ประวัติ ของ พระเจริญราชเดช_(อุ่น_ภวภูตานนท์_ณ_มหาสารคาม)

ราชตระกูล

พระเจริญราชเดช (อุ่น) มีนามเดิมว่า เจ้าอุ่น หรือ ท้าวอุ่น เกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๑ เป็นบุตรในเจ้าอุปฮาช (บัวทอง) หรือท้าวพานทอง เจ้านายในคณะอาญาสี่เมืองมหาสารคาม อดีตอัคร์ฮาดเมืองมหาสารคาม เป็นพระนัดดาในเจ้าอุปฮาช (ภู) เจ้านายในคณะอาญาสี่เมืองร้อยเอ็ด กับญาแม่ปทุมมา[2] เป็นพระปนัดดาในเจ้าราชวงษ์ (หล้า) เจ้านายในคณะอาญาสี่เมืองร้อยเอ็ด ญาแม่ปทุมมาผู้เป็นย่าของพระเจริญราชเดช (อุ่น) เป็นพี่สาวร่วมพระมารดากับพระพิชัยสุริยวงศ์ (ท้าวตาดี) หรือเจ้าโพนแพงเจ้าเมืองโพนพิสัย ต้นราชตระกูลสืบเชื้อสายมาจากเจ้าแก้วมงคล (แก้วบรม) ปฐมราชวงศ์เจ้าจารย์แก้ว ซึ่งเป็นเจ้านายจากราชวงศ์ล้านช้างผู้สร้างเมืองท่งศรีภูมิ ท้าวอุ่นได้สมรสเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ กับอาชญาแม่ศรีสุมาลย์ (อาชญานางศรีสุมา) ธิดาองค์สุดท้องในพระเจริญราชเดชวรเชษฐ์มหาขัติยพงศ์ รวิวงศ์สุรชาติประเทศราชธำรงรักษ์ ศักดิ์กิติยศเกรียงไกรศรีพิชัยเทพวรฤทธิ์ พิศนุพงศ์ปรีชาสิงหบุตรสุวัฒนา นคราภิบาลชาญพิชัยสงคราม (กวด ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุง กับอาชญานางแดง หรือญาแม่โซ่นแดง ธิดาหลวงโภคา (จีนนอก) เมืองมหาสารคาม อนึ่ง ในบันทึกหลวงอภิสิทธ์สารคาม (ดี) บันทึกประวัติเมืองมหาสารคามของพระเจริญราชเดช (อุ่น) และบันทึกประวัติศาสตร์ภาคอีสานและเมืองมหาสารคามของนายบุญช่วย อัตถากร กล่าวว่า เจ้าอุปฮาช (บัวทอง) บิดาในพระเจริญราชเดช (อุ่น) ได้พาผู้คนจำนวนหนึ่งแยกไปตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณบ้านลาด ริมลำน้ำชี ปัจจุบันคือบ้านลาดพัฒนา ตำบลเกิ้ง]] อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ตามที่ตนเองเห็นว่าเหมาะสม และได้เคยเสนอให้ตั้งเป็นเมืองมหาสารคามแห่งแรกด้วย ฝ่ายท้าวมหาชัย (กวด) ไม่เห็นด้วย เจ้าอุปฮาช (บัวทอง) จึงตั้งเป็นเมืองต่างหากจากเมืองมหาสารคาม ห่างจากบ้านกุดนางใยที่ตั้งเมืองมหาสารคามประมาณ ๒๐๐ เส้น[3]

พี่น้อง

พระเจริญราชเดช (อุ่น) มีพี่น้องทั้งหมด ๗ ท่าน คือ[4]

การศึกษา

เมื่อครั้งท้าวอุ่นมีอายุ 4 ขวบ ได้ติดตามเจ้าอุปฮาช (บัวทอง) ผู้เป็นพระบิดาลงไปกรุงเทพมหานครด้วยเรื่องราชการงานเมือง ต่อมาได้เล่าเรียนหนังสือไทย ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร ตามธรรมเนียมเจ้านายหัวเมืองลาวที่มักส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาวิชาการปกครองจากราชสำนักสยาม เมื่อศึกษาหนังสือไทยจนอายุได้ 16 ปี ราว พ.ศ. 2412 - 2419 จึงได้ถวายตัวเป็นข้าหลวงเดิมและรับแต่งตั้งเป็นมหาดเล็กหลวงในพระราชสำนักพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ท้าวอุ่นเป็นผู้มีความรู้หลากหลายสาขา และสามารถพูดภาษาอังกฤษใช้ได้ ภายหลังเมื่อเจ้าอุปฮาช (บัวทอง) ป่วยหนัก ท้าวอุ่นจึงขอกลับจากกรุงเทพมหานครมาดูแลพระบิดา และได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ ณ วัดเหนือ หรือวัดมหาชัย เมืองมหาสารคาม ซึ่งเป็นวัดที่พระเจริญราชเดชวรเชษฐ์มหาขัติยพงศ์ (กวด), นางเจริญราชเดช (อาชญาแม่โซ่นแดง), คณะกรมการเมืองท้าวเพี้ยเมืองมหาสารคาม และพระครูสุวรรณดี ร่วมกันสร้างขึ้นแต่เมื่อครั้งตั้งเมืองมหาสารคาม

เป็นเจ้าเมือง

ใน พ.ศ. 2419 ท้าวอุ่นได้รับแต่งตั้งเป็นที่ ท้าวโพธิสาร หลังจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเมืองวาปีปทุมและเมืองโกสุมพิสัยขึ้น ต่อมาใน พ.ศ. 2425 ท้าวโพธิสาร (อุ่น) ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นที่ พระพิทักษ์นรากร เจ้าเมืองวาปีปทุมองค์ที่ ๒ ต่อจากพระพิทักษ์นรากร (บุญมี) เจ้าเมืองวาปีปทุมองค์แรก[5] ราชทินนามที่พิทักษ์นรากรนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คล้องจองกับราชทินนามที่สุนทรพิพิธ ของพระสุนทรพิพิธ (เสือ) เจ้าเมืองโกสุมพิสัยองค์แรก ซึ่งตั้งเมืองขึ้นพร้อมกัน

ในปี พ.ศ. 2432 เจ้าอุปฮาชผู้รักษาราชการเมืองสุวรรณภูมิ มีใบบอกกล่าวโทษมาถึงเมืองมหาสารคาม เมืองสุรินทร์ และเมืองศรีสะเกษ ว่าแย่งเอาเขตของเมืองสุวรรณภูมิไปตั้งเป็นเมือง เฉพาะเมืองมหาสารคามนั้นถูกกล่าวหาว่าขอเอาบ้านนาเลาตั้งเป็นเมืองวาปีปทุม เจ้าแผ่นดินสยามได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงนครจำปาศักดิ์และข้าหลวงอุบลราชธานีทำการไต่สวนว่ากล่าวในเรื่องนี้ แต่เมืองเหล่านี้ได้ตั้งมานานแล้วรื้อถอนไม่ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองวาปีปทุมเป็นเมืองขึ้นของเมืองมหาสารคามต่อไปตามเดิม โดยมิได้โยกย้ายออกจากหนองแซงแต่ประการใด

พ.ศ. 2435 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายรองชิต (เลื่อง ณ นคร) และจมื่นศรีบริรักษ์ มาเป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองมหาสารคามและเมืองร้อยเอ็ดเป็นครั้งแรก โดยตั้งที่ทำการอยู่ ณ เมืองมหาสารคาม

พ.ศ. 2437 ทางการได้โอนเมืองชุมพลบุรีจากเมืองสุรินทร์มาขึ้นแก่เมืองมหาสารคาม

พ.ศ. 2440 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ขึ้นเพื่อวางระเบียบแบบแผนการปกครองท้องถิ่นให้เรียบร้อย เวลานั้นมณฑลอีสานยังมิได้จัดการปกครองให้เป็นไปอย่างมณฑลอื่น ต่อมา พ.ศ 2443 พระเจริญราชเดช (ฮึ่ง หรือ ฮึง) เจ้าเมืองมหาสารคามองค์ที่ ๒ ได้ถึงแก่กรรมลง ทางเมืองมหาสารคามจึงตั้งให้พระอุปฮาช (เถื่อน รักษิกจันทร์) รักษาราชการแทนเจ้าเมือง ทางราชการได้ยุบเมืองชุมพลบุรีเป็นอำเภอ แล้วโอนกลับไปขึ้นเมืองสุรินทร์ตามเดิม อีกทั้งทรงโปรดเกล้าฯ ให้แบ่งหัวเมืองมณฑลอีสานออกเป็นบริเวณ 5 บริเวณ โดยให้เมืองมหาสารคามขึ้นแก่บริเวณร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคามได้จัดการแบ่งเขตเมืองตั้งขึ้นเป็นอำเภอคือ อำเภออุทัยสารคาม อำเภอประจิมสารคาม ส่วนเมืองวาปีปทุม และเมืองโกสุมพิสัย นั้นยังคงให้เป็นเมืองขึ้นของเมืองมหาสารคามตามเดิม และได้ให้เปลี่ยนเป็นอำเภอในปีนี้เช่นเดียวกัน[6]

ต่อมา พ.ศ. 2444 หลังจากฝ่ายสยามได้ยุบเมืองวาปีปทุมลงเป็นอำเภอแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระพิทักษ์นรากร (อุ่น) เจ้าเมืองวาปีปทุม ให้มาเป็นข้าหลวงกำกับราชการเมืองมหาสารคาม แทนพระสิทธิศักดิ์สมุทเขต (บุษย์) ที่ถึงแก่กรรมไปก่อนหน้า ฝ่ายพระพิทักษ์นรากร (อุ่น) ได้สร้างโฮงที่ประทับหรือหอโฮงการสำหรับสำเร็จราชการเมืองขึ้นที่เมืองมหาสารคาม และนับเป็นโฮงเจ้าเมืองหลังที่ ๓ ของเมืองมหาสารคาม ชาวบ้านเรียกว่า โฮงญาพ่อหลวง เป็นอาคารไม้โบราณขนาดใหญ่ ๒ ชั้นทาสีแดง ตั้งอยู่เยื้องกับโฮงญาหลวงเฒ่า ซึ่งเป็นโฮงที่ประทับหรือหอโฮงการของพระเจริญราชเดช (ฮึง) เจ้าเมืองมหาสารคามองค์ก่อน[7]

พ.ศ. 2446 สยามได้ยุบตำแหน่งข้าหลวงกำกับราชการเมืองมหาสารคามลง ต่อมาในวันที่ 29 เมษายน ร.ศ. 120 (พ.ศ. 2446) ศกเดียวกันนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระพิทักษ์นรากร (อุ่น) เป็นที่พระเจริญราชเดช ผู้ว่าราชการเมืองมหาสารคามท่านแรก ในบรรดาศักดิ์และราชทินนามเจ้าเมืองมหาสารคามองค์ก่อน เหตุด้วยตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองมหาสารคามนั้นว่างลงแต่เมื่อครั้งพระเจริญราชเดช (ฮึง) ถึงแก่กรรมลงไป

พ.ศ. 2447 พระเจริญราชเดช (อุ่น) ได้ตัดถนนเพิ่มเป็น 2 สายในตัวเมืองมหาสารคาม สร้างศาลาการเปรียญและพระอุโบสถวัดนางใย เมืองมหาสารคาม

พ.ศ. 2449 พระเจริญราชเดช (อุ่น) ได้ตั้งโรงเรียนขึ้นที่วัดท่าแขกหรือวัดโพธิ์ศรี และวัดทุ่งหรือวัดนาควิชัย

พ.ศ. 2455 ปลายปี เจ้าแผ่นดินสยามโปรดเกล้าฯ ให้พระเจริญราชเดช (อุ่น) ออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองด้วยชราภาพและสูงอายุ แล้วแต่งตั้งพระเจริญราชเดช (อุ่น) เป็นที่กรมการเมืองพิเศษคอยให้คำปรึกษาราชการงานเมืองมหาสารคามตามสมควรแก่ฝ่ายปกครองตลอดอายุขัย ต่อมาสยามได้ให้หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ อดีตปลัดมณฑลประจำจังหวัดมหาสารคาม]]มาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามในต้นปี พ.ศ. 2456 ต่อมา พ.ศ. 2457 พระเจริญราชเดช (อุ่น) กรมการเมืองพิเศษเมืองมหาสารคาม มณฑลร้อยเอ็จ ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า ภวภูตานนท์ Bhavabhutanonda[8]

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระเจริญราชเดช_(อุ่น_ภวภูตานนท์_ณ_มหาสารคาม) http://musemmangmaha.blogspot.com/2012/01/2470-250... http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4776.120 http://www.sarakhamclick.com/sarakham/ http://www.itrmu.net/web/02rs4/show-webcontent.php... http://www.itrmu.net/web/02rs4/show-webcontent.php... http://www.komchadluek.net/detail/20100716/66681/ http://www.bl.msu.ac.th/bailan/new/new_24_5_47.asp http://www.bl.msu.ac.th/mahachai/?name=eachpage http://district.cdd.go.th/suwannaphum/about-us/%E0... http://www.mahasarakham.go.th/index.htm