เทววิทยาศาสนคริสต์ ของ พระคัมภีร์คนยาก

“จากวิวรณ์ถึงวิวรณ์”

การสื่อความสำนึก, ความรู้สึกผิด และความกลัว

“วิวรณ์”- พระเยซูผู้ทรงเดชานุภาพหน้ามหาวิหารอองเฌส์“การไถ่บาปด้วยความรัก”- แม่พระและพระกุมารกับนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี โดย ชิมาบูเยภายในชั้นล่างของมหาวิหารนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซี

วัตถุประสงค์หนึ่งในการสร้าง “พระคัมภีร์คนยาก” ภายในคริสต์ศาสนสถานก็เพื่อแสดงให้ผู้เข้ามาสักการะได้เห็น “ทางไปสู่การไถ่บาป” (Way to Salvation) การบรรลุถึงจุดที่ว่าทำได้โดยการดำเนินตามวิวรณ์สองทาง โดยเข้าถึงพระเจ้าด้วยตัวของผู้ถือคริสต์ศาสนาเอง และ โดยการสร้างงานศิลปะ

การที่ “พระคัมภีร์คนยาก” จะสามารถบรรลุจุดประสงค์นี้ได้ ผู้ชมงานศิลปะก็จะต้องมีความรู้และยอมรับปรัชญาพื้นฐานว่าตนเป็นสัตว์โลกผู้มีบาปฉะนั้นจึงต้องถูกนำมาพิจารณาในวันตัดสินครั้งสุดท้าย ในวันนั้นซึ่งเป็นวันที่บรรยายในหนังสือเล่มสุดท้ายของพระคัมภีร์ไบเบิลเรียกว่า “หนังสือวิวรณ์ของนักบุญยอห์น” หรือ “หนังสือวิวรณ์” ที่นักบุญยอห์นบรรยายเหตุการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นรวมทั้ง Apocalypse และมโนทัศน์ของพระเจ้าประทับบนบัลลังก์บนสัตว์สวรรค์ทั้งสี่ - สิงโตมีปีก, มนุษย์มีปีก, วัวมีปีก และ อินทรี ที่บรรยายในหนังสือเอเสเคียลด้วย

พระธรรมวิวรณ์อาจจะเขียนร่วมกับ “การพิพากษาครั้งสุดท้าย” หรือภาพสรวงสวรรค์ หรือ นรก หรือไม่ก็ได้ เหนือประตูทางเข้าโบสถ์ ในบริเวณที่มีหินมาก ก็อาจจะมีการใช้แผ่นหินแกะเป็นรูปดังว่าเหนือซุ้มประตูเข้าโบสถ์ก็ได้

การสื่อความศรัทธา, ความหวัง และ ความรักวิวรณ์ทางที่สองที่ “พระคัมภีร์คนยาก” จะทำให้ได้จุดประสงค์คือการบอกให้ผู้ชมงานทราบถึงแผนการของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์ในความรอด (Salvation) โดยการส่งพระบุตรซึ่งคือพระเยซูให้เกิดในร่างของมนุษย์ ให้เติบโตขึ้นท่างกลางมนุษย์ และ ให้เสียพระชีพอย่างทารุณเพื่อเป็นการไถ่บาปต่างที่มนุษย์ได้ทำขึ้น พระเยซูที่ปรากฏในรูปแบบต่างๆ ในคริสต์ศาสนสถานก็เพื่อเป็นการแสดงความรัก ความกรุณา และ พระเดชานุภาพของพระเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์ หรือเป็นการกล่าวง่ายๆ ว่าเป็นหัวใจของ “พระคัมภีร์คนยาก” ทั้งหมด

นัยยะของสิ่งชั่วร้ายที่มนุษย์ประพฤติปฏิบัติอาจจะแสดงให้เห็นได้ด้วยวิธีหลายวิธี แม้ว่าภาพที่น่ากลัวจาก “การพิพากษาครั้งสุดท้าย” จะเป็นงานที่นิยมทำกันในยุคกลาง แต่เมื่อมาถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาหัวข้อเหล่านี้ก็หมดความนิยมลง แต่ที่นิยมเพิ่มขึ้นจะเป็นภาพจากหนังสือปฐมกาลที่เป็นเรื่องราวของอาดัมและอีฟกินผลไม้ที่ถูกห้ามโดยพระเจ้า นอกจากนั้นก็มีภาพเกี่ยวกับบาป 7 ประการ และเรื่องประกอบคำสอนเกี่ยวกับเพื่อนเจ้าสาวผู้ฉลาดเฉลียว และ ผู้งี่เง่า สิ่งที่เขียนขึ้นก็เป็นการทำให้ผู้คนหันเข้าหาพระเจ้าเพื่อให้ได้รับความรักและความกรุณาจากพระองค์

พระกรุณาของพระเจ้าอาจจะแสดงออกได้หลายวิธี เช่นในภาพการกำเนิดของพระเยซู, การพลีชีพของพระเยซู, การคืนชีพของพระเยซู หรือ การแสดงความมีเดชานุภาพของพระเยซู

ในคริสต์ศาสนสถานบางแห่งก็จะเน้นเหตการณ์ที่เกี่ยวกับเซนต์ที่วัดอุทิศให้ เช่นถ้าเป็นวัดที่อุทิศให้แก่นักบุญทอมัสก็อาจจะมีภาพนักบุญทอมัสอยู่บนแท่นบูชาเอกที่เป็นภาพของนักบุญทอมัสเห็นพระเยซูผู้คืนชีพผู้ประกาศพระองค์ว่าเป็น “พระเจ้า” คริสต์ศาสนสถานที่อุทิศให้แก่นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีก็อาจจะมีภาพเรื่องราวชีวิตและปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นกับพระองค์ การได้รับแผลศักดิ์สิทธิ์จากพระเยซูเป็นต้น

บริบทของพันธสัญญาใหม่และพันธสัญญาเดิม

“การอ้างอิง” - หน้าต่างด้านตะวันออกของโบสถ์เซนต์แมรีที่ชิลแลมในสหราชอาณาจักร เป็นภาพเก้าภาพที่เกี่ยวกับการสิ้นพระชนม์และการคืนชีพของพระเยซูที่คู่กับฉากจากพันธสัญญาเดิมที่เป็นเหตุการณ์ที่พยากรณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อมา

การตกแต่งภาพเกี่ยวกับฉากชีวิตของพระเยซูบางครั้งก็จะสร้างในบริบทของหรือเรื่องราวที่คล้ายคลึงกันจากพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม หรือบางครั้งก็มาจากกิจการของอัครทูต บุคคลบางคนจากพันธสัญญาเดิมบางท่านก็จะถือว่าเป็น “ปาง” หรือ ผู้ที่มาก่อนพระเยซูในรูปแบบต่างๆ แต่โดยทั่วไปแล้วกิจการหรืออุปนิสัยของบุคคลเหล่านี้จะตรงกันข้ามกับพระเยซู ตัวอย่างเช่นตามพระคัมภีร์อาดัมเป็นผู้ที่ได้รับการสร้างจากความบริสุทธิ์และความไร้มลทินโดยพระเป็นเจ้า และเป็นผู้ที่ไม่สามารถที่จะเอาชนะสิ่งที่มายั่วยวนได้ ที่ทำให้กลายเป็นผู้นำมวลมนุษย์ไปสู่ความมีบาป แต่พระเยซูนั้นตรงกันข้าม พระองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่โดยปราศจากมลทิน และทรงพลีชีพเพื่อที่จะไถ่บาปกรรมต่างๆ ที่อาดัมและลูกหลานได้ทำไว้

การอ้างอิงไปยังระหว่างพันธสัญญาเดิม และพันธสัญญาใหม่ก็มักจะทำด้วยวิธีวางเปรียบเทียบอย่างง่ายๆ โดยเฉพาะในงานกระจกสีของยุคกลาง ที่อาจจะวางฉากชีวิตของพระเยซูตามแนวตั้งกลางขนาบสองข้างด้วยเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกันจากพันธสัญญาเดิมหรือจากกิจการของอัครทูต การกระทำเช่นนี้ก็คล้ายกับการสร้างพระคัมภีร์ภาพที่มักจะวางองค์ประกอบคล้ายคลึงกัน หรือบางครั้งการสร้างพระคัมภีร์คนยากก็อาจจะใช้พื้นฐานจากพระคัมภีร์ภาพ ในหน้าต่างประดับกระจกสีของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ส่วนที่เป็นเรื่องหลักมักจะมีขนาดใหญ่กว่าเรื่องรองที่มาจากพันธสัญญาเดิม การจัดลักษณะนี้นิยมทำกันอยู่บ้างในการเขียนจิตรกรรมแผงเมื่อต้นสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

หน้าต่างด้านตะวันออกของวัดเซนต์แมรีที่ชิลแลม, เค้นท์
บนหน้าต่างที่สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการจัดคู่ดังนี้-

  • ขณะที่พระเยซูทรงมีความทุกข์ระทมทางอารมณ์ เมื่อทรงสวดมนต์อยู่ในสวนเกทเสมนี พระองค์ก็ตรัสสั่งให้สาวกเปโตร ยากอบ และ ยอห์นคอยอยู่ไม่ไกลนัก แต่สาวกทั้งสามองค์ก็เผลอหลับไป ฉะนั้นจึงเท่ากับเป็นการ “ละทิ้ง” พระองค์ บานล่างเป็นภาพโยเซฟนักฝันถูกจับถ่วงน้ำในบ่อโดยพี่ชายของตนเองและถูกละทิ้ง
  • พระเยซูทรงถูกบังคับให้แบกกางเขนไปยังที่ทำการตรึงในบริเวณที่เรียกว่ากอลกอธา บานล่างเป็นภาพอิสอัคแบบฟืนเดินตามอับราฮัมผู้เป็นพ่อโดยไม่รู้ว่าพ่อวางแผนที่จะสังเวยตนเองแก่พระเจ้า
  • พระเยซูถูกตรึงที่กางเขน บานล่างเป็นภาพชาวอิสราเอลไลท์ฆ่าแกะสังเวยและทาสีบนคานเหนือประตูด้วยเลือดแกะเป็นสัญญาณแก่เทวดาของพระเจ้าเนื่องในเทศกาลปัสกา
พระเยซูคืนชีพ. จอตโต ดี บอนโดเน, ชาเปลสโครเวนยี, ปาดัว ราว ค.ศ. 1305
  • พระเยซูคืนชีพสามวันหลังจากที่เสด็จสิ้นพระชนม์ไปจากการถูกตรึงกางเขน บานล่างเป็นภาพวาฬคายโยนาห์หลังจากที่กลืนเข้าไปได้สามวัน
  • พระเยซูเสด็จสู่สรวงสวรรค์ บานล่างเป็นภาพเอลียาห์ถูกอุ้มขึ้นสวรรค์โดยเทวดา

ชาเปลสโครเวนยี, ปาดัว, อิตาลี ภาพบางชุดที่เป็นภาพชุดที่ซับซ้อน นอกไปจากการอ้างถึงเรื่องราวในพันธสัญญาเดิม ก็ยังอ้างถึงอ้างถึงเรื่องราวในพันธสัญญาใหม่เองด้วย เช่นงานเขียนโดยจอตโต ดี บอนโดเนจิตรกรเอกชาวอิตาลีที่เขียนภายในชาเปลสโครเวนยีที่เมืองปาดัวเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 เมื่อดูเผินๆ และก็จะเป็นภาพต่อเนื่องของฉากการเกิดและชีวิตวัยเด็กของเวอร์จินแมรีและชีวิตของพระเยซูเป็นชั้นๆ บนผนัง ตามลำดับที่ทราบกัน โดยมีแผงเล็กที่เป็นภาพจากพันธสัญญาเดิมประกอบระหว่างภาพเหล่านี้ แต่เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดแล้วก็จะเป็นภาพที่มีบริบทที่ลึกซึ้ง การจัดภาพเหล่านี้เข้าด้วยกันเป็นการจัดที่แสดงความหมายที่แสดงความสัมพันธ์กันระหว่างภาพสองชุด ไม่ว่าจะเป็นการวางภาพตามแนวตั้งในแถวเดียวกัน หรือ การวางตรงข้ามกันระหว่างผนังห้องที่ตรงข้ามกัน การวางภาพคู่เคียงเช่นว่าก็รวมทั้งการวางภาพแมไจคุกเข่าถวายความเคารพชื่นชมพระบุตรคู่เคียงกับภาพนักบุญปีเตอร์คุกเข่าล้างเท้าให้สาวก หรือการชุบชีวิตนักบุญลาซารัสโดยพระเยซูคู่กับการคืนชีพของพระองค์เอง

การสืบทอด

“สาวก”- ประติมากรรมไม้ของนักบุญเจมส์ใหญ่ผู้ที่เชื่อกันว่าได้เดินทางมาช่วยชาวสเปนในการเอาชนะผู้รุกรานชาวมัวร์

วัตถุประสงค์หนึ่งของการตกแต่งคริสต์ศาสนสถานก็เพื่อเป็นการยืนยันความสำคัญและความมีบทบาทของคริสต์ศาสนสถานต่อคริสต์ศาสนาและต่อผู้ถือผู้ถือคริสต์ศาสนา ในความหมายอย่างกว้างๆ คริสต์ศาสนสถานคือผู้ถือคริสต์ศาสนาเอง แต่ในความหมายอย่างแคบๆ แล้วคริสต์ศาสนสถานก็จะหมายถึงองค์กร และ โดยเฉพาะองค์กรที่เสี่ยงต่อการถูกทำลายโดยผู้นอกศาสนา, คตินิยม, ความแตกแยก และ การปฏิรูป ซึ่งทำให้จำเป็นที่จะต้องบำรุงรักษา และ ยืนยันความคงอยู่ในฐานะของการเป็นทางสู่ความรอด

การตกแต่งคริสต์ศาสนสถานมักจะสะท้อนบทบาทของสถาบันศาสนา วัตถุประสงค์สำคัญวัตถุประสงค์หนึ่งคือการแสดงว่า “คริสต์ศาสนสถาน” ก่อตั้งขึ้นโดยสาวกและประวัติความเป็นมาก็สามารถสืบสาวกลับไปยังต้นตอได้โดยไม่มีช่องว่าง วิธีหนึ่งที่ใช้ในการแสดงความต่อเนื่องคือการเป็นเจ้าของเรลิกของสาวกหรือนักบุญผู้พลีชีพเพื่อศาสนาจากสมัยคริสเตียนยุคแรก การไปแสวงหาหรือซื้อขายแลกเปลี่ยนอวัยวะของนักบุญหรือเรลิกที่เกี่ยวข้องกับพระเยซูเป็นกิจการที่กระทำกันอย่างแพร่หลายรุ่งเรืองในสมัยกลาง ตัวอย่างเช่นมีคริสต์ศาสนสถานสามแห่งที่ต่างก็อ้างว่าเป็นเจ้าของร่างของมารีย์ชาวมักดาลา หรือจำนวนวัดที่อ้างว่าเป็นเจ้าของพระทนต์น้ำนมของพระแม่มารีย์ก็มีมากกว่าจำนวนฟันน้ำนมของเด็กเป็นต้น

เมื่อมีเรลิกแล้วทางคริสต์ศาสนสถานก็จะสร้างภาชนะ, หีบ หรือ กรอบตกแต่งสิ่งเหล่านี้กันอย่างหรูหราด้วยงาช้าง, ทอง และ อัญมณีอันมีค่า นักบุญบางองค์ที่ได้ชื่อว่าเป็นนักบุญผู้มีอำนาจในการรักษาอาการเจ็บป่วย ก็จะเป็นปัจจัยในการดึงดูดนักแสวงบุญเข้าวัดซึ่งเป็นการสร้างความมั่งคั่งและชื่อเสียงให้แก่วัดที่เกี่ยวข้อง และถ้าเป็นนักบุญที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีการดึงดูดก็จะครอบคลุมไปถึงคริสต์ศาสนาอื่นที่ตั้งเรียงรายบนเส้นทางการแสวงบุญมาจนถึงคริสต์ศาสนสถานที่เป็นที่เก็บรักษามงคลวัตถุของนักบุญผู้นั้น คริสต์ศาสนสถานสามแห่งที่เป็นที่นิยมกันที่สุดของนักแสวงบุญในสมัยกลางคือโบสถ์โฮลีเซพัลเครอในกรุงเยรูซาเลม, มหาวิหารซันตีอาโกเดกอมปอสเตลาในสเปน และ มหาวิหารแคนเทอร์เบอรีในเค้นท์ในอังกฤษ

คริสต์ศาสนสถานโดยเฉพาะสำนักสงฆ์มักจะมีนักบุญประจำวัดที่เป็นของตนเองเช่นมหาวิหารแคนเตอร์บรีก็จะมีนักบุญทอมัสแห่งแคนเตอร์บรี หรือ นักบุญทอมัส เบ็คเค็ทผู้ที่ถูกลอบสังหารโดยข้าราชสำนักในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ขณะที่กำลังทรงสวดมนต์อยู่ในคูหาสวนมนต์ภายในมหาวิหาร และในที่สุดสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ก็ต้องทรงทำการแก้บาปโดยการเดินทางไปแสวงบุญหรือไปแก้บาปที่มหาวิหารแคนเตอร์บรี แม้ว่าหน้าต่างประดับกระจกสีของมหาวิหารจะสูญหายไปมาก แต่ก็ยังมีแผ่นกระจกที่ยังแสดงการปาฏิหาริย์ของนักบุญทอมัส เบ็คเค็ททั้งก่อนหน้าและหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว

คริสต์ศาสนสถานที่เป็นสำนักสงฆ์จะเน้นเรื่องราวเกี่ยวกับนักบุญประจำลัทธิของสำนักสงฆ์ และที่พบเสมอคือภาพพระแม่มารีและพระบุตรล้อมรอบด้วยนักบุญที่รวมทั้งนักบุญในคริสต์ศตวรรษที่ 1 และนักบุญที่เป็นของลัทธิประจำสำนักสงฆ์ที่ว่าจ้างให้เขียนภาพ

อีกวิธีหนึ่งที่เป็นการรับรองสถานะของคริสต์ศาสนสถานคือบทบาทของความรับผิดชอบในการประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ เช่นที่พบในวัดเซนต์จอห์นที่ไทด์เวลล์ในดาร์บีเชอร์ในอังกฤษที่เป็นงานแกะไม้ของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่เป็นภาพพิธีรับศีลจุ่ม พิธีรับศีลมหาสนิท และ พิธีรับศีลบวช

ใกล้เคียง

พระคัมภีร์คนยาก พระคันธารราฐ พระคันธารราษฎร์ พระคันธกุฎี พระคัมภีร์ไบเบิล พระคัมภีร์หลัก พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม พระคัมภีร์ไบเบิลฉบับเคลือบแคลง พระคัมภีร์ฉบับพระเจ้าเจมส์ พระคัมภีร์ไบเบิลภาษาละติน

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระคัมภีร์คนยาก http://amasis.com/biblia/ http://artchive.com/artchive/T/tintoretto.html http://www.classicalmosaics.com/photo_album.htm http://www.initaly.com/regions/friuli/tiepolo.htm http://www.invenicetoday.com/art-tour/churches/chu... http://www.orthodoxphotos.com/Monasteries_and_Chur... http://www.ourpasthistory.com/architecture/archite... http://www.paradoxplace.com/Perspectives/Venice%20... http://www.sacred-destinations.com/england/st-paul... http://www.scultura-italiana.com/Biografie/Di%20Ba...