สวรรคต ของ พระเจ้ามิลินท์

พลูตาร์ช (Plutarch) รายงานว่า พระเจ้าเมนันเดอร์สวรรคตในแคมป์ขณะกำลังร่วมการรบ ดังนั้นจึงต่างจากเวอร์ชันของมิลินทปัญหา แยกขาดเขาที่ไม่เห็นด้วยกับทรราชย์ดังเช่นไดโอนิซิอัส (Dionysius) และในการขยายความว่า เรื่องของเมืองที่น่าสงสัยเกี่ยวกับการสมพระเกียรติให้การฝังพระศพของพระองค์ ท้ายที่สุดกระทั่งการแบ่งปันเถ้าถ่านของพระองค์ในระหว่างพวกเขาและแจกจ่ายแก่กันเพื่อนำไปบรรจุในอนุสรณ์สถาน(น่าจะเป็นสถูป) ในลักษณะการเตือนความจำแบบพิธีถวายพระเพลิงของพระพุทธเจ้า

แต่เมื่อพระเจ้าเมนันเดอร์พระองค์ที่ 1 ผู้ได้ขึ้นครองราชย์แคว้นบัคเตรียอย่างมีพระกรุณาธิคุณ หลังจากนั้นก็สวรรคตในค่าย ชาวเมืองทั้งหลายต่างก็เต็มใจร่วมพิธีถวายอาลัยในงานพิธีพระศพของพระองค์อย่างแท้จริง แต่การมาถึงการแข่งขันกันแย่งพระบรมอัฐิของพระองค์ การเป็นตัวเลือกสุดท้ายของพวกเขาเป็นการยากจึงนำไปสู่ข้อตกลงนี้ว่า พระสรีรังคารของพระองค์จะถูกแจกจ่ายสำหรับทุกๆคนและต้องได้รับส่วนละเท่าๆกัน และพวกเขาทั้งหมดต้องอนุสรณ์สถานให้พระองค์— พลูตาร์ช, โมราเลีย : Praecepta gerendae reipublicae[15][16]

แม้จะ มีความสำเร็จมากมายของพระองค์ ปีสุดท้ายของพระเจ้าเมนันเดอร์น่าจะเต็มไปด้วยสงครามกลางเมืองอีกครั้ง ครั้งนี้เป็นการปะทะกับพระเจ้าโซอิลอส ที่ 1 (Zoilos I) ผู้ซึ่งครองราชย์ในแคว้นคันธาระ (Gandhara) นี้เป็นบงชี้ที่ว่าพระเจ้าเมนันเดอร์อาจปั้มทับเหรียญของพระเจ้าโซอิลอสมิลินทปัญหาอาจยกการสนับสนุนบางอย่างในแนวคิดที่ว่า ตำแหน่งของพระเจ้าเมนันเดอร์มีความเสี่ยงล่อแหลม เพราะมันถูกอธิบายว่าพระองค์ถูกล้อมรอบแบบจนมุมโดยศัตรูจำนวนมากในวงล้อม

หลังจากการสนทนากันอย่างยาวนานของพวกเขา พระนาคเสนได้ถามตัวเองว่า “แม้กษัตริย์จะทรงพอพระทัย พระองค์ก็ไม่ให้สัญญาณแห่งความพอพระทัย” พระเจ้าเมนันเดอร์ตรัสตอบว่า “เหมือนราชสีห์เจ้าแห่งสัตว์มีเขี้ยวทั้งปวง เมื่อถูกขังให้กรง แม้กรงเป็นกรงทอง ก็ยังคงต้องการออกข้างนอก ฉันนั้นเหมือนกัน เราแม้จะอยู่ในฐานะเป็นหัวหน้าของบ้าน แต่ก็ยังคงมุ่งหมายออกไปข้างนอก แต่ถ้าเราจะออกไปจากบ้านไปเป็นคนเร่ร่อนไร้บ้าน เราจะออกไปได้ไม่นาน ทั้งศัตรูของเรามีจำนวนมากมาย

— อ้างอิงของโบเพรัคคิ (Bopearachchi), ใน มิลินทปัญหา เล่ม 3 บที่ 7 (Milinda Panha)[17]

ทฤษฎีทายาทผู้สืบทอดของพระเจ้าเมนันเดอร์

พระเจ้าเมนันเดอร์เป็นกษัตริย์อินโดกรีกพระองค์สุดท้ายที่ได้ถูกกล่าวถึงโดยนักประวัติศาสตร์โบราณ และการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของรัฐหลังจากพระองค์สวรรคต จึงยากที่จะติดตาม

) ดูในข้อความที่นำสืบมา ซึ่งถูกสนับสนุนโดยตาร์น (W.W. Tarn) และโบเพรัคคิ (Bopearachchi) ข้อความที่ว่าพระเจ้าเมนันเดอร์มีคนสำเร็จราชการแทนคือพระนางอะกาทอคลีอา (Agathokleia) ผู้ทำน่าที่สำเร็จราชการแทนพระราชโอรสที่พระนามว่าสตาโบ ที่ 1 ซึ่งยังเป็นเด็กเล็กมากอยู่ จนกระทั่งพระราชโอรสโตเป็นผู้ใหญ่และสมควรขึ้นครองราชย์ สตราโบ ที่ 1 มีภาพของพระองค์อยู่ด้านตรงข้าม(ด้านก้อย)กับพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 เทพีอธีนาขว้างสายฟ้า และมีข้อความหัวข้อว่า โซเตอร์ (Soter) ตามสถานการณ์นี้ พระมเหสีอะกาทอคลีอาและพระโอรสสตาโบที่1 ทำเพียงแค่บริหารการเฝ้าดูแลในภาคตะวันออกของอาณาจักร แคว้นปัญจาบและที่แคว้นคันธาระ ปโรปมิสดี (Paropamisadae) และ ปุสคลวติ (Pushkalavati) ถูกยึดครองโดยพระเจ้าโซอิลอส ที่ 1 บางทีเพราะมีบางคนในบรรดาข้าราชการของพระนางอะกาทอคลีอาอาจไม่เต็มใจที่จะยอมรับกษัตริย์เด็กและพระราชินีผู้สำเร็จราชการแทน

) ตรงข้ามกับเรื่องนี้ ซีเนียร์ (R.C. Senior) และนักเชียวชาญด้านเหรียญเช่น เดวิด บิวาร์ (David Bivar) ได้แนะนำว่า สตาโบ ที่ 1 ปกครองหลายทศวรรษ(หลายสิบปี)หลังจากพระเจ้าเมนันเดอร์ พวกเขาชี้ให้เห็นว่า พระปรมาภิไธย (Monogram)ของพระเจ้าสตาโบ และของพระนางอะกาทอคลีอามักจะแตกต่างจากของพระเจ้าเมนันเดอร์และการปั้มเหรียญหลุดขอบและรวบรวมการค้นพบยังเชื่อมโยงพวกเขาต่อกษัตริย์องค์ต่อมา ในสถานการณ์นี้ เมนันเดอร์ได้รับการสำเร็จราชการช่วงสั้นๆโดยพระโอรสของพระองค์พระนามว่า ธราสัน (Thrason) ผู้ซึ่งมีเหรียญค้นพบเหรียญเดียวเป็นที่รู้จัก หลังจากพระเจ้าธราสัน (Thrason) ถูกฆาตกรรม กษัตริย์คู่แข่งเช่น พระเจ้าโซอิลอส ที่ 1 (Zoilos I) หรือ ไลเซียส (Lysias) อาจเป็นผู้เข้ายึดครองอาณาจักรของพระเจ้าเมนันเดอร์ ราชวงศ์ของพระเจ้าเมนันเดอร์จึงพังครืนและไม่ได้กลับมาสู่อำนาจจนกระทั่งต่อมา แม้นิเซียส (Nicias) ผู้เป็นญาติเกี่ยวพันธ์ของพระองค์จะสามารถปกครองอาณาจักรเล็กๆในหุบเขาคาบูล

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระเจ้ามิลินท์ http://www.whitelinenbooks.com/upload/images/Docum... http://www.fordham.edu/halsall/ancient/periplus.ht... http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text?doc=Perse... http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text?doc=Perse... http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text?doc=Perse... http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text?doc=Strab... http://lakdiva.org/mahavamsa/chap029.html http://oll.libertyfund.org/Texts/Plutarch0206/Mora... https://books.google.com/books?id=C9_vbgkzUSkC&pg=... https://web.archive.org/web/20060220090138/http://...