พระยาพิชัยไอศวรรย์_(หยาง_จิ้นจง)

พระยาพิชัยไอศวรรย์ ชื่อว่า หยาง จิ้นจง[1][2] (楊進宗 พินอิน: Yáng Jìnzōng) เป็นขุนนางและแม่ทัพผู้มีบทบาทในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินในสมัยกรุงธนบุรีหยาง จิ้นจง เป็นพ่อค้าชาวจีนเดินเรือค้าขายระหว่างจีนและสยาม[1] ปรากฏครั้งแรกเป็นผู้นำคณะทูตบรรณาการจากสยามอยุธยาไปยังจีนราชวงศ์ชิง ซึ่งเดินทางถึงกรุงปักกิ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2309[2] แต่ไม่สามารถเดินทางกลับสยามได้เนื่องจากกรุงศรีอยุธยากำลังถูกพม่าล้อมไว้อยู่ ในพ.ศ. 2310 หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง หยางจิ้นจงได้ให้การแก่ราชสำนักจีนว่า หากราชสำนักจีนต้องการติดต่อกับทางสยาม แนะนำให้ติดต่อผ่านทางผู่หลาน (普蘭 พินอิน: Pǔ Lán – เจ้าขรัวหลาน) เจ้าเมืองจันทบุรี หรือผ่านทางม่อซื่อหลินเจ้าเมืองบันทายมาศห่าเตียน[2] เป็นเหตุให้ราชสำนักจีนส่งข้าหลวงมาสืบเหตุการณ์เกี่ยวกับสยามที่เมืองบันทายมาศ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2310 หยางจิ้นจงเดินทางมากับข้าหลวงราชสำนักจีนชื่อว่าสู่ฉวน (許全) เดินทางโดยเรือไปยังเมืองห่าเตียน แต่ทว่าเรือเจอพายุทำให้พลัดออกนอกเส้นทางไปจอดที่เมืองนครศรีธรรมราชแทน[1] สู่ฉวนข้าหลวงของจีนล้มป่วยถึงแก่กรรมที่นครศรีธรรมราช[2]หยางจิ้นจงเข้ารับราชการที่กรุงธนบุรีประมาณพ.ศ. 2311[1] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2314 สงครามสยาม-เวียดนาม สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จยกทัพเรือเข้าโจมตีเมืองบันทายมาศ โดยมีพระยาพิพิธ (เฉิน เหลียน) ผู้ว่าที่โกษาธิบดีเป็นแม่ทัพเรือ และมีพระยาพิชัยไอศวรรย์ (หยาง จิ้นจง) เป็นทัพหน้า เทียบกับเอกสารจีนซึ่งระบุว่า เจิ้นสินยกทัพตีเมืองห่าเตียนมีเฉินเหลียนเป็นแม่ทัพเรือและมีหยางจิ้นจงเป็นทัพหน้า[2] พระยาพิชัยไอศวรรย์มีกองเรือกำลังพลจำนวน 1,686 คน[3] ซึ่งเป็นกองเรือฝ่ายสยามที่มีกำลังพลมากที่สุดในสงครามครั้งนั้น[1] มีพระราชโองการให้พระยาพิชัยไอศวรรย์แต่งสาส์นไปเจรจาเกลี่ยกล่อมหมักเทียนตื๊อเจ้าเมืองบันทายมาศ หลังจากที่ฝ่ายธนบุรียึดได้เมืองบันทายมาศแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมีพระราชโองการมอบหมายให้พระยาพิชัยไอศวรรย์ก่อกำแพงพระนครธนบุรี[3] ในพ.ศ. 2314 เมื่อทรงแต่งตั้งให้พระยาพิพิธผู้ว่าราชการที่โกษาธิบดีเป็นพระยาราชาเศรษฐีเจ้าเมืองบันทายมาศคนใหม่แล้ว โปรดฯให้พระยาพิชัยไอศวรรย์ (หยาง จิ้นจง) มาว่าที่โกษาธิบดีแทนที่[1]สงครามบางแก้ว พ.ศ. 2317 ทัพพม่าจากด่านเจดีย์สามองค์ยกเข้ามาถึงบ้านภูมิแขวงเมืองนครไชยศรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมีพระราชโองการให้พระยาพิชัยไอศวรรย์ (หยาง จิ้นจง) ผู้ว่าที่โกษาธิบดี ยกทัพจำนวน 1,000 คน ไปตีพม่าที่นครไชยศรี[4]พระยาพิชัยไอศวรรย์ (หยาง จิ้นจง) ซึ่งดำรงตำแหน่งว่าที่พระคลัง ถึงแก่กรรมเมื่อประมาณช่วงปลายปีพ.ศ. 2319[1] ในปีต่อมาพ.ศ. 2320 มีหมายรับสั่งพระราชโองการพระราชทานเพลิงศพพระเจ้าหลานเธอเจ้าเสง พระยาสุโขทัย (พระเชียงเงิน) และพระยาพิชัยไอศวรรย์ ที่วัดบางยี่เรือ ในเดือนสิบสอง โปรดฯให้ทำตามอย่างงานพระศพของกรมขุนอินทรพิทักษ์และเจ้านราสุริยวงศ์[5]

ใกล้เคียง

พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ) พระยาพิชัยดาบหัก พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)