ประวัติ ของ พระถังซัมจั๋ง

พระถังซัมจั๋ง มีชื่อเดิมว่า เหี้ยนจึง เป็นชาวมณฑลเหอหนาน เมื่อเยาว์วัยได้ติดตามพี่ชายคนที่สอง ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุในเมืองลั่วหยาง และได้รับเลือกให้เป็นนาคหลวง บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 13 ปี และมีความสามารถในการแสดงธรรมเป็นอย่างมาก เมื่อสิ้นราชวงศ์สุย และเปลี่ยนเป็นราชวงศ์ถังแล้ว ท่านจึงตัดสินใจเดินทางไปแสวงธรรมในประเทศอินเดีย ได้ออกเดินทางเมื่อปี พ.ศ. 1170

พระถังซัมจั๋ง ได้ศึกษาพระธรรมที่มหาวิทยาลัยนาลันทา และจาริกแสวงบุญในอินเดีย นานถึง 11 ปี รวมระยะเวลาไปกลับทั้งสิ้น 19 ปี เป็นระยะทางกว่า 5 หมื่นลี้ ส่งให้จดหมายเหตุชิ้นนี้ของท่านนั้นอุดมไปด้วยข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับดินแดนในเอเชียกลางและเอเชียใต้เมื่อพันกว่าปีที่แล้วกว่า 138 แว่นแคว้น โดยในจำนวนนี้มี 110 แคว้นที่ท่านเดินทางไปด้วยตนเอง ขณะที่อีก 28 แคว้นนั้นท่านบันทึกจากคำบอกเล่าของผู้อื่น นับเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง

พระถังซัมจั๋ง เดินทางกลับจีนพร้อมทั้งนำพระไตรปิฎกฉบับภาษาสันสกฤตกลับมาด้วย ท่านเดินทางถึงเมืองหลวงของจีนคือ เมืองฉางอาน ในปี พ.ศ. 1188 ในสมัย พระเจ้าถังไท่จง พระองค์ทรงเป็นปราชญ์ผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงทรงอุปถัมภ์การแปลพระไตรปิฎก จากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีน และ พระเจ้าถังไท่จงได้ทรงอาราธนาพระถังซัมจั๋งให้เขียนบันทึกการเดินทางไปอินเดีย จึงปรากฏหนังสือเรื่อง ต้าถังซีวีจี้ ในรัชกาลต่อมาพระเจ้าถังเกาจง พระองค์ทรงรับอุปถัมภ์งานแปลพระไตรปิฎกต่อ พระถังซัมจั๋งดำเนินงานต่อไปจนมรณภาพในปี พ.ศ. 1207[3]

ใกล้เคียง

พระถัง พระสันตะปาปา พระลักษมี พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย พระคัมภีร์คนยาก พระอัญญาโกณฑัญญเถระ พระขันธกุมาร พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ พระกัสสปพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า