การสังเคราะห์ในห้องทดลอง ของ พิวรีน

นอกจากร่างกายจะสังเคราะห์พิวรีนผ่านกระบวนการเมแทบอลิซึมของพิวรีนแล้ว ก็ยังสังเคราะห์พิวรีนในห้องทดลองได้ด้วย

พิวรีน (1) สามารถได้พอสมควรเมื่อเผา formamide ในภาชนะเปิดที่ 170 °C เป็นเวลา 28 ชม.[15]

ปฏิกิริยาที่น่าทึ่งนี้และปฏิกิริยาอื่น ๆ คล้ายกัน จะเกิดขึ้นในบริบทของกำเนิดสิ่งมีชีวิต[16]

งานศึกษาต่าง ๆ ได้แสดงว่า ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (HCN) 4 โมเลกุล จะสามารถรวมเป็นโมเลกุลมีสี่ส่วน (tetramer) คือ diaminomaleodinitrile (12) ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นพิวรีนแบบที่เกิดตามธรรมชาติเกือบทั้งหมด[17][18][19][20]ยกตัวอย่างเช่น โมเลกุล HCN 5 ตัว จะควบแน่นภายในปฏิกิริยาคายความร้อนกลายเป็น adenine โดยเฉพาะเมื่อมีแอมโมเนีย

ส่วนการสังเคราะห์พิวรีนของทรอบ (ค.ศ. 1900) เป็นปฏิกิริยาคลาสสิก (ตั้งชื่อตามนักเคมีชาวเยอรมันวิลเฮล์ม ทรอบ) ระหว่างไพริมิดีนที่ทดแทนกลุ่มอะมีนกับกรดฟอร์มิก[21]

แหล่งที่มา

WikiPedia: พิวรีน http://www.chemspider.com/1015 http://www.dietaryfiberfood.com/purine-food.php http://www.ebooksread.com/authors-eng/hugh-mcguiga... http://www.healthcastle.com/gout.shtml http://adsabs.harvard.edu/abs/1961Natur.190..442O http://adsabs.harvard.edu/abs/1969Sci...166..765F http://adsabs.harvard.edu/abs/2006OLEB...36..523S http://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/summary/summary.cg... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/13731262 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17136429