การเตรียมการ ของ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก_พุทธศักราช_2562

การเตรียมการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนี้ใช้เวลาประมาณ 5 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีขึ้น โดยเมื่อวันที่ 26 มกราคม มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานการประชุมและดำรงตำแหน่งองค์ประธานที่ปรึกษา[2][3], พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธาน, ชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา, ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นที่ปรึกษาและกรรมการ

คณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

คณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในพระราชพิธีนี้ มีดังนี้[4]

ริ้วขบวน

ริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศในพระราชพิธี ประกอบด้วย 3 ริ้วขบวน ดังนี้

โดยการฝึกซ้อมริ้วขบวนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 โดยกรมสรรพาวุธทหารบก จัดฝึกพื้นฐานลักษณะทหารในท่าต่างๆ ที่ต้องใช้ในริ้วขบวนทั้ง 3 ให้กับชุดครูฝึกของหน่วยที่จัดกำลังปฏิบัติในริ้วขบวน[7] และบวงสรวงกลองมโหระทึกที่จะใช้ในงานพระราชพิธี[8] ในเดือนมีนาคมเป็นการฝึกซ้อมเสมือนจริงรวมทุกเหล่า ในพื้นที่กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 11[9][10][11] โดยพลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ร่วมลงฝึกซ้อมรวมครั้งแรกในวันที่ 28 มีนาคม[12] และในเดือนเมษายนเป็นการฝึกซ้อมในพื้นที่จริง[13] โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้าร่วมการฝึกซ้อมเป็นครั้งแรกในวันที่ 22 เมษายน[14] และซ้อมใหญ่ครั้งสุดท้ายในวันที่ 28 และ 29 เมษายน[15]

ตราสัญลักษณ์พระราชพิธี

นายตำรวจเชิญธงสัญลักษณ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 ในริ้วขบวนอัญเชิญน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562

ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในครั้งนี้ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาปรุงแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกด้วยพระองค์เอง และพระราชทานแบบตราสัญลักษณ์พร้อมความหมายเพื่อใช้ในการเผยแพร่งานในครั้งนี้ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแบบเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ โดยด้านหน้าเป็นตราสัญลักษณ์ ส่วนด้านหลังมีคำว่า "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. ๒๕๖๒" ซึ่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดทำเข็มที่ระลึกขึ้นเพื่อจำหน่าย เพื่อให้ประชาชนได้อัญเชิญไปประดับในช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และรายได้จากการจำหน่ายเข็มที่ระลึกทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่าย รัฐบาลจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยต่อไป[16]

การเตรียมสถานที่และปรับปรุงภูมิทัศน์

  • วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2562 กิจกรรมจิตอาสาปรับปรุงภูมิทัศน์คลองคูเมืองเดิม ถนนอัษฎางค์ และถนนบำรุงเมือง มีหน่วยพระราชทานจิตอาสา ประชาชนจิตอาสา เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร กรมป่าไม้ กรมราชทัณฑ์ สมาคมรุกขกรรมไทย และเครือข่ายต้นไม้ในเมืองกว่า 400 คน ระดมอุปกรณ์ เครื่องมือ ไปตัดแต่งกิ่งก้าน และฟื้นฟูต้นไม้ใหญ่ ให้มีทรงพุ่มสวยงาม ตัดกิ่งก้านต้นไม้ตามหลักรุกขกรรม เพื่อให้ต้นไม้ริมคลองคูเมืองเดิมทั้ง 2 ฝั่ง ตั้งแต่หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ ไปถึงสะพานช้างโรงสี[17]

ใกล้เคียง

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระราชวังต้องห้าม พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระราชสันตติวงศ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระราชวังดุสิต พระราชวังสนามจันทร์ พระราชวังบางปะอิน พระราชวังพญาไท

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระราชพิธีบรมราชาภิเษก_พุทธศักราช_2562 http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/828018 http://www.komchadluek.net/news/regional/363156 //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/... http://mahathera.onab.go.th/files/mati_doc/c_01100... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/B/... http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/195... https://www.bangkokbiznews.com/event/10kingsstorie... https://news.ch7.com/detail/331407 https://www.facebook.com/536077073542486