พระราโชบายด้านการต่างประเทศ ของ พระเจ้าหลุยส์ที่_16_แห่งฝรั่งเศส

การยอมจำนนของนายพลคอร์นวอลลิสต่อกองทัพฝรั่งเศส (ซ้าย) และสหรัฐอเมริกา (ขวา) ณ การโอบล้อมยอร์กทาวน์ ค.ศ. 1781 โดยจอห์น ทรัมบูลพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงต้อนรับคณะราชทูตแห่งสุลต่านทิพภูในปี ค.ศ. 1788 วาดโดยเอมีล วัตตีแยร์ คริสต์ศตวรรษที่ 19

ผลของสงครามเจ็ดปีทิ้งไว้ซึ่งความหายนะแก่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ชัยชนะของบริเตนใหญ่ส่งผลให้ฝรั่งเศสสูญเสียดินแดนอาณานิคมมากมาย ซึ่งบางส่วนได้รับคืนในปี ค.ศ. 1763 จากสนธิสัญญาปารีส ดังนั้นดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลของทวีปอเมริกาเหนือจึงตกเป็นของอังกฤษโดยสมบูรณ์

ความพ่ายแพ้นี้เองนำไปสู่แผนการรื้อสร้างกองทัพฝรั่งเศสขึ้นมาใหม่ของเหล่าชนชั้นนำฝรั่งเศสเพื่อที่จะต่อสู้ในสงครามแก้แค้นกับอังกฤษ โดยพวกเขาคาดหวังไว้ว่าอาจได้รับดินแดนอาณานิคมบางส่วนกลับคืนมา อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสยังคงมีอิทธิพลเหนือหมู่เกาะอินดีสตะวันตกอย่างมาก และมีสถานีการค้าห้าแห่งอยู่ในอินเดีย ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถใช้เป็นเงื่อนไขในสร้างความขัดแย้งและต่อรองอำนาจกับอังกฤษได้ในอนาคต[25]

การปฏิวัติอเมริกา

ฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1776 แวร์เฌนส์ รัฐมนตรีการต่างประเทศ มองเห็นโอกาสที่จะฉีกหน้าคู่ปรับเก่าแก่ของฝรั่งเศสอย่างอังกฤษ เช่นเดียวกับโอกาสที่จะได้ดินแดนที่เสียไปในช่วงสงครามเจ็ดปีกลับคืนมาด้วยการสนับสนุนการปฏิวัติอเมริกา พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกน้าวโน้มโดยปิแยร์ โบมาร์เชส์ ให้ทรงส่งเสบียงและอาวุธยุทโธปกรณ์แก่สหรัฐอเมริกาอย่างลับๆ ตั้งแต่ ค.ศ. 1776 ลงนามสนธิสัญญาพันธมิตรฝรั่งเศส-อเมริกันในต้นปี ค.ศ. 1778 และเข้าร่วมสงครามต่อต้านอังกฤษในท้ายที่สุด ต่อมาสเปนและเนเธอร์แลนด์จึงเข้าร่วมกับฝรั่งเศสเป็นพันธมิตรในการต่อต้านอังกฤษ หลังจากปี ค.ศ. 1778 อังกฤษหันมาให้ความสำคัญกับหมู่เกาะอินดีสตะวันตก เนื่องจากตระหนักว่าการปกป้องหมู่เกาะซึ่งเป็นแหล่งปลูกอ้อยน้ำตาลสำคัญกว่าการพยายามยึดอาณานิมทั้งสิบสามกลับคืนมา ส่วนฝรั่งเศสและสเปนวางแผนที่จะบุกเกาะอังกฤษด้วยกองเรืออาร์มาดาปี ค.ศ. 1779 แต่แผนการดังกล่าวไม่เคยเกิดขึ้นจริง

ในช่วงต้นของการสนับสนุนฝ่ายปฏิวัติอเมริกัน ฝรั่งเศสพบกับความผิดหวังจากความพ่ายแพ้ของฝ่ายอเมริกันในสมรภูมิโรดไอส์แลนด์และการโอบล้อมที่ซาวันนาห์ ในปี ค.ศ. 1780 ฝรั่งเศสส่งโรช็องโบและเดอ กราสส์ ไปช่วยฝ่ายอเมริกัน พร้อมทั้งกำลังพลทั้งทางบกและทางน้ำ กองพลเคลื่อนที่เร็วของฝรั่งเศสเดินทางถึงอเมริกาเหนือในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1780 ตามมาด้วยการปรากฏตัวของราชนาวีฝรั่งเศสในทะเลแคริบเบียนจากการเข้ายึดหมู่เกาะน้ำตาล รวมทั้งโตเบโกและเกรเนดา[26] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1781 การปิดล้อมทางเรือของฝรั่งเศสถูกใช้เป็นเครื่องมือบังคับให้กองทัพอังกฤษภายใต้การนำของลอร์ดคอร์นาวอลลิสให้ยอมจำนนในการโอบล้ามที่ยอร์กทาวน์[27] เมื่อลอนดอนได้รับข่าวนี้ ส่งผลให้รัฐบาลของลอร์ดนอร์ทล่มลงในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1782 และอังกฤษกลับท่าทีเพื่อให้ความขัดแย้งสงบลงอย่างกระทันหัน อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสทำให้สงครามยืดเยื้อออกไปจนกระทั่งเดือนกันยายน ค.ศ. 1783 โดยหวังว่าจะได้รับดินแดนอาณานิคมของอังกฤษในอินเดียและหมู่เกาะอินดีสตะวันตกเพิ่มเติม

ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่รับรองเอกราชของอาณานิคมทั้งสิบสามในฐานะสหรัฐอเมริกาและรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสสามารถรื้อฟื้นกองทัพฝรั่งเศสขึ้นมาใหม่ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายอังกฤษสามารถเอาชนะกองทัพฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1782 ได้สำเร็จและสามารถป้องกันจาเมกาและยิบรอลตาร์ไว้ได้ ส่วนฝรั่งเศสได้ดินแดนเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อยจากสนธิสัญญาปารีส ค.ศ. 1783 ซึ่งปิดฉากสงครามลงอย่างเป็นทางการ ยกเว้นในอาณานิคมโตเบโกและเซเนกัล พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงผิดหวังอย่างมากจากพระราชประสงค์ที่จะได้ดินแดนแคนาดา อินเดีย และเกาะอื่น ๆ ในหมู่เกาะอินดีสตะวันตกคืนมาจากอังกฤษ เนื่องจากดินแดนดังกล่าวได้รับการป้องกันอย่างดีเยี่ยม อีกทั้งราชนาวีอังกฤษที่แข็งแกร่งทำให้การรุกรานจากภายนอกเป็นไปไม่ได้ สงครามดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 1,066 ล้านลีฟว์ โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากเงินกู้ระยะยาวที่อัตราดอกเบี้ยสูง (โดยไม่มีภาษีชนิดใหม่) แนแกร์ปกปิดวิกฤตการเงินจากสาธารณชนด้วยการอธิบายเพียงว่างบประมาณรายได้มากกว่ารายจ่ายของประเทศ และไม่ได้กล่าวถึงเงินกู้ยืมก้อนดังกล่าว ซึ่งหลังจากที่เขาถูกขับออกจากตำแหน่งในปี ค.ศ. 1781 จึงมีการจัดเก็บภาษีชนิดใหม่[28]

อินเดีย

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงให้คำแนะนำของพระองค์ต่อ เคาน์แห่งลาเปรูส

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงหวังที่จะใช้สงครามปฏิวัติอเมริกันในการขับไล่อังกฤษออกจากอินเดีย[25] ในปี ค.ศ. 1782 ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับ เพชวา มัดฮัฟเราที่ 2 (Peshwa Madhavrao II) มาร์กี เดอ บุชชี-คัสเตลโน จึงเคลื่อนกองกำลังของตนเข้าไปยังอีลส์เดอฟร็องซ์ (ปัจจุบันคือมอริเชียส) และภายหลังได้ช่วยเหลือในความพยายามของฝรั่งเศสในอินเดีย ค.ศ. 1783[25][29] ซุฟเฟร็นเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับฮีดดะ อาลี (Hyder Ali) ในสงครามอังกฤษ-ไมซอร์ครั้งที่สองต่อต้านการปกครองของอังกฤษในอินเดีย ช่วงปี ค.ศ. 1782 – 1783 ต่อสู้กับกองเรืออังกฤษตลอดแนวชายฝั่งของอินเดียและซีลอน[30][31]

เวียดนามและอินโดจีน

ฝรั่งเศสยังได้เข้าแทรกแซงโคชินจีน (Cochinchina) จากการที่นายพลปิโญ เดอ เบอเฮน เข้าแทรกแซงให้การช่วยเหลือทางการทหาร การเป็นพันธมิตรกันระหว่างฝรั่งเศสและโคชินจีนได้รับการลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซาย ค.ศ. 1787 ระหว่างพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับเจ้าชายเหวียน อันห์[32] ในขณะที่ระบอบการปกครองของฝรั่งเศสตกอยู่ในความตึงเครียดและความวุ่นวาย ฝรั่งเศสไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงในสนธิสัญญาได้ แต่นายพลเบอเฮนยังคงยืนหยัดในความพยายามของเขาและได้รับการสนับสนุนจากปัจเจกบุคคลและพ่อค้าชาวฝรั่งเศสที่ร่วมกันจัดตั้งเป็นกองกำลังทหารและเจ้าพนักงาน ซึ่งจะช่วยพัฒนากองทัพของเจ้าชายเหวียน อันห์ ให้มีความทันสมัยขึ้น และตามมาด้วยชัยชนะของนายพลเบอเฮนในการยึดครองเวียดนามได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1802

การสำรวจดินแดนใหม่

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ยังทรงให้การสนับสนุนนักสำรวจและนักเดินทาง ในปี ค.ศ. 1785 ทรงแต่งตั้งเคาน์แห่งลาเปรูสเป็นผู้นำการสำรวจดินแดนทั่วโลก

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระเจ้าหลุยส์ที่_16_แห่งฝรั่งเศส http://books.google.com/books?id=Fk_RaalNQAQC&pg=P... http://books.google.com/books?id=nc7H1eQiArQC&pg=P... http://www.newyorker.com/printables/archive/021007... http://historyproject.ucdavis.edu/ic/standard/5.00... http://assignat.fr/1-assignat/ass-04a http://belleindochine.free.fr/2TraiteVersaillesEve... http://www.historyofcircumcision.net/index.php?opt... http://www.tigerandthistle.net/tipu315.htm http://booking-help.org/book_338_glava_314_Edict_o... http://www.bbc.co.uk/news/world-europe-20882305