พระถังซัมจั๋ง
พระถังซัมจั๋ง

พระถังซัมจั๋ง

เหี้ยนจึง[1] หรือสำเนียงกลางว่า เสวียนจั้ง (จีน: 玄奘; พินอิน: Xuánzàng; ประมาณ ค.ศ. 602 – 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 664[2]) หรือที่รู้จักในนิยายไซอิ๋วว่า สังทำจั๋ง (อักษรจีน: 唐三藏) เป็นพระภิกษุที่บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา มาแต่เยาว์ เมื่อเติบใหญ่ขึ้นจึงได้ออกเดินทาง โดยได้เขียนเป็นบันทึกการเดินทางไว้ด้วย ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 1183 (ค.ศ. 646) มีชื่อว่า "ต้าถังซีโหยวจี้" (大唐西游记) แปลว่า "จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง" โดยในนั้นเล่าถึงการเดินทางที่ไปพบปะกับภูมิประเทศที่แตกต่างออกไป สภาพผู้คน วัฒนธรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ รวมไปถึงการทหารและการเมืองการปกครอง โดยการเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนาและศาสตร์ความรู้ต่างๆที่ทวีปอินเดีย เมื่อเดินทางกลับมาประเทศจีน ได้นำพระสูตรทั้งมหายานและเถรวาทกลับมาด้วยกว่า 600 ม้วน เพื่อกลับมาแปลเป็นภาษาจีน

ใกล้เคียง

พระถัง พระสันตะปาปา พระลักษมี พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย พระคัมภีร์คนยาก พระอัญญาโกณฑัญญเถระ พระขันธกุมาร พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ พระกัสสปพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า