สงบศึกกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ของ พระเจ้าโลแทร์แห่งฝรั่งเศส


ความร่วมมือกันต่อกรกับจักรพรรดิออทโทที่ 2 ของชาวแฟรงก์ตะวันตกทำให้ราชวงศ์รอแบเตียงขึ้นมามีอำนาจพอๆ กับอูก กาแปที่คนในยุคนั้นให้ความเห็นว่ารับใช้พระเจ้าโลแธร์ด้วยความภักดี[18] การต่อสู้กับจักรพรรดิเพิ่มความแข็งแกร่งทางอำนาจให้อูก กาแป อำนาจของเขาชัดเจนขึ้นเมื่อได้ยึดมงเทรยล์ซูร์แมร์มาจากอาร์นูล์ฟที่ 2 เคานต์แห่งฟลานเดอส์ในปี ค.ศ. 980


พระเจ้าโลแธร์ต้องการหยุดยั้งความทะเยอทะยานของชาร์ลส์ พระอนุชาที่ถูกขับไล่ออกจากประเทศ และตัดสินใจจะเจริญรอยตามพระบิดาในการรักษาการสืบทอดตำแหน่งไว้ให้พระโอรสของตน ในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 979 เจ้าชายหลุยส์ได้รับการสวมมงกุฎเป็นผู้ปกครองร่วมหรือยุวกษัตริย์[19] แต่ไม่ได้มีอำนาจอย่างแท้จริงจนกระทั่งพระเจ้าโลแธร์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 986[20][21] นับเป็นครั้งที่สองที่มีการปฏิบัติตามธรรมเนียมแบบใหม่นี้ในราชอาณาจักรของชาวแฟรงก์ตะวันตก ซึ่งต่อมาราชวงศ์กาแปเตียงได้รับเอาธรรมเนียมนี้มาใช้


หลังเหตุการณ์ดังกล่าว พระเจ้าโลแธร์เริ่มเข้าหาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ บิชอปแห่งแร็งและบิชอปแห่งล็องกับตระกูลอาร์เด็นสนับสนุนการกระชับความสัมพันธ์ครั้งนี้ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 980 พระเจ้าโลแธร์กับจักรพรรดิออทโทที่ 2 เจอกันที่มาร์กุตซูร์แชร์ในพรมแดนของชาวแฟรงก์ และบรรลุข้อตกลงในการทำสนธิสัญญาสันติภาพ[10]

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระเจ้าอโศกมหาราช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ