พระเจ้าเมนันเดอร์กับพระพุทธศาสนา ของ พระเจ้ามิลินท์

มิลินทปัญหา

ตามที่ได้มีการนำสืบๆมา พระเจ้าเมนันเดอร์ยึดศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีบรรยายในมิลินทปัญหา ซึ่งเป็นวรรณกรรมพุทธบาลีคลาสสิก (ข้อความภาษาสันสฤตฉบับเดิมสูญหายแล้ว) การสนทนาระหว่างพระเจ้าเมนันเดอร์กับพระนาคเสนนักบวชพุทธ พระองค์ถูกบรรยายตลอดว่าอยู่พร้อมกับทหารองครักษ์ ๕๐๐ คน และอำมาตย์ที่ปรึกษาของพระองค์ชื่อ เดเมตริอัส กับ อันทิคัส (Demetrius and Antiochus) ในมิลินทปัญหา พระองค์ถูกบรรยายประวัติว่า

กษัตริย์แห่งเมืองสาคละในชมพูทวีปพระนามว่ามิลินท์เป็นผู้คงแก่เรียนมีไหวพริบปฏิภาณฉลาดสามารถและเป็นผู้สังเกตการณ์ที่มีศรัทธาและในเวลาที่สมควร การกระทำความจงรักภักดีและพิธีกรรมต่างๆทั้งหมดสั่งการโดยพระองค์เองด้วยบทสวดอันศักดิ์ที่เป็นเรื่องเกียวกับอดีตปัจจุบันและอนาคต เป็นผู้ได้ศึกษาศาสตร์ต่าง ๆ

ไว้เป็นอันมาก ถึง ๑๘ ศาสตร์ด้วยกัน รวมเป็น ๑๙ กับทั้งพุทธศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการคือ๑. รู้จักภาษาสัตว์มีเสียงนกร้อง เป็นต้นว่าร้ายดีประการใดได้สิ้น ๒. รู้จักกำเนิดเขาและไม้ เป็นต้นว่าชื่อนั้นๆ๓. คัมภีร์เลข๔. คัมภีร์ช่าง๕. คัมภีร์นิติศาสตร์ รู้ที่จะเป็นครูสั่งสอนท้าวพระยาทั้งปวง๖. คัมภีร์พาณิชยศาสตร์ รู้ที่จะเลี้ยงฝูงชนให้เป็นสิริมงคล๗. พลศาสตร์ รู้นับนักขัตฤกษ์ รู้ตาราดวงดาว๘. คัมธัพพศาสตร์ รู้เพลงขับร้องและดนตรี๙. เวชชศาสตร์ รู้คัมภีร์แพทย์ ๑๐. ธนูศาสตร์ รู้ศิลปะการยิงธนู๑๑. ประวัติศาสตร์๑๒. ดาราศาสตร์ รู้วิธีทำนายดวงชะตาของคน๑๓. มายาศาสตร์ รู้ว่านี่เป็นแก้ว นี่มิใช่แก้ว เป็นต้น๑๔. เหตุศาสตร์ ผลศาสตร์ รู้จักเหตุ รู้จักผลจะบังเกิด๑๕. ภูมิศาสตร์ รู้จักที่จะเลี้ยงโคกระบือ รู้การที่จะหว่านพืชลงในนาไร่ให้เกิดผล๑๖. ยุทธศาสตร์ รู้คัมภีร์พิชัยสงคราม๑๗. ลัทธิศาสตร์ รู้คัมภีร์โลกโวหาร๑๘. ฉันทศาสตร์ รู้จักคัมภีร์ผูกบทกลอนกาพย์โคลงพระเจ้ามิลินท์นั้น มีถ้อยคำหาผู้ต่อสู้ได้ยาก และเป็นบุคคลผู้เอาชนะได้ยาก เป็นผู้ยอดเยี่ยมที่ได้รับการยอมรับจากเจ้าสำนักนักคิดนักปรัชญาต่างๆทั้งหมด และเป็นผู้มีกำลังแห่งปัญญา มีกำลังกาย มีเชาวน์อันเร็ว และไม่มีคู่โต้วาทีที่สมน้ำสมเนื้อกับพระเจ้ามิลินท์ในชมพูทวีป ทั้งพระองค์ยังเป็นผู้มั่งคั่งร่ำรวย มีทรัพย์สมบัติและความรุ่งเรื่องมาก และจำนวนทหารของพระองค์นับไม่ถ้วน[7]

ข้อความที่นำสืบมาของศาสนพุทธบอกเล่าว่า การสนทนาของพระองค์ตามที่กล่าวมานั้นกับพระนาคเสน พระยามิลินท์ก็เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา:

ขอให้พระคุณเจ้านาคเสนยอมรับเราว่าเป็นพุทธมามกะและเป็นผู้เปลี่ยนแปลงจริงๆนับแต่วันนี้เป็นต้นไปตลอดชั่วชีวิต[8]

จากนั้นพระองค์ก็ส่งมอบอาณาจักรของพระองค์ให้กับพระโอรสและปลีกพระองค์ออกจากโลกียวาส:

และหลังจากนั้น พระองค์ก็พอพระทัยในปัญญาของผู้อาวุโส พระองค์ส่งมอบอาณาจักรให้แก่พระโอรสของพระองค์ และสละการใช้ชีวิตในพระราชวังเพื่ออยู่แบบไม่มีเรือน เจริญก้าวหน้าในโพธิธรรม และพระองค์เองได้บรรลุพระอรหันต์[9]

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากพินัยกรรมที่บงชี้ว่าพระองค์สละราชบัลลังก์เพื่อพระโอรสของพระองค์ตามความพอพระทัยแล้ว ยังมีหลักฐานบนเหรียญที่เซอร์ วิลเลี่ยม ตาร์น (Sir William Tarn) เชื่อว่า พระองค์สวรรคตจริงทิ้งให้พระอัครมเหสีของพระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการ จนกระทั่งพระโอรสของพระองค์ สตราโบ สามารถที่จะขึ้นครองราชย์อย่างถูกต้อง[10]

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการครองราชย์ของพระโอรส ก็เป็นที่ชัดเจนว่า หลังจากที่พระองค์สวรรคต จักรวรรดิก็ระส่ำระส่ายได้แตกแยกออกจากอาณาจักรที่มีรัชทายาทเป็นกษัตริย์อินโด-กรีกที่หลากหลาย จากขนาดที่หลากหลายและความมีเสถียรภาพ

เอกสารอื่นๆของชาวอินเดีย

รูปสลักที่อาจจะเป็นกษัตริย์อินโดกรีก, อาจจะเป็นพระเจ้าเมนันเดอร์, พร้อมด้วยไตรรัตน์สัญลักษณ์ที่ดาบ. เมืองบาร์ฮัต, 200 ปีก่อนคริสตกาล. พิพิธภัณฑ์อินเดีย, โกลกาตา.
  • 200 ปีก่อนคริสตกาล รูปสลักนูนต่ำจากสถูปทางพุทธศาสนาในเมืองบาร์ฮัต (Bharhut) ในภาคตะวันออกของรัฐมัธยมประเทศ (Madhya pradesh) (ทุกวันนี้รูปสลักนั้นอยู่ในพิพิธภัณฑ์เมืองโกลกาตา) รูปสลักนั้นเป็นทหารต่างประเทศพร้อมด้วยผมยิกสไตล์กรีกและผ้าพันศีรษะแบบหลวงปลายผ้าพลิวไหวตามลมแบบกษัตริย์กรีก และบางทีอาจจะวาดถึงพระเจ้าเมนันเดอร์ ในมือของรูปสลักถือกิ่งเถาวัลย์ สัญลักษณ์ของเทพเจ้าผู้เก็บเกี่ยวองุ่น ทั้งชายของผ้านุ่งห่มของรูปสลักก็เป็นแถวเป็นแนวพับแบบรูปทรงเรขาคณิต มีลักษณะสไตล์เฮเลนิก บนดาบของรูปสลักปรากฏสัญลักษณ์ทางศาสนาพุทธคือรัตนากร

การค้นพบที่เก็บพระธาตุในเมืองบาจาเออ (Bajaur) มีข้อความจารึกเป็นการบริจาคของมีค่าเพื่ออุทิศ บอกถึง วันที่ 14 ของเดือนกัตติกา (เดือน 12 ตามจันทรคติ ราวเดือนพฤศจิกายน) ของปีที่แน่นอนของการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าเมนันเดอร์:

Minadrasa maharajasa Katiassa divasa 4 4 4 11 pra[na]-[sa]me[da]... (prati)[thavi]ta pranasame[da]... Sakamunisa

ในวันที่ 14 ของเดือนกัตติกา ในการขึ้นครองราชย์พระเจ้าเมนันเดอร์มหาราช(ในปี...) (ของที่ระลึก)ของพรศรีศากยมุนี ซึ่งได้บริจาคอุทิศชีวิต...ได้ถูกก่อสร้าง[11]

  • ตามแหล่งข้อมูลของศรีลังกาโบราณชื่อคัมภีร์มหาวงศ์บันทึกว่า ภิกษุชาวกรีกคาดว่าได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธในช่วงเวลารัชกาลของพระเจ้าเมนันเดอร์: พระมหาธรรมรักขิตะ ภิกษุชาวโยนะ (ชาวกรีก)กล่าวว่ามาจากเมืองอละสันดรา (Alasandra) (น่าจะเป็นเมืองอเล็กซานเดรียแห่งคอเคซัส เป็นเมืองที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ทรงก่อตั้งขึ้น ปัจจุบันอยู่ใกล้กรุงคาบูล) ท่านมาพร้อมกับพระภิกษุ ๓๐,๐๐๐ เพื่อมาพิธีวางรากฐานของพระมหาสถูป ณ เมืองอนุราธปุระ(อนุราธบุรี) ในศรีลังกา ในช่วงเวลา ๒๐๐ ปีก่อนคริสตกาล:

พระเถระผู้อาวุโส มหาธรรมรักขิตะพร้อมด้วยภิกษุ ๓๐,๐๐๐ รูปมาจากเมืองอละสันดรา (Alasandra) แห่งแคว้นโยนะ

มหาวงศ์ (Mahavamsa)[12]

การก่อสร้างทางพระพุทธศาสนา

เหรียญของพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 ถูกพบในชั้นที่สองของบัตการาสถูป (Butkara stupa) ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการก่อสร้างชั้นที่สองของสถูปเพิ่มเติมในรัชสมัยของพระเจ้าเมนันเดอร์[13] ซึ่งพระองค์สร้างชั้นที่สองต่อจากการสร้างชั้นที่หนึ่งครั้งแรกในยุคราชวงศ์โมริยะ[14] องค์ประกอบเหล่านี้มีแนวโน้มบ่งบอกถึงความสำคัญทางพระพุทธศาสนาภายชุมชนชาวกรีกในอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือและบทบาทที่โดดเด่นของพระสงฆ์กรีก ซึ่งพวกเขาอาจจะอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระเจ้าเมนันเดอร์

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระเจ้ามิลินท์ http://www.whitelinenbooks.com/upload/images/Docum... http://www.fordham.edu/halsall/ancient/periplus.ht... http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text?doc=Perse... http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text?doc=Perse... http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text?doc=Perse... http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text?doc=Strab... http://lakdiva.org/mahavamsa/chap029.html http://oll.libertyfund.org/Texts/Plutarch0206/Mora... https://books.google.com/books?id=C9_vbgkzUSkC&pg=... https://web.archive.org/web/20060220090138/http://...