วัยเยาว์ ของ พระเจ้าหลุยส์ที่_18_แห่งฝรั่งเศส

เคานต์แห่งพรอว็องส์กับเจ้าชายหลุยส์ ออกุสต์ ดยุกแห่งแบร์รี พระเชษฐา (ต่อมาคือ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16) วาดใน ค.ศ. 1757 โดย ฟร็องซัว-ฮูแบร์ ดรัวอีส

เจ้าชายหลุยส์ สตานิสลาส ซาเวียร์ พระอิสริยยศ "เคานต์แห่งพรอว็องส์" แต่ประสูติ ทรงประสูติเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1755 ที่พระราชวังแวร์ซาย เป็นพระโอรสในหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศสและเจ้าหญิงมารี-โฌเซฟีนแห่งซาวอย พระชายา พระองค์ทรงเป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส ผู้ทรงราชย์อยู่ขณะนั้น ในฐานะทรงเป็นพระโอรสในโดแฟ็ง พระองค์เป็นฟิลส์เดอฟร็องส์ เจ้าชายหลุยส์ สตานิสลาสทรงเข้าพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนเป็นเจ้าชายหลุยส์ สตานิสลาส ซาเวียร์ หกเดือนหลังประสูติตามโบราณราชประเพณีของราชวงศ์บูร์บง ที่ไม่ทรงมีพระนามจนเข้าพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน ด้วยพิธีนี้พระองค์ยังทรงเป็นอัศวินแห่งภาคีแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ ทรงได้พระนาม หลุยส์ เพราะเป็นพระนามปกติของเจ้าชายฝรั่งเศส พระนาม สตานิสลาส ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าสตานิสลอว์ที่ 1 แห่งโปแลนด์ พระปัยกา และพระนาม ซาเวียร์ ได้ถูกเลือกเพื่อเป็นเกียรติแก่นักบุญฟรันซิสโก คาเบียร์ ผู้ซึ่งพระราชวงศ์ทางฝ่ายพระมารดาทรงยึดเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์[6]

ในช่วงประสูติ เจ้าชายหลุยส์ สตานิสลาสทรงอยู่ลำดับที่สี่ในการสืบราชสันตติวงศ์ฝรั่งเศส ต่อจากพระบิดาและพระเชษฐาทั้งสองพระองค์คือ เจ้าชายหลุยส์ โจเซฟ ซาเวียร์ ดยุกแห่งเบอร์กันดีและเจ้าชายหลุยส์ ออกุสต์ ดยุกแห่งแบร์รี พระเชษฐาองค์โตสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1761 เจ้าชายหลุยส์ ออกุสต์กลายเป็นรัชทายาทจากการสิ้นพระชนม์ก่อนวัยอันควรของโดแฟ็ง พระบิดาในปีค.ศ. 1965 การสิ้นพระชนม์ของทั้งสองพระองค์ทำให้เจ้าชายหลุยส์ สตานิสลาสอยู่ที่สองในลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ ในขณะที่เจ้าชายหลุยส์ ออกุสต์ทรงได้พระอิสริยยศโดแฟ็ง[7]

พระบรมสาทิสลักษณ์เคานต์แห่งพรอว็องส์เมื่อทรงพระเยาว์

เจ้าชายหลุยส์ สตานิสลาสทรงได้รับความสะดวกสบายภายใต้พระอภิบาล มาดาม เดอ มาร์ซอง พระอภิบาลในพระโอรสธิดาแห่งฝรั่งเศส ซึ่งเจ้าชายหลุยส์ สตานิสลาสทรงเป็นที่โปรดในบรรดาพี่น้องของพระองค์[8] เจ้าชายหลุยส์ สตานิสลาสทรงถูกนำออกจากพระอภิบาลเมื่อทรงมีพระชนมายุ 7 พรรษา ซึ่งอยู่ในวัยที่ได้รับการศึกษาสำหรับราชนิกุลและชนชั้นขุนนางที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ อองตวน เดอ กูวเลน เดอ สเตอร์ เดอ คุสซาด ดยุกแห่งลาวอกูยง พระสหายในพระบิดาของพระองค์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองของเจ้าชาย

เจ้าชายหลุยส์ สตานิสลาสทรงเป็นเด็กฉลาด ทรงเป็นเลิศในเรื่องคลาสสิก พระองค์ทรงได้รับการศึกษาแบบเดียวกับพระเชษฐา เจ้าชายหลุยส์ ออกุสต์ แม้ที่จริงแล้วเจ้าชายหลุยส์ ออกุสต์ทรงเป็นรัชทายาทแต่เจ้าชายหลุยส์ สตานิสลาสหาได้เป็น[8] การศึกษาของเจ้าชายหลุยส์ สตานิสลาสค่อนข้างมีสภาพเกี่ยวข้องกับศาสนา พระอาจารย์หลายคนของพระองค์เป็นนักบวช ลาวอกูยงฝึกฝนเจ้าชายหลุยส์ สตานิสลาสและพี่น้องตามวิถีซึ่งเขาคิดว่าเจ้าชายควร "รู้วิธีถอนตัว ให้โปรดการงาน" และ "รู้วิธีให้เหตุผลอย่างถูกต้อง"

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1771 การศึกษาของเจ้าชายหลุยส์ สตานิสลาสจบลงเป็นทางการและทรงสามารถจัดตั้งครัวเรือนของพระองค์เองอย่างเป็นอิสระ[9] ซึ่งทำให้คนร่วมสมัยประหลาดใจเรื่องความฟุ่มเฟือย ใน ค.ศ. 1773 ทรงมีข้าราชบริพารถึง 390 คน[10] ในเดือนเดียวกับตั้งครัวเรือนของพระองค์ เจ้าชายหลุยส์ทรงได้รับพระราชทานพระอิสริยยศหลายยศจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 พระอัยกา ได้แก่ ดยุกแห่งอองชู, เคานต์แห่งเมน, เคานต์แห่งเปอร์เช, เคานต์แห่งซีโนเชส์[11] ในระหว่างช่วงพระชนม์ชีพของพระองค์ ทรงเป็นที่รู้จักในพระนาม เคานต์แห่งพรอว็องส์

ในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1773 พระองค์ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานแห่งภาคีแห่งแซงต์ลาซารัส

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ