รัชสมัย ของ พระเจ้าอูซะนาที่_2_แห่งปี้นยะ

ไม่ชัดเจนว่าสถานะของเจ้าชายอูซะนาเปลี่ยนไปหรือไม่ เมื่อเจ้าชายนะระตูกลายเป็นกษัตริย์ใน ค.ศ. 1359 แต่เจ้าชายอูซะนาก็ได้เป็นกษัตริย์ในอีก 5 ปีต่อมา ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1364 ผู้บุกรุกจากเมืองมาวตอนเหนือของ รัฐชาน ได้ขับไล่ปี้นยะและคุมตัวพระเจ้านะระตูพร้อมกับปล้นสะดม ในเดือนถัดมาราชสำนักได้เลือกเจ้าชายอูซะนาเป็นกษัตริย์ กษัตริย์องค์ใหม่คือพระเจ้าอูซะนาที่สองยกน้องสะใภ้ พระนางซอโอมมา ซึ่งเป็นพระมเหสีของ พระเจ้าจะซวาที่ 2 และ พระเจ้านรตู่ ขึ้นเป็นพระอัครมเหสีของพระองค์[4] พระองค์ได้อภิเษกกับ พระนางซอซะละ ด้วย[5]

พระเจ้าอูซะนาที่ 2 เป็นเพียงกษัตริย์แต่ในนาม พระองค์มีพระราชอํานาจเพียงเล็กน้อยแม้ในเขตเมืองหลวง การจู่โจมของ เมืองมาว รัฐชาน ทำให้พม่าตอนกลางทั้งหมดรวมถึงอาณาจักรที่อยู่ใกล้เคียงของปี้นยะ อาณาจักรซะไกง์ ถูกโจมตี ตะโดมินพญา ผู้ปกครองคนใหม่ได้เข้ามามีอำนาจที่ ซะไกง์ เช่นเดียวกับที่ ปี้นยะ เนื่องจากทั้งปี้นยะ และ ซะไกง์ เป็นกลุ่มเมืองของราชวงศ์มยีนไซง์ ซึ่งพระเจ้าอูซะนาที่ 2 และ พระเจ้าตะโดมินพญา มีความสัมพันธ์กัน โดยพระเจ้าตะโดมินพญาเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระเจ้าอูซะนาที่ 2 พระเจ้าตะโดมินพญาซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นผู้นำที่มีพระปรีชาสามารถและรวมอำนาจของพระองค์ที่ ซะไกง์ ได้อย่างรวดเร็ว ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1364 พระเจ้าตะโดมินพญาและกองทัพของพระองค์ข้าม แม่น้ำอิรวดี และยึดปี้นยะได้โดยไม่มีการต่อสู้ กษัตริย์องค์ใหม่สั่งสำเร็จโทษพระเจ้าอูซะนาที่ 2[6]

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ