ผลกระทบ ของ พายุไต้ฝุ่นทิป_(พ.ศ._2522)

พายุไต้ฝุ่นก่อให้เกิดฝนตกหนักตลอดเวลา ในขณะที่อยู่ใกล้กวมเกิดฝนตกหนักวัดได้ 23.1 เซนติเมตร (9.09 นิ้ว) ที่ฐานทัพอากาศแอนเดอร์เซน[1] บริเวณด้านนอกของเมฆฝนก่อให้เกิดฝนตกปานกลางในบริเวณพื้นที่ภูเขาของหมู่เกาะฟิลิปปินส์, เกาะลูซอนและวิสายาส์[3]

ปริมาณน้ำฝนจากพายุไต้ฝุ่นทิปได้ทำลายกำแพงกั้นน้ำท่วมที่ค่ายฟูจิซึ่งเป็นสถานที่สำหรับฝึกอบรมนาวิกโยธินของสหรัฐฯ ใกล้เมืองโยะโกะซุกะ จังหวัดคานางาวะ[4] นาวิกโยธินในค่าย ได้หลบฝนในกระท่อมที่ตั้งอยู่ที่ฐานของเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งของถังเชื้อเพลิง นำไปสู่การที่เชื้อเพลิงบางส่วนไหลออกจากโรงเก็บของสองแห่ง เชื้อเพลิงไหลลงมาจากเนินเขาและถูกจุดโดยฮีตเตอร์ที่ใช้อยู่ในกระท่อมแห่งหนึ่ง[5] เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตเป็นนาวิกโยธิน 13 ราย บาดเจ็บ 68 ราย[6] และก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถานที่ปฏิบัติงานปานกลาง ค่ายทหารถูกทำลาย พร้อมกับกระท่อมอีกสิบห้าแห่งและโครงสร้างอื่นๆ อีกหลายแห่ง ค่ายทหารถูกสร้างขึ้นมาใหม่[4] โดยมีการสร้างอนุสรณ์สำหรับผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้

ในระหว่างการหันทิศของพายุไต้ฝุ่นทิป ห่างไปประมาณ 65 กม. (40 ไมล์) ทางตะวันออกของเกาะโอกินาวะ ความเร็วลมขณะนั้นมากถึง 72 กม./ชม. (44 ไมล์ต่อชั่วโมง) โดยมีอัตราเร็วลมกระโชกแรงถึง 112 กม./ชม. (69 ไมล์ต่อชั่วโมง) ความเร็วลมในญี่ปุ่นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เส้นทางของพายุไต้ฝุ่นผ่านภูมิภาคต่างๆ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการเกษตรและการประมงของประเทศกว่าหลายล้านดอลลาร์ เรือ 8 ลำถูกเกยตื้นหรือจมโดยพายุทิป ทำให้ชาวประมง 44 คนเสียชีวิตหรือหายสาบสูญ เรือสินค้าของจีนถูกหักครึ่งอันเป็นผลมาจากพายุไต้ฝุ่นแต่ลูกเรือ 46 คนได้รับการช่วยเหลือ[3] ปริมาณน้ำฝนนำไปสู่ดินโคลนถล่มกว่า 600 แห่งทั่วภูเขาของญี่ปุ่น และเกิดน้ำท่วม ท่วมกว่า 22,000 หลังคาเรือน มีผู้เสียชีวิต 42 รายทั่วประเทศ มีผู้สูญหาย 71 ราย บาดเจ็บ 283 ราย[3] เขื่อนกั้นแม่น้ำพังไป 70 แห่งทำลายสะพาน 27 แห่ง เขื่อนกั้นน้ำถูกทำลายไปประมาณ 105 แห่ง หลังเกิดพายุ ประชาชนอย่างน้อย 11,000 คนไม่มีที่อยู่อาศัย พายุไต้ฝุ่นทิปทำลายทุ่งแอปเปิ้ล, ข้าว, ลูกพีชและพืชอื่นๆ เรือห้าลำจมลงในทะเลนอกชายฝั่ง และอาคารสูง 50 ชั้นซึ่งตั้งอยู่ในนครโตเกียวเกิดการสั่นไหว การขนส่งในประเทศหยุดชะงัก ขบวนรถไฟ 200 เที่ยวและเที่ยวบินภายในประเทศ 160 เที่ยวถูกยกเลิก ไต้ฝุ่นทิปถูกนับว่าเป็นพายุที่แรงที่สุดที่เข้าปะทะญี่ปุ่นในรอบ 13 ปี[7]

ใกล้เคียง

พายุไต้ฝุ่นเกย์ (พ.ศ. 2532) พายุไต้ฝุ่นมังคุด (พ.ศ. 2561) พายุไต้ฝุ่นทุเรียน พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2557) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2547) พายุไต้ฝุ่นวิภา (พ.ศ. 2550) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2545) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2559) พายุไต้ฝุ่นชบา (พ.ศ. 2553) พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2551)

แหล่งที่มา

WikiPedia: พายุไต้ฝุ่นทิป_(พ.ศ._2522) http://ams.confex.com/ams/pdfpapers/75465.pdf http://www.srh.noaa.gov/jetstream/tropics/tc_struc... http://www.ssd.noaa.gov/PS/TROP/DATA/2013/tdata/wp... http://www.vos.noaa.gov/MWL/aug1998.pdf http://www.jma.go.jp/jma/jma-eng/jma-center/rsmc-h... http://www.hurricanescience.org/history/storms/197... https://books.google.com/books?id=T1NZpiI_3XgC&dq https://journals.ametsoc.org/doi/pdf/10.1175/1520-... https://journals.ametsoc.org/mwr/article/108/11/19... https://web.archive.org/web/20070205200106/http://...