ข้อสังเกต ของ พันธะแฮโลเจน

ข้อสังเกตที่สำคัญเมื่อมีพันธะแฮโลเจนเกิดขึ้นเสนอขึ้นโดยนักผลิกศาสตร์ โคตะมะ เทสิราช (Gautam R. Desiraju) และคณะ ดังนี้

ในสารเชิงซ้อนที่มีพันธะแฮโลเจน R–X···Y–Z:

  • ระยะทางระหว่างอะตอมแฮโลเจนผู้ให้ (donor halogen atom) และอะตอมผู้รับ (acceptor atom) Y มีแนวโน้มที่จะมีค่าน้อยกว่าผลรวมของรัสมีแวนเดอร์วาลส์ของอะตอม X และอะตอม Y
  • ความแข็งแรงของพันธะแฮโลเจนจะลดลงเมื่อค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตีของอะตอม X เพิ่มขึ้น และเมื่อความสามารถในการดึงอิเล็กตรอนของอะตอมหรือกลุ่มอะตอม R ลดลง
  • แรงโดยเบื้องต้นที่มีส่วนในเกิดขึ้นในการของพันธะแฮโลเจน คือ แรงไฟฟ้าสถิต (electrostatic force) (ที่ประกอบด้วยการโพลาไรเซชัน) และแรงแพร่กระจาย (dispersion) และแรงอื่นๆ โดยอาจแตกต่างกันแล้วแต่กรณี
  • การวิเคราะห์ทอพอโลจีของความหนาแน่นของอิเล็กตรอนมักจะแสดงวิถีของการเชื่อมต่อพันธะที่เชื่อมระหว่างอะตอม X และอะตอม Y และจุดวิกฤติของพันธะ (bond critical point)ระหว่างอะตอม X และอะตอม Y
  • มีรูปแบบการสั่น (vibrational modes) แบบใหม่จากการเกิดพันธะ X···Y เกิดขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงการดูดกลืนรังสีอิฟราเรด (infrared absorption) และการดูดกลืนรามาน (Rraman absorption)ของ R-X และ Y-Z เกิดขึ้น
  • โดยปกติแล้วพันธะแฮโลเจน X···Y จะทำให้เกิดการเลื่อนไปทางน้ำเงิน (blue shift) อย่างเป็นเอกลักษณ์ในสเปกตรัมยูวี-วิสิเบิลของอะตอมผู้ให้พันธะแฮโลเจน
  • อะตอมแฮโลเจน X อาจมีส่วนร่วมในพันธะแฮโลเจนมากกว่าหนึ่งพันธะ
  • พันธะแฮโลเจนอาจมีส่วนร่วมในการเกิดปฏิกิริยาการถ่ายโอนแฮโลเจน (halogen transfer reactions)หรือในปรากฏการณ์ที่ว่องไวต่อปฏิกิริยาอื่นๆ