ถาวรวัตถุที่ระลึก ของ พระราชพิธีกาญจนาภิเษก_พ.ศ._2539

นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานของรัฐอื่น ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดสร้างถาวรวัตถุขึ้นเป็นที่ระลึก ประกอบด้วย ถนนกาญจนาภิเษก โดยกระทรวงคมนาคม โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย และวิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก โดยกระทรวงศึกษาธิการ พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ [1] ซึ่งเป็นเจดีย์เฉลิมพระเกียรติจัดสร้างโดยวัดทางสาย เป็นต้น ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

ป้ายแสดงทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ฝั่งตะวันออก และฝั่งใต้

ถนนกาญจนาภิเษก

ดูบทความหลักที่: ถนนกาญจนาภิเษก

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 หรือ ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร จัดสร้างขึ้นโดยกรมทางหลวงและการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ซึ่งมีเส้นทางเชื่อมต่อกันเป็นวง ล้อมรอบตัวเมืองกรุงเทพมหานคร ผ่านจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อบรรเทาปัญหาปริมาณการจราจรและการขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อันเป็นผลมาจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองหลวง รวมทั้งยังเป็นทางเลี่ยงที่จะเข้าสู่กรุงเทพมหานคร และเชื่อมโยงเส้นทางสายหลัก ที่มุ่งไปสู่ทุกภาคของประเทศ

ถนนวงแหวนสายนี้ มีระยะทางรวมทั้งหมดประมาณ 165 กิโลเมตร โดยแบ่งออกเป็นสามช่วงคือ ฝั่งตะวันตก เริ่มจากอำเภอบางปะอิน ผ่านอำเภอบางบัวทอง สิ้นสุดที่เขตบางขุนเทียน (68 กิโลเมตร), ฝั่งตะวันออก เริ่มจากอำเภอบางปะอิน ผ่านจังหวัดปทุมธานีและกรุงเทพมหานครตอนเหนือ สิ้นสุดที่อำเภอบางพลี (63 กิโลเมตร) และ ฝั่งใต้ เริ่มจากอำเภอบางพลี เชื่อมต่อทางพิเศษบูรพาวิถีและทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน สิ้นสุดที่เขตบางขุนเทียน (34 กิโลเมตร)

ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้เชิญนามพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เป็นชื่อถนนวงแหวนสายนี้ พร้อมกันนั้น กรมทางหลวงยังดำเนินการ เปลี่ยนหมายเลขทางหลวง จากทางหลวงหมายเลข 37 เป็นทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 อีกด้วย

ตราประจำโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐมฯ

โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย

กระทรวงศึกษาธิการ โดยรัฐบาลไทย กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ขอพระราชทานจัดตั้งโรงเรียนระดับสามัญศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาในขณะนั้น ขึ้นจำนวน 9 แห่ง ทั่วพระราชอาณาจักร เพื่อเป็นที่ระลึกในวโรกาสมหามงคลนี้ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนามว่า โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ประกอบกับชื่อจังหวัดอันเป็นที่ตั้ง ดังมีรายนามต่อไปนี้

วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก

กระทรวงศึกษาธิการ โดยรัฐบาลไทย จัดตั้งวิทยาลัยระดับอาชีวศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษาในขณะนั้น ขึ้นจำนวน 7 แห่ง ทั่วพระราชอาณาจักร เพื่อเป็นที่ระลึกในวโรกาสมหามงคลนี้ โดยใช้ชื่อว่า วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษก ประกอบชื่อท้าย ดังรายนามต่อไปนี้

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวายเฉลิมพระเกียรติ

พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ

พระมหาธาตุเจดีย์แห่งนี้ตั้งอยู่บนเขาธงชัย บริเวณวัดทางสาย ต.เขาธงชัย อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองประจวบคีรีขันธ์ประมาณ 60 กิโลเมตร หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี ศิลปินแห่งชาติ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสครองราชย์ครบ 50 ปี ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยทุ่มเทสร้างผลงานชิ้นนี้อย่างสุดฝีมือและถือเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายก่อนที่จะสิ้นชีวิต โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ[3]

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท) พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชวังต้องห้าม พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์