พระคัมภีร์ไบเบิลภาษาละติน

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระคัมภีร์คนยาก http://amasis.com/biblia/ http://artchive.com/artchive/T/tintoretto.html http://www.classicalmosaics.com/photo_album.htm http://www.initaly.com/regions/friuli/tiepolo.htm http://www.invenicetoday.com/art-tour/churches/chu... http://www.orthodoxphotos.com/Monasteries_and_Chur... http://www.ourpasthistory.com/architecture/archite... http://www.paradoxplace.com/Perspectives/Venice%20... http://www.sacred-destinations.com/england/st-paul... http://www.scultura-italiana.com/Biografie/Di%20Ba...