ศาสนาอับราฮัม ของ พระโคตมพุทธเจ้าในศาสนาโลก

ศาสนาคริสต์

ดูบทความหลักที่: ศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์
โยซาฟัตพบกับคนป่วยเป็นโรคเรื้อน และคนง่อย

ศาสนาคริสต์ มีตำนานของชาวกรีกเรื่องบาร์ลามและโยซาฟัต รจนาโดยยอห์นแห่งดามัสกัสเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 แต่เนื้อหาผิดเพี้ยนเมื่อยูทิมีอุสชาวแอทอส นักพรตชาวจอร์เจีย เขียนเพิ่มเติมใหม่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 เนื้อหาเป็นเรื่องราวของโยซาฟัต ผู้เป็นเจ้านายก่อนออกบวช ซึ่งสอดคล้องกับพุทธประวัติในช่วงต้น ก่อนออกผนวช[4] โดยชื่อ "โยซาฟัต" มาจากคำสันสกฤตว่า "โพธิสตฺตฺว" เป็นพระนามหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า[5] มีการเฉลิมฉลองนักบุญบาร์ลามและโยซาฟัตตามปฏิทินกรีกออร์ทอดอกซ์ในวันที่ 26 สิงหาคมของทุกปี ต่อมาโลกตะวันตกกำหนดให้มีการเฉลิมฉลองนักบุญบาร์ลามและโยซาฟัตในวันที่ 27 พฤศจิกายนของทุกปี ลงในมรณสักขีวิทยาโรมัน[6]

ศาสนาบาไฮ

ศาสนาบาไฮเชื่อว่า พระพุทธเจ้าเป็นหนึ่งในการสำแดงของพระเป็นเจ้า และเป็นผู้เผยพระวจนะคนสำคัญของศาสนาบาไฮ[7] โดยพระบะฮาอุลลอฮ์ ศาสดาของศาสนาบาไฮเชื่อว่า ตนเองเป็นพระพุทธเจ้าลำดับที่ 5 ต่อจากผู้เผยพระวจนะพระองค์อื่น ๆ[8]

ศาสนาอิสลาม

ดูบทความหลักที่: ษูลกิฟล์

ษูลกิฟล์ ศาสดาคนหนึ่งของศาสนาอิสลาม ถูกระบุว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับพระโคตมพุทธเจ้า[9][10][11][12] ความหมายของชื่อศาสดาคนนี้ยังเป็นที่ถกเถียง บ้างว่า แปลว่า "ผู้มาจากกิฟล์" โดย "กิลฟ์" คือการออกเสียงชื่อเมืองกบิลพัสดุ์ในภาษาอาหรับ และเมืองดังกล่าวเป็นเมืองที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้ชีวิตอยู่ราว 30 ปี[13] บ้างก็อธิบายว่ามาจากชื่อเมืองกาปีล (Kapeel) อันเป็นเมืองหลวงของรัฐขนาดน้อยแถบชายแดนประเทศอินเดียและเนปาลในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับมาตุภูมิเดิมของพระพุทธเจ้าคือกบิลพัสดุ์ และในภาษาอาหรับไม่มีพยัญชนะเสียง 'p' ด้วยเหตุนี้ "กาปีล" จึงถูกทับศัพท์เป็น "กิลฟ์"[10]

สอดคล้องกับโองการแรกของบทที่ 95 ซูเราะฮ์อัต-ตีน ในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า

ขอสาบานด้วยต้นมะเดื่อและต้นมะกอก และด้วยภูเขาฎูรซีนาย และด้วยเมืองนี้ [มักกะฮ์] ที่ปลอดภัย

— อัลกุรอาน, 95:1-3

มีเรื่องราวการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าที่ใต้ต้นมะเดื่อ หากเรียบเรียงจากเหตุการเผยพระวจนะแล้ว จะพบว่า โมเสส หรือนบีมูซา เผยพระวจนะที่ภูเขาซีนาย พระเยซู หรือนบีอีซา เผยพระวจนะที่ใต้ต้นมะกอก นบีมุฮัมมัด เผยพระวจนะที่มักกะฮ์ ส่วนต้นมะเดื่อที่เหลือนั้น น่าจะหมายถึงพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ และเผยพระวจนะ[11]

อะฮ์มาดียะฮ์

ในหนังสือ Revelation, Rational, Knowledge & Truth ("การเปิดเผย เหตุผล ความรู้ และความจริง") ของมีร์ซา ตาฮีร์ อะฮ์มัด (Mirza Tahir Ahmad) เคาะลีฟะฮ์ลำดับที่สี่ของอะฮ์มาดียะฮ์ ระบุไว้ว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้เผยพระวจนะของพระเจ้าอย่างแท้จริง โดยอ้างอิงจากจารึกบนสถูปของพระเจ้าอโศก ซึ่งกล่าวถึง "อีศาน" ซึ่งเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งไว้ว่า "ทรงตรัสกับเทวานัมปิยติสสะว่า "ด้วยเหตุนี้ในขณะนี้ ข้าพเจ้าได้แสดงพระธรรมเทศนา ข้าพเจ้าได้กำหนดศาสนพิธีไว้แล้ว มนุษย์ทั้งหลายที่ได้สดับความ ให้พึงประพฤติตนให้ถูกต้องเพื่อถวายพระเกียรติแก่พระเป็นเจ้า (อีศาน)""[14]

และในหนังสือ An Elementary Study of Islam ("การศึกษาศาสนาอิสลามเบื้องต้น") ของมีร์ซา ตาฮีร์ อะฮ์มัด ระบุไว้ว่า ษูลกิฟล์ที่ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์อัลกุรอาน อาจะเป็นคนเดียวกับพระพุทธเจ้า[15]

ใกล้เคียง

พระโคตมพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้าในศาสนาโลก พระโคตมพุทธเจ้าในศาสนาฮินดู พระโค พระแก้ว พระคเณศ พะโค พระโพธิสัตว์ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) พระคัมภีร์คนยาก พระครูสมุทรธรรมสุนทร (สุด สิริธโร)

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระโคตมพุทธเจ้าในศาสนาโลก http://bahai-library.com/hornby_lights_guidance_2&... http://bahai-library.com/writings/bahaullah/aqdas/... http://www.info-sikh.com/VVPage1.html http://srimadbhagavatam.com/1/3/24/en1 http://srimadbhagavatam.com/1/3/en1 http://www.alislam.org/books/study-of-islam/prophe... http://www.alislam.org/library/books/revelation/pa... //www.jstor.org/stable/20839172 //www.worldcat.org/issn/0578-8072 https://buddhism-guide.com/buddhism/siddhartha-gau...