ปราบกบฏฮ่อ ของ พระเจริญราชเดช_(กวด_ภวภูตานนท์_ณ_มหาสารคาม)

ในพุทธศักราช 2417-2419 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ท้าวมหาชัย (กวด) เป็นแม่ทัพ ยกกำลังพล 3 หัวเมืองไปสมทบทัพหลวง ปราบปรามกองทัพจีนฮ่อที่นครเวียงจันทน์ และนครหลวงพระบาง ฝ่ายท้าวมหาชัย (กวด) ได้แสดงความองอาจกล้าหาญจนมีชัยชนะหลายจุด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เลื่อนฐานะท้าวมหาชัย (กวด) ให้เทียบเท่าเจ้าผู้ครองนคร มีการใช้ราชาศัพท์อย่างเจ้าประเทศราชในหอโฮงและคุ้มของเจ้าเมือง สามารถสังเกตได้ในสร้อยราชทินนามว่า "ประเทศราชธำรงค์รักษ์" หมายถึง ผู้ปกป้องรักษาเมืองประเทศราชคือเมืองมหาสารคาม

ปีที่ 3 ของการปราบปรามจีนฮ่อ เป็นปีที่กองทัพไทยมีชัยชนะอย่างเด็ดขาด ท้าวมหาชัย (กวด) ได้นำพลเข้าต่อสู้ปราบปรามอย่างเข้มแข็งยิ่ง ขณะที่กำลังตะลุมบอนท้าวมหาชัย (กวด) ได้ถูกปืนและหอกข้าศึกตกจากหลังม้าอาการสาหัส แม้กระนั้นก็ยังฝืนใจฝืนกายสั่งให้นายทหารแบกร่างของตนเข้าบัญชาการทัพจนมีชัยชนะในที่สุด

เมื่อสิ้นสุดสงครามแล้ว ท้าวมหาชัยได้ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 22 เมษายน พุทธศักราช 2421 เพราะความบอบช้ำสาหัสจากสงคราม สิริรวมชนมายุได้ 43 ปี

พระเจริญูราชเดช (กวด ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) หรือที่ลูกหลานชาวมหาสารคามรู้จักกันในนาม "ท้าวมหาชัย" ได้จากไปนานแล้ว แต่เกียรติยศเกียรติคุณ ของท่านยังตรึงตราอยู่ในความทรงจำของชาวเมืองมหาสารคามอย่างไม่รู้ลืม ท่านเป็นทั้งยอดนักรบ และยอดนักปกครอง เป็นปฐมบุรุษผู้สร้างเมืองมหาสารคาม ประชาชนทั้งหลายได้มอบสมญานามให้แก่ท่านว่า "อาชญาพ่อหลวงมหาชัย"

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ