เมแทบอลิซึม ของ พิวรีน

สิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากมีวิถีเมแทบอลิซึมเพื่อสังเคราะห์และสลายพิวรีนพิวรีนจะสังเคราะห์ทางชีวภาพโดยเป็น nucleoside (คือ เบสที่เชื่อมกับ ribose)การสะสมนิวคลีโอไทด์ที่แปลงไปของพิวรีนจะมีผลเสียต่อกระบวนการในเซลล์ต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอเพื่อให้รอดชีวิตได้ สิ่งมีชีวิตก็จะมีเอนไซม์กลุ่ม (deoxy) purine phosphohydrolases เป็นจำนวนหนึ่งเพื่อใช้แยกสลายสารอนุพันธ์ของพิวรีนเหล่านี้ด้วยน้ำ เป็นการกำจัดพวกมันจากกอง nucleoside triphosphate (NTP) และ deoxynucleoside triphosphate (dNTP) ที่ใช้งานได้การกำจัดกรดอะมิโนหนึ่ง (deamination) จากเบสพิวรีน อาจมีผลเป็นการสะสมนิวคลีโอไทด์ที่แปลงไปในรูปแบบของ inosine triphosphate (ITP), deoxyinosine triphosphate (dITP), xanthosine triphosphate (XTP) และ deoxyxanthosine triphosphate (dXTP)[12]

ความบกพร่องของเอนไซม์ที่ควบคุมการผลิตและการสลายพิวรีนอาจเปลี่ยนลำดับดีเอ็นเอของเซลล์อย่างรุนแรง ซึ่งเป็นตัวอธิบายว่า ทำไมผู้ที่มีเอนไซม์ต่างจากคนอื่น จึงเสี่ยงเป็นมะเร็งบางชนิดมากกว่า

การบริโภคเนื้อสัตว์และอาหารทะเลมากสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคเกาต์ที่สูงขึ้น เทียบกับการบริโภคผลิตภัณฑ์นมมากจะสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงการบริโภคพอประมาณซึ่งผักหรือโปรตีนที่สมบูรณ์ด้วยพิวรีน ไม่สัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคเกาต์ที่สูงขึ้น[13][14]

แหล่งที่มา

WikiPedia: พิวรีน http://www.chemspider.com/1015 http://www.dietaryfiberfood.com/purine-food.php http://www.ebooksread.com/authors-eng/hugh-mcguiga... http://www.healthcastle.com/gout.shtml http://adsabs.harvard.edu/abs/1961Natur.190..442O http://adsabs.harvard.edu/abs/1969Sci...166..765F http://adsabs.harvard.edu/abs/2006OLEB...36..523S http://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/summary/summary.cg... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/13731262 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17136429