พระชนม์ชีพส่วนพระองค์ ของ พระเจ้าหลุยส์ที่_16_แห่งฝรั่งเศส

มารี อ็องตัวแน็ต สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสกับพระราชโอรส-ธิดาองค์โต 3 พระองค์แรก, เจ้าหญิงมารี-เตเรส, เจ้าชายหลุยส์-ชาร์ลส์ และเจ้าชายหลุยส์-โจเซฟ แต่เดิมแล้วในพระอู่ควรจะมีเจ้าหญิงโซฟี เฮเลน เบียทริกซ์แห่งฝรั่งเศส แต่ภาพนี้ถูกวาดขึ้นหลังจากการสิ้นพระชนม์ขององค์หญิง โดยเอลีซาแบ็ต-หลุยส์ วีเฌ-เลอเบริงพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ขณะมีพระชนมายุ 20 พรรษาเจ้าหญิงโซฟี เฮเลน เบียทริกซ์แห่งฝรั่งเศส

ในวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1770 ขณะมีพระชนมายุ 15 พรรษา เจ้าชายหลุยส์โอกุสต์ทรงอภิเษกกับอาร์คดัชเชสพระชนมายุ 14 พรรษาจากราชวงศ์ฮาพส์บวร์คพระนามว่า อาร์ชดัชเชสมารีอา อันโทนีอา โยเซฟา โยฮันนา (ชื่อฝรั่งเศสเรียกมารี อ็องตัวแน็ต) พระญาติชั้นที่สองและพระราชธิดาองค์เล็กสุดในจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา พระชายาผู้น่าเกรงขาม

การอภิเษกสมรสในครั้งนี้ต้องเผชิญกับการต่อต้านบางส่วนจากสาธารณชนชาวฝรั่งเศส จากที่การเป็นพันธมิตรกับออสเตรียได้นำพาฝรั่งเศสเข้าสู่ความหายนะในสงครามเจ็ดปี ทำให้ฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่สหราชอาณาจักรทั้งในแผ่นดินยุโรปและอเมริกาเหนือ โดยในช่วงของการอภิเษกสมรสครั้งนี้ ประชาชนชาวฝรั่งเศสมองสัมพันธไมตรีกับออสเตรียด้วยความชิงชัง และพระนางมารี อ็องตัวแน็ต ก็ทรงถูกมองว่าเป็นสตรีชาวต่างชาติผู้ไม่เป็นที่พึงประสงค์[5] สำหรับคู่รักราชนิกุลผู้เยาว์ทั้งสองแล้ว การอภิเษกครั้งนี้เริ่มแรกดูชื่นมื่นแต่ห่างเหิน - ความเขินอายของเจ้าชายหลุยส์โอกุสต์หมายความว่าพระองค์จะทรงล้มเหลวในการรวมกันของสองราชวงศ์ครั้งนี้ สร้างความทุกข์ใจให้แก่พระชายาอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้นคือความกังวลว่าจะทรงถูกบงการโดยพระชายาเพื่อประสงค์บางอย่างของพระบรมวงศ์ฮับส์บูร์ก ก็ยิ่งกดดันให้ทรงวางพระองค์เย็นชาต่อพระชายาในที่สาธารณะมากขึ้นไปอีก[6] อย่างไรก็ตามเมื่อกาลเวลาล่วงเลยผ่านไป ทั้งสองพระองค์ก็ทรงใกล้ชิดสนิทสนมมากขึ้น จนมีรายงานว่าในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1773 สายสัมพันธ์ได้แนบแน่นจนผสานทั้งสองพระองค์เข้าไว้ด้วยกันอย่างสมบูรณ์ แต่ก็ยังไม่ปรากฏอย่างชัดจริงจนกระทั่งปี ค.ศ. 1777[7]

อย่างไรก็ดี ทั้งสองพระองค์ทรงล้มเหลวที่จะมีรัชทายาทร่วมกันเป็นเวลาหลายปีนับจากนี้ สร้างความกดดันเพิ่มขึ้นให้แก่การอภิเษกสมรส[8] ในขณะที่สถานการณ์ได้เลวร้ายลงไปอีกเมื่อจุลสารสิ่งพิมพ์ลามกอนาจาร ลีเบลล์ (ฝรั่งเศส: libelles) ได้เสียดสีล้อเลียนทั้งคู่โดยการตั้งคำถามว่า "กษัตริย์จะทรงทำได้ไหม? กษัตริย์จะทรงทำได้ไหม"[9]

ในช่วงเวลานั้นมีการถกเถียงถึงสาเหตุของความล้มเหลวในช่วงต้นของการมีองค์รัชทายาท และก็ยังทรงเป็นเช่นนั้นไป หนึ่งในข้อเสนอแนะก็คือ เจ้าชายหลุยส์โอกุสต์ ต้องทรงทุกข์ทรมานจากความเสื่อมสมรรถภาพทางสรีรวิทยา[10] ส่วนมากคาดเดากันว่าเกิดจากพระอาการหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศไม่เปิดในวัยพระเยาว์ (phimosis) ซึ่งคำเสนอแนะนี้ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1772 โดยเหล่าแพทย์หลวง[11] ด้านเหล่านักประวัติศาสตร์ยึดมั่นต่อมุมมองนี้ว่าทรงได้เข้ารับการสุหนัต[12] (วิธีการรักษาทั่วไปของอาการหนังหุ้มปลายไม่เปิด) เพื่อบรรเทาพระอาการหลังจากเป็นเวลาผ่านไปเจ็ดปีหลังการอภิเษกสมรส แพทย์หลวงประจำพระองค์ไม่เห็นชอบกับการผ่าตัดมากนัก - การผ่าตัดมีความละเอียดอ่อน มีความชอกช้ำ และง่ายต่อการ "สร้างความเสียหายร้ายแรง" ต่อบุรุษวัยฉกรรจ์ ข้อถกเถียงเรื่องพระอาการข้างต้นและผลที่ตามมาจากการผ่าตัดส่วนมากสามารถพบเห็นได้ในงานเขียนของสเตฟาน ชไวจ์ นักเขียนชาวออสเตรีย[13]

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับในหมู่นักประวัติศาสตร์ยุคใหม่ส่วนมากว่าพระองค์มิทรงเคยเข้ารับการผ่าตัด[14][15][16] - ตัวอย่างเช่นในช่วงปลาย ค.ศ. 1777 ราชทูตปรัสเซียนามว่า บารอน โกลต์ซ รายงานว่ากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสทรงปฏิเสธรับการผ่าตัดอย่างแน่นอน[17] ข้อเท็จจริงก็คือเจ้าชายถูกประกาศว่ามีพระสมรรถภาพสมบูรณ์อย่างเยี่ยมยอดต่อการมีเพศสัมพันธ์ ยืนยันโดยจักรพรรดิโจเซฟที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และในช่วงที่ทรงถูกกล่าวอ้างถึงการเข้ารับการผ่าตัด พระองค์เสด็จออกไปล่าสัตว์แทบจะทุกวันตามคำบันทึกส่วนพระองค์ ซึ่งหมายความว่าการทรงเข้ารับการผ่าตัดไม่มีโอกาสที่จะเป็นไปได้เลย อย่างน้อยที่สุดก็ไม่น่าจะทรงสามารถเสด็จออกไปล่าสัตว์ในช่วงสองสามสัปดาห์หลังจากการผ่าตัดนั้น ทั้งนี้ประเด็นถกเถียงถึงความสมบูรณ์ทางสรีระส่วนพระองค์ถูกนำไปประกอบกับปัจจัยอื่นแล้ว ซึ่งก็ยังคงเป็นที่โต้แย้งและถกเถียงมาจนถึงปัจจุบัน

ในช่วงระยะต่อมา แม้ว่าจะประสบกับความยากลำบากมาก่อนหน้านี้ แต่ในท้ายที่สุดทั้งสองพระองค์ก็ทรงมีรัชทายาทสืบเชื้อพระวงศ์รวมสี่พระองค์ ได้แก่

คาร์ล ชอว์ เขียนในหนังสือ Royal Babylon: The Alarming History of European Royalty ของเขาว่า "ว่ากันว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เป็นที่จดจำจากการเป็นกษัตริย์ฝรั่งเศสพระองค์แรกที่ทรงริเริ่มการใช้มีดและส้อม อีกทั้งการที่ทรงสรงน้ำและสีพระทนต์น้อยครั้ง" ท้ายที่สุดราชทูตอิตาลีประจำราชสำนักฝรั่งเศสผู้นี้เขียนไว้ตอนท้ายประมาณพระราชกิจวัตรขององค์กษัตริย์ไว้ดั่งกับ "ความสนพระราชหฤทัยในสุขอนามัยส่วนพระองค์อันแปลกประหลาด"

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระเจ้าหลุยส์ที่_16_แห่งฝรั่งเศส http://books.google.com/books?id=Fk_RaalNQAQC&pg=P... http://books.google.com/books?id=nc7H1eQiArQC&pg=P... http://www.newyorker.com/printables/archive/021007... http://historyproject.ucdavis.edu/ic/standard/5.00... http://assignat.fr/1-assignat/ass-04a http://belleindochine.free.fr/2TraiteVersaillesEve... http://www.historyofcircumcision.net/index.php?opt... http://www.tigerandthistle.net/tipu315.htm http://booking-help.org/book_338_glava_314_Edict_o... http://www.bbc.co.uk/news/world-europe-20882305