ภาษาที่ใช้ ของ พระไตรปิฎกภาษาจีน

ภาษาที่ใช้ในพระไตรปิฎกพากย์จีน ส่วนใหญ่ใช้ภาษาจีนโบราณ (古文) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันระหว่างปลายยุครณรัฐ หรือยุคชุนชิว (春秋时代) ระหว่างศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล จนถึงสมัยราวงศ์ฮั่น (汉朝) หรือในช่วงศตวรรษที่ 3 ภาษาจีนโบราณใช้ในวงวรรณคดีมาจนถึงยุคก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ภาษาโบราณนี้มีความแตกต่างจากภษาจีนยุคปัจจุบันค่อนข้างมาก ทั้งในด้านสำเนียงการออกเสียง และไวยากรณ์ จำเป็นต้องอาศัยการศึกษาเฉพาะด้าน และคู่มือเอกเทศ จึงจะสามารถเข้าใจได้

ทั้งนี้ ยังมีข้อยกเว้น คือพระไตรปิฎกฉบับซีเซี่ย หรือ Mi Tripitaka (蕃大藏經) ที่ได้รับการศึกษาและเผยแพร่โดยนาย เอริก กรินสเตด (Eric Grinstead) ผู้ที่ตีพิมพ์ฉบับนี้ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เมื่อปี 1971 ในชื่อ พระไตรปิฏกฉบับทังกุต (The Tangut Tripitaka) ทั้งนี้ ทังกุต (Tangut) เป็นชนชาติเชื้อสายทิเบต-พม่า อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ระหว่างปีค.ศ. 1038 - 1227 ชนชาตินี้ได้สถาปนาราชวงศ์ซีเซี่ย (西夏) หรืออาณาจักรไป๋เกาต้าเซี่ยกั๋ว (白高大夏國) คาบเกี่ยวกับราชวงศ์ซ่ง และราชวงศ์เหลียว ทั้ง 3 อาณาจักรนี้ แม้สถาปนาโดยคนต่างเชื้อชาติกัน แต่กับเนื่องเป็นหนึ่งในราชวงศ์ทางการตามประวัติศาสตร์จีนโบราณ อีกทั้ง ทั้ง 3 ราชวงศ์ยังอุปถัมภ์ศาสนาพุทธอย่างยิ่งยวดไม่แพ้กัน ผิดกันเพียงแต่ว่า ชาวซ่งและชาวเหลียว ใช้ภาษาและอักษรจีนในการจารึกพระไตรปิฎก ขณะที่ชาวซีเซี่ยใช้ภาษาของตนเองในการจารึก[4]

นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบพระไตรปิฎกที่ใช้ภาษาท้องถิ่นในแว่นแคว้นทางตะวันตกของแผ่นดินจีน หรือแผ่นดินซียู้ (西域) ปัจจุบันอยู่ในแถบเขตปกครองตนเองพิเศษซินเจียง แต่เดิมนั้นแว่นแคว้นเหล่านี้มีภาษาและวัฒนธรรมของตนเอง ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 8 นั้น พุทธศาสนาเฟื่องฟูมาก จึงมักใช้ภาษาตนเองในการบันทึกพระธรรม ในเวลาต่อมาแว่นแคว้นตะวันตกรับศาสนาอิสลาม พระคัมภีร์ต่างๆ จึงสาบสูญไปมาก แต่ในช่วงศตวรรษที่ 20 มีการค้นพบพระไตรปิฏกภาษาของชาวซียู้ ที่ถ้ำตุนหวง เรียกขานกันอย่างไม่เป็นทางการว่า พระไตรปิฎกตุนหวง[5]

ส่วนพระไตรปิฎกพากย์จีน ฉบับไทโช (大正新脩大藏經) ที่รวบรวมขึ้นที่ญี่ปุ่น ยังมีการรวมเอาข้อเขียนในภาษาญี่ปุ่นโบราณเกี่ยวกับพุทธศาสนาเอาไว้ด้วย

ใกล้เคียง

พระไตรปิฎกภาษาจีน พระไตรปิฎกภาษาบาลี พระไตรปิฎก พระไตรปิฎกภาษาทิเบต พระไตรปิฎกฉบับซีเซี่ย พระไตรโลกยวิชัย พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย พระไกรสรราช (สิงห์ ไตรยวงค์) พระตำหนักในพระราชวังดุสิต พระไพศาล วิสาโล

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระไตรปิฎกภาษาจีน http://hi.baidu.com/zgfjbd/archive/tag/%E6%88%BF%E... http://fo.ifeng.com/zhuanti/shijiefojiaoluntan2/li... http://www.jinmajia.com/lyzt/201109/dzj/index_en.s... http://www.chinaknowledge.de/History/Song/song-rel... http://mbingenheimer.net/publications/agamaLit.pdf http://www.suttaworld.org/Collection_of_Buddhist/C... http://whc.unesco.org/archive/advisory_body_evalua... http://www.wdl.org/en/item/3018/ http://mahamakuta.inet.co.th/tipitaka/tipitaka3/ti... http://taiwanpedia.culture.tw/en/content?ID=1765