เชิงอรรถ ของ ฟิเนียส์_พี._เกจ

  1. 1 2 3 รูปปี ค.ศ. 2009 ที่ได้รับการตรวจสอบ ได้รับมาจากแจ็คและเบเวอร์ลี วิลกัสภาพดั้งเดิมนี้ โดยเหมือนกับรูปภาพแบบดาแกโรไทป์อื่น ๆ แสดงบุคคลมีด้านซ้ายขวากลับข้างทำให้ดูเหมือนว่าตาขวาของนายเกจเป็นตาที่บาดเจ็บแต่ว่า เป็นเรื่องแน่นอนว่า (Lena & Macmillan, 2010)[9]อาการบาดเจ็บของนายเกจ รวมทั้งตาของเขาด้วย อยู่ทางด้านซ้ายดังนั้น ในการแสดงรูปในที่นี้รูปได้ผ่านกระบวนการกลับด้านอีกครั้งหนึ่งเพื่อที่จะแสดงนายเกจเหมือนกับที่เขาปรากฏจริง ๆ

    รูปที่ได้รับการยืนยันในปี ค.ศ. 2010 เป็นสมบัติของทารา เกจ มิลเลอร์แห่งมลรัฐเท็กซัสและรูปที่เหมือนกันอีกรูปหนึ่งเป็นของฟิลลิส เกจ ฮาร์ตลีย์แห่งมลรัฐนิวเจอร์ซีย์(นายเกจไม่มีลูกเท่าที่รู้ ดู Macmillan 2000[2]:319,327บุคคลเหล่านี้เป็นเชื้อสายของญาติของเขา ดู Macmillan & Lena 2010[28]:4)โดยต่างจากรูปของวิลกัส ซึ่งเป็นรูปดั้งเดิมรูปของมิลเลอร์และฮาร์ตลีย์เป็นภาพถ่ายก๊อปปี้จากรูปถ่ายดั้งเดิมที่ยังไม่พบ พิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19เป็นรูปภาพแบบดาแกโรไทป์ หรือภาพถ่ายประเภทอื่นที่มีการกลับด้านซ้ายขวา (ซึ่งเป็นเรื่องสามัญในการถ่ายรูปในยุคแรก ๆ)และในภาพนี้ก็เช่นกัน ได้มีการกลับด้านซ้ายขวาให้เห็นได้เหมือนจริงแล้วเสื้อเชิ้ตและเน็คไทที่นายเกจใส่ในภาพของมิลเล่อร์-ฮาร์ตลีย์ต่างจากที่เห็นในภาพของวิลกัสแม้ว่าเขาจะใส่เสื้อกั๊กตัวเดียวกัน และน่าจะเป็นเสื้อชั้นนอกตัวเดียวกันด้วย[52]

  2. 1 2 3 4 นักจิตวิทยาแม็คมิลแลน (ค.ศ. 2000)[2]:14-17,31n5,490-1 ได้กล่าวถึงบรรพบุรุษของนายเกจและเรื่องที่รู้และไม่รู้เกี่ยวกับกำเนิดและต้นชีวิตของเขาคือ บิดามารดาของเขาได้สมรสกันในวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1823ส่วนวันเกิดของนายเกจในวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1823 (เป็นวันที่เดียวที่กล่าวไว้อย่างกำหนดวันในหลักฐานทั้งหมด) มาจากการลำดับตระกูลของนายเกจสืบโดยนักจิตวิทยาแม็คมิลแลน (ค.ศ. 2000)[2]:16ผู้ตั้งข้อสังเกตว่า แม้ว่าวันที่นี้จะไม่ปรากฏที่มา แต่ก็เป็นวันที่คล้องจองกับหลักฐานร่วมสมัยอื่น ๆ (ที่กล่าวถึงวันเวลา)[11]:389[12][13]:13[1]:330ที่ว่า นายเกจมีอายุ 25 ปีเมื่อเกิดอุบัติเหตุและมีอายุ 36 ปีเมื่อเสียชีวิต ดังที่แสดงในบันทึกของสัปเหร่อหลังจากการสิ้นชีวิตของเขา ในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1860[2]:109

    ในวัยเด็ก นายเกจได้อาศัยอยู่ที่เมืองต่าง ๆ รวมทั้งเมืองเลบานอน (หรือเมืองเลบานอนตะวันออกที่อยู่ใกล้ ๆ)เมืองเอ็นฟิลด์ หรือ/และเมืองกราฟตัน(ซึ่งล้วนแต่อยู่ในเทศมณฑลกราฟตัน มลรัฐนิวแฮมป์เชียร์)แม้ว่าหมอฮาร์โลว์จะกล่าวถึงเมืองเลบานอนโดยตรงว่าเป็นถิ่นกำเนิดของนายเกจ[1]:336และเป็นบ้าน[1]:338 (น่าจะเป็นของบิดามารดาของเขา)เป็นที่ที่นายเกจกลับไปหลังจากอุบัติเหตุ 10 อาทิตย์

    ชัดเจนว่าอักษรแรกของชื่อกลางของนายเกจคือ "P"[10]:839fig.[11]:389[13]:13[1]:330[2]:490แต่ว่า ไม่มีหลักฐานอะไรที่ชี้ว่า อักษรย่อ P นี้เป็นตัวแทนคำเต็มว่าอะไร(แม้ว่าปู่ของเขาจะมีชื่อเดียวกันว่า Phineas และน้องชายชื่อว่าเด็กซ์เตอร์จะมีชื่อกลางว่า พริตชาร์ด)[2]:490ชื่อแรกและชื่อกลางของมารดานายเกจบันทึกไว้ต่าง ๆ กันรวมทั้ง ฮันนาห์ หรือ ฮันนา, และ ทรัสเซล์ล, ทรูเซล, หรือ ทรัสเซลและชื่อก่อนสมรสมีการสะกดต่าง ๆ กันรวมทั้ง Swetland, Sweatland, หรือ Sweetland[2]:490

  3. 1 2 โรคลมชักชนิดต่อเนื่อง (Status epilepticus) เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่สมองเกิดการชักไม่หยุด คำนิยามมีหลายอย่าง แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้วหมายถึงการชักที่ต่อเนื่องกันไม่หยุดหย่อนเกินกว่า 5 นาที หรือการชักที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ กันโดยไม่มีการฟื้นสติในระหว่างที่เกินกว่า 5 นาที
  4. 1 2 3 การใช้คำที่แสดงความอัศจรรย์ใจแบบขำ ๆ เป็นแบบการเขียนทางการแพทย์ที่ปกติในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 19 เกี่ยวกับเรื่องของนายเกจ(และเกี่ยวกับผู้รับเคราะห์รายอื่น ๆ ที่มีอุบัติเหตุทางสมองที่ฟังแล้วไม่น่าเป็นไปได้รวมทั้งที่เกิดเกี่ยวกับขวาน สลักเกลียว สะพาน ปืนระเบิดปืนลูกโม่ยิงทะลุจมูก[16]และ "แม้กระทั่ง การตกลงใส่ของกิ่งต้นยูคาลิปตัส")[2]:62,63-7โดยตั้งข้อสังเกตแบบปราศจากอารมณ์ว่า "จุดเด่นของเรื่องนี้ก็คือความไม่น่าจะเป็นไปได้...นี่เป็นอุบัติเหตุประเภทที่เห็นในภาพยนตร์ไร้เสียงในโรงหนัง แต่จะไม่เห็นในที่อื่น"ศ. บิ๊กเกโลว์ (ค.ศ. 1850) เน้นว่า แม้ว่า "ในตอนแรกผมไม่ค่อยจะเชื่อเรื่องนี้ แต่หลังจากนั้นก็ได้เกิดความแน่ใจเป็นการส่วนตัว"และเรียกเค้สนี้ว่า "เค้สหาเรื่องอื่นเปรียบมิได้ในประวัติการณ์ศัลยศาสตร์"[13]:13,19การให้คำยืนยันอย่างนี้ของ น.พ. บิ๊กเกโลว์ ผู้มีตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ศัลยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ช่วยยุติการพูดเยาะเย้ยล้อเลียนเรื่องของนายเกจจากบุคคลในวงการแพทย์ทั้งหลายรวมทั้งบุคคลหนึ่งที่หมอฮาร์โลว์ (ค.ศ. 1868) ระลีกได้ว่า ได้กล่าวแบบไม่ไยดีในกรณีนี้ว่า "เป็นเรื่องกุขึ้นของพวกแยงกี้" (แยงกี้เป็นคำสแลงเรียกคนอเมริกัน)
    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเกือบ 20 ปีก่อน ในเมืองชนบทที่ไม่มีใครรู้จัก...ที่คนไข้ได้รับการดูแลและมีการรายงานโดยแพทย์ชนบทที่ไม่มีชื่อเสียงอะไรและได้รับการพิจารณาจากแพทย์ชาวเมืองด้วยความไม่ค่อยเชื่อจนกระทั่งว่า แพทย์หลายท่านปฏิเสธอย่างเด็ดขาดว่า ชายคนนั้น (คือนายเกจ) ลุกขึ้นมาได้จนกระทั่งได้จิ้มนิ้วของตนไปที่รูในศีรษะ (ของนายเกจ) [ดู ทอมัสกังขา ผู้ที่ไม่สามารถคลายความสงสัยได้นอกจากพิสูจน์ด้วยตนเอง]และแม้กระทั่งอย่างนั้น ก็ยังต้องเรียกร้องคำเป็นพยานหลักฐานจากหมอชนบทจากบาทหลวงและจากทนาย ก่อนที่จะสามารถเชื่อหรือก่อนที่จะเชื่อได้ศัลย์แพทย์โด่งดังหลายท่านพิจารณาว่าเรื่องเช่นนี้ไม่สามารถเป็นไปได้โดยหลักสรีรวิทยาและหลักฐานที่ปรากฏให้เห็นในคนไข้ก็ถูกอธิบายแก้ต่างไปโดยคำต่าง ๆ นา ๆ[1]:329,344

    สมจริงอย่างนั้น ผู้เขียนแจ็คสัน (ปี ค.ศ. 1870) กล่าวว่า"โชคร้ายจริง ๆ แม้เรื่องนี้จะมีหลักฐานที่หมอฮาร์โลว์ได้ให้ไว้แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้เห็นกะโหลก (ของนายเกจ) นั้นด้วยเอง ก็ยังเป็นเรื่องที่เกินกว่าคนอื่นจะเชื่อได้"[17]:vแม้จะมีเค้สที่เกิดขึ้นภายหลังติดตามเค้สของนายเกจต่อมา เช่นเค้สผู้ทำงานในเหมืองที่รอดชีวิตจากการมีท่อก๊าซวิ่งทะลุศีรษะ[2]:66[18]และเค้สหัวหน้าคนงานโรงตัดไม้ที่กลับไปทำงานไม่นานหลังจากที่เลื่อยวงจันทร์ได้ตัดกะโหลกศีรษะของเขาเป็นช่องลึก 8 เซนติเมตรจากระหว่างตาจนไปถึงข้างหลังศีรษะของเขา(โดยที่ศัลยแพทย์ต้องเอาออกจากช่องแผล "กระดูก 32 ชิ้น พร้อมกับขี้เลื่อยเป็นจำนวนมาก")[19]วารสารการแพทย์และศัลยศาสตร์บอสตัน (ค.ศ.1869) ก็ยังแกล้งทำเป็นสงสัยว่า สมองทำหน้าที่อะไรบ้างหรือเปล่าโดยกล่าวว่า "ตั้งแต่เรื่องเล่นตลกเกี่ยวกับ แท่งเหล็ก ท่อก๊าซ และเรื่องคล้ายกันอื่น ๆ (ความมีเหตุผล) ความไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ก็เริ่มอ่อนกำลังลง ไม่สามารถที่จะกล่าวคำอะไรได้ สมองดูเหมือนจะไม่มีความสำคัญอะไรในทุกวันนี้"[20]รายงานของสมาคมการแพทย์เวอร์มอนต์ (Smith 1886) ก็กล่าวเป็นเชิงตลกเช่นเดียวกันคือ(เลียนคำจากละครเรื่องแม็คเบ็ธ [Act III] ของวิลเลียม เชกสเปียร์) "แม็คเบ็ธกล่าวว่า'เคยเป็นอย่างนี้มาตลอดว่าเมื่อสมองไหลออกมาแล้ว คน ๆ นั้นก็จะตาย แต่มาสมัยนี้ กลับลุกขึ้นมาได้อีก'เป็นไปได้ว่า อีกไม่นานเท่าไร พวกเราก็จะได้ยินเรื่องเกี่ยวกับศาสตราจารย์ชาวเยอรมัน (เหมือนกับ ศ. ในประเทศเยอรมันผู้สร้างแฟรงเกนสไตน์) ผู้ที่จะผ่าตัดสมองนั้นออก (และคนไข้ก็จะยังอยู่ต่อไปได้)"[3]:53-54

    ส่วนบทความที่อ้างอิงถึงถึงแท่งเหล็กของนายเกจว่า "แขกผู้ไม่พูดพล่ามทำเพลงมีนิสัยบุกรุก (อังกฤษ: abrupt and intrusive visitor)"ปรากฏในวารสารการแพทย์และศัลยศาสตร์บอสตัน[21] ในบทความปริทัศน์ต่อบทความที่หมอฮาร์โลว์นำเสนอ

  5. 1 2 3 ดูแม็คมิลแลน (ค.ศ. 2000)[2]:25-7 และแม็คมิลแลน (PGIP)[14]:A เพื่อขั้นตอนการวางระเบิด ตำแหน่ง และเหตุการณ์ในช่วงที่เกิดอุบัติเหตุรูวางระเบิด ซึ่งมีหน้ากว้างประมาณ 4.5 เซนติเมตร และลึก 4 เมตรอาจจะต้องใช้แรงงานผู้ชาย 3 คนเป็นวันเพื่อที่จะขุดโดยใช้เครื่องมือ (ไม่ได้ใช้เครื่องกล)วิจารณญาณเกี่ยวกับเรื่องแรงงานที่ต้องใช้ในการวางระเบิดแต่ละแห่งเรื่องที่ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกสถานที่ที่จะวางระเบิดและปริมาณดินระเบิดที่ต้องใช้และความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านาย-ลูกน้องที่บางครั้งสามารถระเบิดขึ้นได้ในงานประเภทนี้ล้วนแต่แสดงความสำคัญของคำพูดของหมอฮาร์โลว์ว่านายจ้างของนายเกจพิจารณานายเกจว่า "เป็นหัวหน้างานที่มีประสิทธิภาพมีความสามารถมากที่สุดในลูกจ้างทั้งหมด" ก่อนอุบัติเหตุ
  6. ศ. บิ๊กเกโลว์กล่าวถึงส่วนเรียวของแท่งเหล็กนี้ว่า ยาว 7 นิ้วแต่ขนาดจริงแล้ว ยาว 12 นิ้ว (ตามที่กล่าวในบทความ)[11]:331[2]:26
  7. จากคำของหมอวิลเลียมส์[13]:15–16
  8. หมอฮาร์โลว์ให้ข้อสังเกตในวันที่ 24 กันยายนว่า "พละกำลังตกลง ...ช่วงเวลาสามวันต่อมา อาการโคม่าหนักขึ้นลูกตาซ้ายยื่นออกมามากขึ้นโดยมี fungus ขยายออกมาจากหางตา ...และมี fungus เป็นแผ่นใหญ่ขยายขึ้นไปอย่างรวดเร็วจากสมองส่วนที่ได้รับความบาดเจ็บงอกออกมาที่บนศีรษะ[1]:335"ในที่นี้คำว่า fungus ไม่ได้หมายถึงเชื้อราแต่หมายเอาความหมายที่พจนานุกรมอังกฤษอ๊อกซฟอร์ดให้ไว้ว่า "การเติบโตผิดปกติคล้ายฟองน้ำ เช่นการเติบโตเป็นเม็ด ๆ ในแผล"ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของร่างกายต่อแผล[2]:54,61-2
  9. Barker (1995) : "ความบาดเจ็บที่ศีรษะจากการตกลง จากถูกม้าเตะ และจากลูกปืน เป็นอาการที่รู้จักกันดีในอเมริกายุคก่อนสงครามกลางเมืองและเล็กเช่อร์เกี่ยวกับศัลยศาสตร์ที่มีในสมัยนั้นทุกเล็กเช่อร์ ก็จะกล่าวถึงการวินิจฉัยและการเยียวยา" ของการบาดเจ็บเช่นนี้แต่เป็นโชคของนายเกจ ศัลย์แพทย์โจเซ็ฟ แพนโคสต์ (ซึ่งเป็นศัลยแพทย์มือหนึ่งในสมัยนั้น)ได้ทำ "การผ่าตัดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเขาต่ออาการบาดเจ็บที่ศีรษะ หน้าชั้นของหมอฮาร์โลว์ในโรงเรียนแพทย์ทำการเจาะกะโหลกศีรษะโดยวิธี [trephining] เพื่อระบายหนองออก มีผลเป็นการฟื้นตัวของคนไข้อย่างชั่วคราวแต่โชคไม่ดีว่า อาการได้กำเริบภายหลังจนคนไข้เสียชีวิตการชันสูตรศพพบหนองที่กลับคั่งขึ้นมาอีก คือ เนื้อเยื่อแบบ granulation ได้ไปปิดช่องในเยื่อดูรา"บาร์กเกอร์กล่าวต่อไปอีกว่า โดยเปิดทางออกของแผลเอาไว้และให้ตั้งศีรษะไว้ในที่สูงเพื่อให้หนองไหลออกจากกระดูกหุ้มสมองผ่านรูที่เพดานปากหมอฮาร์โลว์ "ไม่ได้ทำข้อผิดพลาดของ ศ. แพนโคสต์ซ้ำอีก"[4]:675

    โดยตั้งข้อสังเกตว่า แม้ว่าหมอฮาร์โลว์จะเป็น "หมอพื้นที่ที่ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์ ... พึ่งเรียนจบมาแค่ 4 1/2 ปี ก่อน"แต่นักเขียนแม็คมิลแลนก็ได้พูดถึงสิ่งที่หมอฮาร์โลว์ได้ทำว่าเป็น "การดัดแปลงวิธีการรักษาที่สืบกันมาได้อย่างเหมาะสม ที่ประกอบด้วยฝีมือและมีจินตนาการ"ได้กล่าวเพิ่มขึ้นถึงประเด็นการตัดสินใจ (โดยทำต่างไปจากคำสอนของอาจารย์ในวิทยาลัยแพทย์) เพื่อที่จะไม่หาชิ้นกระดูกอื่น ๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วนดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการเสียเลือดและความบาดเจ็บเพิ่มขึ้นทางสมองและถึงการใช้สารกัดในการรักษา fungi ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการต้องใช้วิธีรักษาอีกสองอย่าง คือการตัดทิ้ง (ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียเลือด)และดัน fungi ให้เข้าไปในแผล (ซึ่งเสี่ยงต่อการเพิ่มความกดดันแก่สมอง)[2]:12,60-2

    สำหรับบทบาทของตนต่อการรอดชีวิตของนายเกจ หมอฮาร์โลว์กล่าวเพียงว่า "ผมกล่าวเพียงได้ว่า ... เหมือนกับคุณหมอ Ambroise Paré ผม (เพียงแต่) ทำแผลให้เขา พระเจ้า (นั่นแหละ) เป็นคนรักษาเขา"[1]:346เป็นการประเมินตนที่นักจิตวิทยาแม็คมิลแลน (ค.ศ. 2000)[2]:62 กล่าวว่าถ่อมตนเกินไปดู Macmillan (ค.ศ. 2000)[2]:12;ch4 Macmillan (ค.ศ. 2008)[10]:828-9 และ Barker (ค.ศ. 1995)[4]:675,679-80เกี่ยวกับรายละเอียดอื่น ๆ ในเรื่องวิธีการบริหารของหมอฮาร์โลว์ในเค้สนี้

  10. Barnum's American Museum เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงสิ่งของและบุคคลแปลก ๆ
  11. 1 2 3 นักจิตวิทยาแม็คมิลเลน (ค.ศ. 2000) ได้กล่าวถึงการเสียชีวิตของนายเกจและการฝังศพ (ดั้งเดิม)ให้ดู "Corrections to An Odd Kind of Fame (แก้ข้อผิดสำหรับหนังสือ An Odd Kind of Fame)" ของแม็คมิลแลนเกี่ยวกับวันที่เสียชีวิต[2]:108-9[14]:Dหมอฮาร์โลว์ (ค.ศ. 1868)[1] ได้บันทึกวันเสียชีวิตของนายเกจว่าเป็นวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1861แต่บันทึกของสัปเหร่อ[24] แสดงว่าฝังในวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1860การที่หมอฮาร์โลว์ (แม้ว่าจะได้ติดต่อกับมารดาของนายเกจเมื่อกำลังเขียนหนังสือ) เขียนวันที่ผิดพลาดไป 1 ปีเต็มบอกเป็นนัยว่า วันที่อื่น ๆ ที่คุณหมอกล่าวถึงเกี่ยวกับเหตุการณ์ปลายชีวิตของนายเกจเช่นการย้ายไปอยู่ที่เมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา จากประเทศชิลี และการเริ่มอาการชักกระตุกก็จะต้องผิดพลาดด้วย และน่าจะผิดพลาดเป็นระยะเวลาเท่ากัน (คือ 1 ปี)บทความนี้เขียนวันที่ตามนักจิตวิทยาแม็คมิลแลนที่แก้วันที่ผิดพลาดเหล่านั้น
  12. Macmillan & Lena กล่าวไว้ว่า: "มีแต่หมอฮาร์โลว์เท่านั้น[1]:342 ที่กล่าวถึงเรื่องขุดศพขึ้นมาอีกและก็ไม่ได้บอกว่า ได้พบแท่งเหล็กตอกของนายเกจด้วยแม้ว่าสิ่งที่คุณหมอกล่าวจะมีความคลุมเครือบ้างเล็กน้อยแต่นั่นไม่ใช่เหตุแห่งการแสดงเหตุการณ์ที่ไม่มีในหลักฐานอื่นและไม่เข้ากับหลักฐานอื่น...ว่ามีการพบแท่งเหล็กตอกของนายเกจที่หลุมฝังศพ"[28]:7
  13. 1 2 3 phrenology เป็นวิทยาศาสตร์เทียมที่เน้นเรื่องการวัดขนาดของกะโหลกศีรษะมนุษย์ โดยมีฐานความคิดว่า สมองเป็นอวัยวะของใจ และว่าเขตในสมองบางแห่งมีหน้าที่เฉพาะ
  14. คือโดยเฉพาะแล้ว คณะของแวน ฮอร์น[34]ให้ข้อสังเกตว่าแม้ว่าจะมี "ความเสียหายอย่างกว้างขวางต่อสมองกลีบหน้า, left temporal polar, และ insular cortexเส้นวิ่งของท่อนเหล็กที่ฟิตที่สุดไม่ได้แสดงว่า ท่อนเหล็กวิ่งทะลุส่วนเส้นกลาง (midline) เหมือนอย่างที่เสนอโดยผู้เขียนบางท่าน" (เช่นเฮ็ช. ดามาซีโอ)"เส้นประสาทที่เสียหายขยายเลยจากสมองกลีบหน้าด้านซ้ายไปถึงสมองกลีบขมับ สมองกลีบข้าง สมองกลีบท้ายทอย (ทั้งหมดด้านซ้าย)รวมไปถึงปมประสาทฐาน (basal ganglia) ก้านสมอง และซีรีเบลลัมแม้เส้นประสาทเชื่อมต่อระหว่างซีกสมองของสมองกลีบหน้าและระบบลิมบิก รวมทั้งปมประสาทฐาน ก็ได้รับผลกระทบด้วย​(คำอ้างอิงที่ยกมานี้ตัดคำที่ประมาณค่าความเสียหายต่อแต่ละส่วนของสมองออก)
  15. จากหมอฮาร์โลว์ (ค.ศ. 1848)[11]:393 ส่วนนักจิตวิทยาแม็คมิลแลน (ค.ศ. 2000)[2]:106-8,375-6 พูดถึงความลังเลใจที่อาจจะมีของหมอฮาร์โลว์และของหมู่สหายและครอบครัวของนายเกจที่จะพูดถึงนายเกจในเชิงลบในช่วงที่เขายังมีชีวิตอยู่และเสนอว่า[2]:350-1 บทความนิรนามที่กล่าวถึงนายเกจในปี ค.ศ. 1850[35]ว่า "gross, profane, coarse, and vulgar (น่ารังเกียจ หยาบคาย สามหาว และปากตลาด)" ความจริงมาจากหมอฮาร์โลว์
  16. ยกตัวอย่างเช่น คำพรรณนาของหมอฮาร์โลว์ในปี ค.ศ. 1868 ว่า "เขาอยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้ ปราศจากความเคารพยำเกรง...แต่ก็เอาแน่อะไรไม่ได้ เปลี่ยนใจไปเปลี่ยนใจมา"[1]ขัดแย้งกับลักษณะอาชีพของนายเกจในประเทศชิลีซึ่งเป็นงานที่คนขับรถต้อง "ไว้วางใจได้ แก้ปัญหาได้ และมีความทนทานสูงแต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องมีบุคลิกภาพที่สามารถบริหารผู้โดยสารได้ด้วยดี" (Macmillan 2000[2]:106 โดยอ้างอิง Austin 1977[37])นอกจากนั้นแล้ว นักจิตวิทยาแม็คมิลแลนยังตั้งข้อสังเกตว่า นายจ้างของนายเกจได้จ้างนายเกจล่วงหน้า ตั้งแต่อยู่ในเขตนิวอิงแลนด์แล้ว (น่าจะหมายถึงหลังเกิดอุบัติเหตุ)เพื่อจะเป็นส่วนของกิจการรถม้าโดยสารใหม่ในประเทศชิลี[2]:376-7[10]:831
  17. "what are the limits for those in formal rehabilitation programs?"[40]
  18. psychopathy เป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพที่มีอาการคือ ความบกพร่องทางอารมณ์ความรู้สึก (เช่นมีความกลัวที่ลดลง ไม่มีความเห็นใจผู้อื่น และไร้ความอดทนต่อความเครียด) ใจร้าย เห็นแก่ตัว มีเสน่ห์ผิวเผิน ใช้เล่ห์ชักใยผู้อื่น ไม่มีความรับผิดชอบ ไม่มีความยับยั้งชั่งใจ มักทำผิดกฎหมาย มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ปราศจากความสำนึกผิด และใช้ชีวิตเป็นกาฝาก
  19. psychosurgery เป็นการรักษาโรคจิตโดยการผ่าตัดสมอง ตัวอย่างเช่น lobotomy
  20. lobotomy เป็นการผ่าตัดสมองที่ตัดเส้นประสาทโดยมากที่ไปสู่หรือออกมาจากคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฟิเนียส์_พี._เกจ http://brightbytes.com/phineasgage/index.html http://brightbytes.com/phineasgage/more.html http://www.brightbytes.com/phineasgage/index.html http://www.brightbytes.com/phineasgage/new_image.h... http://books.google.com/?id=xicZAAAAYAAJ&pg=PA313#... http://books.google.com/books?id=1S0EAAAAYAAJ&pg=P... http://books.google.com/books?id=9HQIHnREqhkC&lpg=... http://books.google.com/books?id=F8UZAAAAIAAJ http://books.google.com/books?id=Qx4fMsTqGFYC&prin... http://books.google.com/books?id=XXxtmdcj_04C&prin...