มรดก ของ พระเจ้ามิลินท์

พุทธมามกะ

หลังจากการครองราชย์ของพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 สตาโบ ที่ 1 และต่อมาผู้ปกครองอินโดกรีกอีกหลายพระองค์ เช่นอมินทาส (Amyntas) ไนเซียส (Nicias) พีกอลาออส (Peukolaos) เฮอแมอัส (Hermaeus) และ ฮิปปอสทราตัส (Hippostratos) ก็ให้ทำภาพของตนเองบ้างและภาพของเทพเจ้ากรีกของพวกตนขึ้นรูปแบบมีพระหัตถ์ขวาท่าทางเป็นสัญลักษณ์เหมือนกับท่าวิตรรกะ มุทรา (vitarka mudra) (ท่าจีบหัวแม่มือและนิ้วชี้คู่กัน ส่วนนิ้วอื่นเหยียดออก) ซึ่งในพุทธศาสนาหมายถึงการถ่ายทอดคำสอนของพระพุทธเจ้า(ปางแสดงปฐมเทศนาธรรมจักรกัปปวัตนสูตร) ในเวลาเดียวกัน หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าเมนันเดอร์แล้ว ผู้ปกครองชาวอินโดกรีกจำนวนมากก็เริ่มนำไปใช้ในเหรียญของพวกตน หัวข้อธรรมะภาษาบาลีที่ว่า “ธมฺมิก” (Dharmikasa) หมายความว่า ผู้ทรงธรรม(ข้อธรรมะที่พระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์ชาวพุทธใช้คือ ธรรมราชา หมายความว่า พระราชาแห่งธรรมะ) การใช้หัวข้อธรรมะนี้ถูกนำไปใช้โดยพระเจ้าสตาโบ ที่ 1 โซอิลอส ที่ 1 เฮลิโอเกลส์ ที่ 2(Heliokles II) ธีโอฟิลอส (Theophilos) พีกอลาออส (Peukolaos) และ อาร์คิบิออส (Archebios)

โดยทั้งหมด การเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาของพระเจ้าเมนันเดอร์ถูกบรรยายไว้ในมิลินทปัญหาดูเหมือนว่าจะมีการเรียกใช้สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในการสร้างเหรียญใกล้เคียงกับครึ่งหนึ่งของกษัตริย์ผู้สืบต่อจากพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกษัตริย์ทั้งหลายหลังจากที่พระเจ้าเมนันเดอร์ผู้ที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นผู้ปกครองแคว้นคันธาระ (นอกเหนือจากพระเจ้าเดมิตริอุส ที่ 3 ซึ่งไม่ค่อยมีคนรู้จัก)แสดงสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

ทั้งเพราะการเปลี่ยนมานับถือศาสนาของพระองค์ทั้งเพราะการขยายอาณาเขตที่ไร้ขีดจำกัดของพระองค์ อาจมีส่วนช่วยในการขยายตัวของพระพุทธศาสนาในเอเชียกลาง แม้ว่าการแพร่กระจายของพระพุทธศาสนาไปยังเอเชียกลางและเอเชียตอนเหนือมักจะเกี่ยวข้องกับกุษาณะ (Kushans) หนึ่งหรือสองศตวรรษต่อมามีความเป็นไปได้ว่าอาจมีการนำมาในพื้นที่เหล่านั้นจากแคว้นคันธาระ มีกระทั่งก่อนหน้านี้ ในช่วงเวลาของพระเจ้าเดมิตริอุสและพระเจ้าเมนันเดอร์ (ปูริ (Puri) พระพุทธศาสนาในเอเชียกลางในช่วงเวลานั้นหรือไม่นานหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าเมนันเดอร์ ลายผ้าสักหลาดที่ สถูปสาญจี(Sanchi) แสดงให้เห็นถึงพุทธสาวกในชุดเครื่องแต่งกายแบบกรีก ผู้ชายเป็นภาพที่มีผมหยิกสั้นมักจะเกล้าขึ้นด้วยแถบคาดศีรษะชนิดที่พบเห็นได้ทั่วไปบนเหรียญกรีก เสื้อผ้าก็เป็นแบบกรีก พร้อมด้วยเสื้อคุมแบบกรีก(tunics) ผ้าคลุมไหล่และรองเท้าแตะ เครื่องดนตรียังมีลักษณะพิเศษ เช่นขลุ่ยคู่ที่เรียกว่า ออลอส (aulos) นอกจากนี้ยังมองเห็นเครื่องเป่ายาวๆคล้ายแตร พวกเขาทั้งหมดฉลองที่ทางเข้าของเจดีย์ คนเหล่านี้อาจจะเป็นชาวอินโดกรีกมาจากอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือเพื่อเยี่ยมชมสถูปสาญจี[18]

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระเจ้ามิลินท์ http://www.whitelinenbooks.com/upload/images/Docum... http://www.fordham.edu/halsall/ancient/periplus.ht... http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text?doc=Perse... http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text?doc=Perse... http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text?doc=Perse... http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text?doc=Strab... http://lakdiva.org/mahavamsa/chap029.html http://oll.libertyfund.org/Texts/Plutarch0206/Mora... https://books.google.com/books?id=C9_vbgkzUSkC&pg=... https://web.archive.org/web/20060220090138/http://...