ความขัดแย้งกับสกอตแลนด์ ของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่_2_แห่งอังกฤษ

อนุสาวรีย์โรเบิร์ต บรูซที่ปราสาทเสตอร์ลิง, สกอตแลนด์

ในช่วงเวลานี้โรเบิร์ต บรูซ (Robert the Bruce) แห่งสกอตแลนด์ก็ได้รับชัยชนะและยึดดินแดนที่ละเล็กทีละน้อยคืนจากอังกฤษ โรเบิร์ต บรูซยึดดินแดนที่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ได้ไปจากสกอตแลนด์ระหว่างปี ค.ศ. 1307 ถึงปี ค.ศ. 1314 กลับคืนมากกว่าที่พระองค์ยึดไป ชัยชนะของโรเบิร์ต บรูซมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่นการใช้กองกำลังย่อยดักโจมตีกองทัพอังกฤษ และยึดปราสาทต่างๆ เพื่อใช้เป็นที่ตั้งหลัก นอกจากนั้นก็ยังใช้ภูมิศาสตร์ที่คุ้นเคยเป็นอย่างดีเป็นอาวุธโดยใช้วิธีโจมตีอย่างรวดเร็วแล้วถอยหนีขึ้นเนินไปก่อนที่กองกำลังหนุนจะมาสมทบ โรเบิร์ต บรูซยึดปราสาททีละแห่งและรวมตระกูลต่างๆ ในสกอตแลนด์เข้าด้วยกันเพื่อต่อสู้กับอังกฤษผู้เป็นศัตรูร่วมกัน เชื่อกันว่าโรเบิร์ตเคยกล่าวว่ามีความกลัวพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ที่สวรรคตไปแล้วมากกว่าที่จะกลัวพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 ที่ยังมีชีวิตอยู่ ภายในปี ค.ศ. 1314 อังกฤษก็มีปราสาทเหลือเพียงสองแห่งในบริเวณสกอตแลนด์ -- ปราสาทเสตอร์ลิง และ ปราสาทเบอร์วิค

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1314 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 และกองทัพที่มีกำลังทหารราบทั้งสิ้น 20,000 คนและทหารม้าอีกราว 2000 ถึง 3000 คนก็ยกขึ้นไปปราบการแข็งข้อที่สกอตแลนด์ กองทัพของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมาพบกับกองทัพของโรเบิร์ต บรูซที่ใช้หอกยาว 14 ฟุตเป็นอาวุธ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงทราบการที่จะรักษาสกอตแลนด์ไว้ในมืออังกฤษได้ อังกฤษต้องรักษาปราสาทเสตอร์ลิง แต่ปราสาทก็ถูกล้อมอยู่เสมอ เซอร์ฟิลลิป เดอ โมว์เบรย์ แม่ทัพฝ่ายอังกฤษผู้มีหน้าที่รักษาปราสาทเสตอร์ลิงแจ้งพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดว่าจะยอมแพ้แก่สกอตนอกจากว่าพระองค์จะเสด็จมาช่วยป้องกันปราสาทเสตอร์ลิงภายในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1314 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดไม่ทรงสามารถที่จะยอมเสียปราสาทเสตอร์ลิงให้แก่สกอตแลนด์ได้ จึงทรงรวบรวมกองทัพใหญ่ขึ้นไปสกอตแลนด์เพื่อจะขับไล่ผู้ล้อมปราสาทเสตอร์ลิงและดึงให้ทหารสกอตออกไปต่อสู้กันกลางทุ่ง

แต่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดทรงทำผิดตรงที่ทรงคิดว่าจำนวนทหารในกองทัพของพระองค์ที่มีจำนวนเหนือกว่ากองทัพของโรเบิร์ต บรูซเป็นหลายเท่าเพียงอย่างเดียวจะมีความแข็งแกร่งพอที่กำจัดโรเบิร์ต บรูซได้อย่างง่ายดายแต่ก็เป็นการคาดที่ผิด โรเบิร์ต บรูซได้เปรียบกว่าตรงที่ได้รับการเตือนล่วงหน้าถึงการเดินทัพมาสกอตแลนด์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด และทราบแม้กระทั่งว่าจะพระองค์จะมาถึงวันใด โรเบิร์ตมีเวลาพอที่จะเลือกบริเวณที่จะต่อสู้ที่จะได้เปรียบกว่าทั้งในให้ความอำนวยในกลยุทธ์และการยุทธศาสตร์ เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเดินทัพขึ้นมาถึงเส้นทางสายหลักเข้าสู่สเตอร์ลิง โรเบิร์ตวางกองกำลังขนาบสองข้างเส้นทางทางด้านเหนือ อีกกองหนึ่งในป่า และอีกกองหนึ่งตรงโค้งแม่น้ำซึ่งเป็นจุดที่กองทัพของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมองเห็นได้ยาก นอกจากนั้นโรเบิร์ตก็ยังสั่งให้ขุดหลุมไว้ทั่วไปแล้วกลบด้วยใบไม้กิ่งไม้เพื่อให้เป็นอุปสรรคต่อกองทหารม้า

ฝ่ายพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมิได้ทรงคิดการณ์ล่วงหน้าและเตรียมตัวการต่อสู้เช่นเดียวกับโรเบิร์ต บรูซ แม้แต่การเรียกทหารก็มิได้ทรงออกหมายเกณฑ์จนกระทั่งวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1314 ทหารของพระองค์จึงไม่มีเวลาฝึกทำและขาดวินัย ความพ่ายแพ้ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ศึกแบนน็อคเบิร์น (Battle of Bannockburn) ถือกันโดยนักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยว่าเป็นการพ่ายแพ้ศึกที่ยับเยินที่สุดของอังกฤษตั้งแต่ศึกเฮสติ้งส์ (Battle of Hastings) ในปี ค.ศ. 1066 เป็นต้นมา เมื่อฝ่ายอังกฤษในขณะนั้นนำโดยพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสันพ่ายแพ้ต่อฝ่ายนอร์มันที่นำโดยดยุกแห่งนอร์มังดี บางสถติประมาณกันว่าจำนวนทหาร 16,000 คน 11,000 ถูกสังหารในสงครามและเหลือเพียงไม่เท่าใดที่รอดชีวิตมาถึงพรมแดนอังกฤษ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดเองก็ทรงถูกพาตัวหนีจากสนามรบกลับอังกฤษ ชัยชนะของสงครามอิสรภาพของสกอตแลนด์ครั้งนี้เป็นไปอย่างเด็ดขาดแต่อังกฤษไม่ยอมรับจนกระทั่งสิบปีต่อมา

ต่อมาอังกฤษก็นำกลยุทธ์ของโรเบิร์ต บรูซไปใช้ในสงครามต่อต้านฝรั่งเศสในหลายร้อยปีต่อมาพระเจ้าเฮนรีที่ 5 แห่งอังกฤษทรงใช้วิธีเช่นเดียวกันนี้ในการต่อสู้กับทหารม้าฝรั่งเศสที่ยุทธการอแกงคูร์ต (Battle of Agincourt) ในปี ค.ศ. 1415 ซึ่งทรงได้รับชัยชนะต่อฝรั่งเศส[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ