บันทึกและสถิติทางอุตุนิยมวิทยา ของ พายุไต้ฝุ่นทิป_(พ.ศ._2522)

ภาพของการเทียบขนาดพายุไต้ฝุ่นทิปกับไซโคลนเทรซี (หนึ่งในพายุที่เล็กที่สุด) ทับลงบนแผนที่สหรัฐอเมริกา

พายุไต้ฝุ่นทิปเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,220 กม. (1,380 ไมล์) เป็นเกือบสองเท่าของสถิติก่อนหน้านี้ที่ 1,130 กิโลเมตร (700 ไมล์) เมื่อเทียบพายุไต้ฝุ่นมาร์จในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2494[8][9][10] ขณะที่พายุไต้ฝุ่นทิปมีขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีขนาดเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา[11] อุณหภูมิสูงสุดภายในตาพายุของไต้ฝุ่นทิปคือ 30 °C (86 °F) ซึ่งนับว่าสูงเป็นพิเศษ[1] ด้วยความเร็วลมเฉลี่ย 10 นาทีที่ 160 ไมล์ต่อชั่วโมง (260 กม./ชม.) พายุไต้ฝุ่นทิปเป็นพายุไซโคลนที่แข็งแกร่งที่สุดในบรรดาพายุหมุนเขตร้อน โดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น

พายุไต้ฝุ่นทิปเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ด้วยแรงกดอากาศเพียง 870 mbar (25.69 inHg) ต่ำกว่าสถิติของพายุก่อนหน้านี้โดยซูเปอร์ไต้ฝุ่นจูนในปี 2518[1][12][13] ประมาณ 6 mbar (0.18 inHg) สถิติของไต้ฝุ่นทิปทางเทคนิคแล้วยังคงเป็นอันดับหนึ่งแม้ว่าจะสิ้นสุดการลาดตระเวนของเที่ยวบินลาดตระเวนตามปกติในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกในเดือนสิงหาคมปี 2530 นักวิจัยสมัยใหม่ได้ตั้งคำถามว่าไต้ฝุ่นทิปยังคงสถิติความแข็งแกร่งอยู่หรือไม่ หลังจากการศึกษาอย่างละเอียด นักวิจัยสามคนระบุว่าพายุไต้ฝุ่นสองลูกคือ ไต้ฝุ่นแองเจล่าในปี 2538 และ ไต้ฝุ่นเกย์ในปี 2535 มีจำนวนค่าทางดีโวแร็คที่สูงกว่าไต้ฝุ่นทิปและสรุปว่าหนึ่งหรือทั้งสองอาจรุนแรงกว่าไต้ฝุ่นทิป[14] พายุลูกใหม่ๆ อาจมีความรุนแรงมากกว่าไต้ฝุ่นทิปที่จุดแรงสุด เช่นการประมาณค่าความเข้มข้นที่ได้จากดาวเทียมสำหรับพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนในปี 2556 ชี้ให้เห็นว่ามีแรงกดอากาศเพียง 858 mbar (25.34 inHg)[15] แต่เนื่องจากการขาดแคลนการสังเกตโดยตรงของนักวิจัยและการสังเกตของนักล่าพายุดังนั้นพายุเหล่านี้จึงไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด

แม้ความรุนแรงและความเสียหายของพายุไต้ฝุ่นทิป แต่ชื่อ ทิป ยังไม่ถูกปลดออกจากรายชื่อและถูกนำกลับมาใช้ใหม่ในปี 2526, 2529 และ 2532

อันดับพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกที่รุนแรงที่สุด
ลำดับที่ไต้ฝุ่นปีความกดอากาศ

(hPa)

1ทิป1979870
2จูน1975875
นอรา1973
4ฟอร์เรสต์1983876
5ไอดา1958877
6ริต้า1978878
7คิท1966880
วาเนสซา1984
9แนนซี1961882
10เออร์มา1971885
11นีน่า1953885
โจน1959
เมกี2010
ที่มา: การวิเคราะห์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น [16]

ใกล้เคียง

พายุไต้ฝุ่นเกย์ (พ.ศ. 2532) พายุไต้ฝุ่นมังคุด (พ.ศ. 2561) พายุไต้ฝุ่นทุเรียน พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2557) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2547) พายุไต้ฝุ่นวิภา (พ.ศ. 2550) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2545) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2559) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2553) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2551)

แหล่งที่มา

WikiPedia: พายุไต้ฝุ่นทิป_(พ.ศ._2522) http://ams.confex.com/ams/pdfpapers/75465.pdf http://www.srh.noaa.gov/jetstream/tropics/tc_struc... http://www.ssd.noaa.gov/PS/TROP/DATA/2013/tdata/wp... http://www.vos.noaa.gov/MWL/aug1998.pdf http://www.jma.go.jp/jma/jma-eng/jma-center/rsmc-h... http://www.hurricanescience.org/history/storms/197... https://books.google.com/books?id=T1NZpiI_3XgC&dq https://journals.ametsoc.org/doi/pdf/10.1175/1520-... https://journals.ametsoc.org/mwr/article/108/11/19... https://web.archive.org/web/20070205200106/http://...