ยูดายและไซออนนิสม์ ของ ฟรันทซ์_คัฟคา

คัฟคามิได้เข้าเกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการกับการดำเนินชีวิตตามหลักศาสนาของชาวยิว แต่มีความสนใจอย่างจริงจังกับวัฒนธรรมและปรัชญายิว และเป็นผู้มีความรู้อย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับวรรณกรรมยิดดิช และรักโรงละครยิดดิช[11] คัฟคามีความสนใจเป็นพิเศษกับชาวยิวจากยุโรปตะวันออกที่เห็นว่าเป็นกลุ่มชนที่มีหลักความเชื่อทางศาสนาอันเหนียวแน่นที่ชาวยิวในยุโรปตะวันตกขาด บันทึกประจำวันของคัฟคาเต็มไปด้วยข้ออ้างอิงไปถึงนักเขียนยิดดิชทั้งที่เป็นที่รู้จักและไม่รู้จัก[11] แต่ในขณะเดียวกันก็รู้สึกตัวว่าห่างเหินจากความเป็นยิวและวิถีชีวิตของชาวยิว: “ผมมีสิ่งใดที่เหมือนกับชาวยิวเล่า? ผมก็แทบจะไม่มีอะไรที่เหมือนกับตนเองอยู่แล้ว ได้แต่เพียงยืนเงียบ ๆ อยู่มุมห้องพอใจกับตัวเองที่มีความสามารถหายใจได้”

ขณะที่อาจจะมีความรู้สึกห่างเหิน คัฟคาก็มีความฝันที่จะย้ายไปตั้งถิ่นฐานในดินแดนปาเลสไตน์ในการปกครองของบริติช (British Mandate of Palestine) กับเฟลิส เบาเออร์ และต่อมากับดอรา ดิอามันท์เพื่อไปอยู่ใน “ดินแดนแห่งอิสราเอล” (Land of Israel)[11] ขณะที่อยู่ที่เบอร์ลินคัฟคาก็ศึกษาฮิบรู และจ้างพัว บัท-โทวิมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยจากปาเลสไตน์ให้สอน แต่ก็ไม่คล่องเท่าใดนัก และเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสำหรับการศึกษาศาสนายูดาย (Berlin Hochschule für die Wissenschaft des Judentums) ของราไบยูเลียส กรึนทาล

นักวิจารณ์ฮันส์ เคลเลอร์ (Hans Keller) สัมภาษณ์ลูกชายของกรึนทาลคีตกวีโยเซฟ ทาล (Josef Tal):

...เรื่องเล็กที่[โยเซฟ] ทาลเล่าให้ผมฟังก็มีเรื่องใหม่บางเรื่อง, เรื่องที่ทราบด้วยตนเองเกี่ยวกับฟรันทซ์ คัฟคาที่ทำให้เห็นภาพพจน์ของอัจฉริยะ – ที่แสดงให้เห็นความไม่สามารถที่จะประพฤติอย่างไม่มีลักษณะได้: [โยเซฟ]สรุปลักษณะของคัฟคาด้วยคำสองสามคำที่ทำให้เข้าใจได้ – ประโยคที่ฟังดูราบเรียบ แต่มีอารมณ์ขันอันท้าทาย ที่คัฟคาเท่านั้นที่จะเป็นผู้คิดขึ้นมาได้ พ่อของทาล ยูเลียส กรึนทาลเป็นราไบผู้ที่เป็นที่นับถือเกี่ยวกับภาษาเซมิติคไปทั่วโลก ผู้ทำการสอนอยู่ที่สถาบันการศึกษาศาสนายูดายที่เป็นสถาบันที่มีชื่อเสียง คัฟคาผู้นั่งอยู่ในชั้นเรียน ขณะที่ความรู้ในวรรณกรรมร่วมสมัยของกรึนทาลมีช่องโหว่อยู่บ้าง และไม่รู้จักว่าคัฟคามีตัวตน ได้แต่สังเกตเห็นเด็กหนุ่มผอมผิวขาวซีดที่นั่งอยู่แถวสุดท้าย ท่าทางเงียบ แต่ตาเป็นประกายผู้มักจะยิงคำถามที่ตรงตามหัวข้อ และเป็นความคิดเห็นที่เป็นของตนเองโดยเฉพาะ วันหนึ่งเมื่อไม่สามารถทนต่อความอยากรู้อยากเห็นต่อไปได้ ยูเลียสก็ถามว่า: "ขอโทษทีเถอะ, คุณน่ะเป็นใคร? คุณทำมาหากินอะไร?" "ผมเป็นนักเขียนวรสารครับ" ซึ่งเป็นคำตอบที่เป็นหัวใจของลักษณะของคัฟคาอย่างแท้จริง (ซึ่งยากต่อการแปลให้ได้เนื้อหา) คำตอบของคัฟคาสรุปได้เป็นสองลักษณะ: การยิ้มอย่างมีเลศนัยเมื่อเอ่ยวาจาอย่างเกินกว่าที่จะราบเรียบ (extreme understatement), การแสดงลักษณะแบบฟรอยด์โดยการย้ายคำตอบจากกระบวนของจิตใต้สำนึกมายังความรู้ตัวของจิตสำนึก และในการบรรยายตนเองอย่างขาดเหตุผล (absurdity) ว่าเป็นนักเขียนวรสารซึ่งเป็นนัยถึงอาชีพการเขียนที่ฉาบฉวย, ขาดคุณค่า และเป็นลักษณะการเขียนที่มีคุณภาพด้อยกว่าการเขียนประเภทอื่น ซึ่งตรงกันข้ามกับความเป็นจริง งานที่คัฟคาเขียนเป็นการเขียนของงานที่แม้จะปรากฏในวรสารก็จริงแต่เป็นงานที่มีคุณภาพเลิศ – งานเขียนที่เป็นงานที่เกี่ยวกับสิ่งลึกล้ำที่เกิดขึ้นในจิตของมนุษย์ที่ราวกับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ผมบรรยายได้ว่าคำตอบนี้เป็นคำตอบเอก และผมก็ดีใจที่ได้มีคนพบ ทาลเองขณะนั้นยังเป็นเด็กจึงไม่สามารถบรรยายรายละเอียดได้ถึงการมาเยี่ยมที่บ้านของคัฟคาได้ เท่าที่จำได้ก็แต่ชายที่มีร่างซูบผอมและซีดขาวกว่าปกติ และมีตาที่มองทะลุ – ผู้มักจะนั่งเงียบขณะที่สตรีหน้าตางดงามที่นำมาด้วยทำตัวมีชีวิตชีวา[12]

นอกจากนั้นแล้วคัฟคาก็ยังเข้าร่วมการประชุมไซออนนิสต์ครั้งที่สิบเอ็ด และอ่านรายงานของนิคมเกษตรกรยิวในปาเลสไตน์ด้วยความสนใจอย่างจริงจัง[11]

ตามความเห็นของนักวิพากษ์วรรณกรรมฮาโรลด์ บลูม (Harold Bloom) ผู้ประพันธ์ The Western Canon กล่าวว่า “ถึงจะปฏิเสธและหลีกเลี่ยงอย่างใด, [งานเขียนของคัฟคา]ก็คืองานเขียนแบบยิว”[8]

ใกล้เคียง

ฟรันทซ์ คัฟคา ฟรันทซ์ เบ็คเคินเบาเออร์ ฟรันทซ์ ชูเบิร์ท ฟรันทซ์ โวลฟาร์ท ฟรันท์เช็สคา ฟ็อน ทึสเซิน-โบร์แนมิสซอ ฟรันทซ์ มาร์ค ฟรันท์ซิสคา แพร์ ฟรันทซ์ ลิสท์ ฟรันทซ์ ฟ็อน พาเพิน ฟรันทซ์ กริลพาร์ทเซอร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฟรันทซ์_คัฟคา http://www.alicewhittenburg.com/kafka_prague/kafka... http://www.atlegerhardsen.com/pages/lothar_hempel/... http://www.coskunfineart.com/details.asp?workID=40 http://victorian.fortunecity.com/vermeer/287/judai... http://www.haaretz.com/hasen/spages/1040561.html http://www.imdb.com/name/nm0434525/ http://www.imdb.com/title/tt0074561/ http://www.imdb.com/title/tt0076389/ http://www.imdb.com/title/tt0093530/ http://www.imdb.com/title/tt0120075/