ความเสียหายในสมองและความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ของ ฟิเนียส์_พี._เกจ

ศ. น.พ. เฮ็นรี่ บิ๊กเกโลว์กล่าวในปี ค.ศ. 1854 ว่า "จุดเด่นของเรื่องนี้ก็คือความไม่น่าจะเป็นไปได้" แต่ประสบการณ์การศึกษาของศาสตราจารย์ (ว่าเขตสมองต่าง ๆ ไม่มีกิจเฉพาะตน) ทำให้เขาโน้มเอียงไปเพื่อจำกัดความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของนายเกจ[ต้องการอ้างอิง]น.พ. จอห์น มาร์ติน ฮาร์โลว์ ผู้ได้ทำการรักษานายเกจหลังจากที่ "ขีปนาวุธนิสัยอันธพาลยิงทะลุสมองของเขา"[31] และผู้ได้กะโหลกศีรษะภายหลังการสิ้นชีวิตของเขามาเพื่อการศึกษา ความสนใจของคุณหมอในหลักวิชา phrenology[upper-alpha 13] ทำให้เขาสามารถยอมรับได้ว่า อาการบาดเจ็บของนายเกจอาจก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม[4]:abstr หมอฮาร์โลว์เขียนบทความแสดงกะโหลกศีรษะ แท่งแหล็ก และชีวประวัติช่วงหลังของชีวิตของนายเกจที่นำเสนอต่อหน้าสมาคมการแพทย์แมสซาชูเซตส์ในปี ค.ศ. 1868 "ผมมีความยินดีที่จะนำเสนอ เค้สที่หาเรื่องอื่นเปรียบมิได้ในประวัติการณ์ศัลยศาสตร์"[1]

ขอบเขตความเสียหายในสมอง

ข้อถกเถียงว่า ได้เกิดความเสียหายที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บและการติดเชื้อต่อ ๆ มา ที่สมองกลีบหน้าทั้งสองข้าง หรือเพียงที่ซีกซ้ายซีกเดียว ก็เกิดขึ้นแทบจะทันทีหลังจากอุบัติเหตุ[11]:389คณะของ เฮ็ช. ดามาซีโอ[25] ในปี ค.ศ. 1994 สรุปว่า สมองกลีบหน้าทั้งสองซีกเกิดความเสียหายโดยมีการจำลองสร้างแบบไม่ใช่ตามกะโหลกศีรษะของนายเกจ แต่ตามกะโหลกที่ "คล้ายของนายเกจ"[10]:829-30

ในปี ค.ศ. 2004 ราชิวและคณะใช้การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (CT scan) ของกะโหลกจริง ๆ ของนายเกจ[32][33]เพื่อจะยืนยันข้อสรุปของหมอฮาร์โลว์(โดยที่คุณหมอใช้นิ้วตรวจแผลของนายเกจ)[28]:9ว่าสมองซีกขวาไม่ได้รับความเสียหายราชิวและคณะเป็นกลุ่มแรกที่ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับรอยแตกเป็นเส้นเท่าผมที่วิ่งจากด้านหลังของแผลทางออกลงไปยังด้านหน้าของกะโหลกของนายเกจและใช้ข้อมูลเกี่ยวกับรูที่เพดานปากที่เชื่อมกับฐานของกระดูกหุ้มสมอง(ที่เกิดขึ้นเพราะแท่งเหล็กวิ่งผ่าน)ซึ่งมีด้านกว้างประมาณครึ่งหนึ่งของด้านกว้างแท่งเหล็กโดยตั้งสมมุติฐานว่า กะโหลกศีรษะได้พับเปิดขึ้น (เหมือนบานพับ) เมื่อแท่งเหล็กวิ่งทะลุกระดูกหุ้มสมองและหลังจากนั้นก็ได้พับปิดลงเนื่องจากความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่ออ่อนหลังจากที่แท่งเหล็กออกไปทางเหนือศีรษะแล้ว[33][32][10]:830

คณะของแวน ฮอร์น (ค.ศ. 2012) เห็นด้วยว่า สมองซีกขวาไม่มีความเสียหายและทำการกะเกณฑ์อย่างละเอียดถึงศูนย์กลางและขอบเขตของความเสียหายต่อ white matter (ส่วนในสมองที่โดยมากประกอบด้วยแอกซอน)ที่บอกเป็นนัยว่า ความเสียหายส่วนนี้มีผลต่อความเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจของนายเกจมากกว่าความเสียหายต่อเปลือกสมอง (คือส่วน gray matter)[upper-alpha 14]

รายงานปฐมภูมิเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ

นายเกจได้แสดงความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมหลังจากได้รับบาดเจ็บอย่างไม่ต้องสงสัย[28]:12-15แต่ว่า ลักษณะ ขอบเขต และระยะเวลา ของความเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่ชัดเจนอย่างยิ่งมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือน้อยมากว่านายเกจเป็นคนอย่างไร (ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังอุบัติเหตุ) [ต้องการอ้างอิง]ความเปลี่ยนแปลงของจิตใจที่มีกล่าวไว้หลังจากเขาเสียชีวิตแล้ว เป็นสิ่งที่น่าทึ่งใจมากกว่าที่กล่าวไว้ตอนที่เขายังมีชีวิตอยู่และบทความ 2-3 บทความที่มีการกล่าวพรรณนาที่ดูว่าน่าจะเป็นไปได้ ก็ไม่ได้ระบุช่วงเวลาหลังจากอุบัติเหตุที่พฤติกรรมเหล่านั้นเกิดขึ้น[ต้องการอ้างอิง]

รายงานของหมอฮาร์โลว์ในปี ค.ศ. 1848

ในรายงานปี ค.ศ. 1848 ในขณะที่นายเกจกำลังใกล้จะฟื้นตัวเต็มที่ทางด้านร่างกายหมอฮาร์โลว์กล่าวไว้โดยเป็นนัยเท่านั้นเกี่ยวกับอาการทางจิต คือ"สภาวะที่ปรากฏทางด้านจิตใจของคนไข้ ผมจะขอทิ้งไว้ก่อนในตอนนี้เพื่อจะกล่าวต่อไปในบทสื่อสารในอนาคต แต่ผมคิดว่า เค้สนี้...น่าสนใจอย่างยิ่งต่อนักกายวิภาคที่มีความคิดก้าวหน้า และนักปรัชญาผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย"[upper-alpha 15]และหลังจากที่ได้สังเกตการณ์เกี่ยวกับนายเกจเป็นเวลาหลายอาทิตย์ในปลายปี ค.ศ. 1849ศ. ศัลยศาสตร์ เฮ็นรี่ บิ๊กเกโลว์ ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด(โดยยึดหลักประสบการณ์การศึกษาของเขาที่ต่อต้านไอเดียเกี่ยวกับการทำงานเฉพาะอย่างในเขตต่าง ๆ ของสมอง) [ต้องการอ้างอิง]กล่าวว่า นายเกจ "ได้กลับคืนสู่สภาพปกติทั้งทางกายและทางใจ"เหลือเพียงแต่ "inconsiderable disturbance of function (ความผิดปกติเล็กน้อยทางพฤติกรรมบางอย่าง)"[13]:13-14

รายงานของหมอฮาร์โลว์ในปี ค.ศ. 1868

ในปี ค.ศ. 1868 (หลังจากได้กะโหลกศีรษะ แท่งเหล็ก และชีวประวัติเบื้องปลายของนายเกจมา) หมอฮาร์โลว์ได้ส่ง "บทสื่อสารในอนาคต" ที่เขาได้สัญญาไว้เมื่อ 20 ปีก่อนแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจของนายเกจ ที่ปรากฏในการนำเสนอเค้สนี้ในยุคปัจจุบันโดยมาก(แม้ว่าจะอยู่ในรูปแบบที่พูดเกินเลยไปหรือบิดเบืยนจากความจริง ดูหัวข้อ ความเปลี่ยนแปลงทางใจที่บิดเบียนไปจากความจริง ข้างหน้า)

หมอฮาร์โลว์พรรณนาถึงนายเกจก่อนอุบัติเหตุว่า ขยัน มีความรับผิดชอบ และเป็น "นายคนโปรด" ของลูกน้องโดยนายจ้างของเขามีความเห็นเกี่ยวกับเขาว่า "เป็นหัวหน้าคนงานที่มีประสิทธิภาพมีความสามารถมากที่สุดในคนงานทั้งหมด"แต่นายจ้างชุดเดียวกันนั้นแหละ หลังจากเกิดอุบัติเหตุ"เห็นว่า ความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจมากเสียจนไม่สามารถให้ตำแหน่งเดิมคืนกับเขาได้" คือ

จะกล่าวก็คือ ความสมดุลกันระหว่างสติปัญญาและสัญชาตญาณสัตว์ ดูเหมือนจะถูกทำลายไป

เขาอยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้ ปราศจากความเคารพยำเกรง บางครั้งกล่าวคำที่หยาบคายที่สุด (ซึ่งก่อนนี้ไม่ได้เป็นเช่นนี้)ไม่มีความเกรงใจต่อเพื่อนร่วมงาน ไม่มีความอดทนต่อกฏระเบียบและคำแนะนำถ้าขัดแย้งกับความต้องการของเขาบางครั้งดื้อรั้นอย่างสุด ๆ แต่ก็เอาแน่อะไรไม่ได้ เปลี่ยนใจไปเปลี่ยนใจมาวางแผนในอนาคตไว้อย่างมากมายซึ่งยังวางไม่ทันเสร็จก็ทิ้งไปเสียก่อนเพื่อจะวางแผนอื่นที่ดูเหมือนจะทำได้ง่ายกว่ามีสมรรถภาพทางปัญญาและมีสภาวะคล้ายกับเด็ก เขามีร่างกายของชายที่แข็งแรงแต่มีอารมณ์ความรู้สึกเหมือนกับสัตว์ก่อนประสบการบาดเจ็บ แม้ว่าเขาจะไม่ได้เรียนหนังสือแต่เขาก็มีจิตใจที่สมดุล ที่คนอื่นที่รู้จักเขามองเขาว่าเป็นนักธุรกิจที่หลักแหลมและฉลาดกระตือรือร้นและอดทนที่สุดในการปฏิบัติการไปตามแผนการทำงานของตนดังนั้นจากมุมมองนี้ จิตใจของเขาได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงจนกระทั่งว่า เพื่อนและคนคุ้นเคยของเขากล่าวว่า "ไม่ใช่นายเกจอีกต่อไป"[1]:339–40

คำพรรณนาที่ได้รับการอ้างอิงถึงบ่อย ๆ นี้[36]:125 ดูเหมือนจะมีข้อมูลมาจากบันทึกของหมอฮาร์โลว์เอง ที่เขียนไว้ไม่นานหลังจากอุบัติเหตุ[2]:90,375แต่พฤติกรรมอื่นที่หมอฮาร์โลว์กล่าวไว้[2]:117-8[1]:340,345ดูเหมือนจะใช้ข้อมูลจากการติดต่อกันในภายหลังกับครอบครัวและเพื่อน ๆ ของนายเกจ[ต้องการอ้างอิง]และมันยากที่จะจับคู่พฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้(ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมากมายที่ส่อถึงความเสียหายระดับต่าง ๆ ของการทำงานในสมอง)[upper-alpha 16]กับช่วงชีวิตต่าง ๆ ของนายเกจหลังอุบัติเหตุคือจับคู่ว่า พฤติกรรมไหนเกิดขึ้นเมื่อไร[2]:90-5นี้ทำให้ยากที่จะสร้างประวัติว่า พฤติกรรมของนายเกจแปรเปลี่ยนไปตามระยะเวลาอย่างไรซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในฐานที่มีการชี้บอกว่า พฤติกรรมในช่วงท้ายชีวิตของเขาแตกต่างกันอย่างมากจากพฤติกรรม (ที่หมอฮาร์โลว์กล่าวไว้ข้างบน)ทันทีในช่วงหลังอุบัติเหตุ[28]:6-9

การฟื้นตัวทางสังคม

ในปี ค.ศ. 2008 มีการค้นพบ (1) รายงานที่ระบุว่านายเกจไม่ปรากฏความเสียหายด้านจิตใจ ในช่วงปีสุดท้ายของเขาในประเทศชิลี(จากแพทย์คนหนึ่งที่นั่นที่รู้จักเขา "ดี")และต่อจากนั้น (2) บทความหนึ่งที่อาจจะพรรณนาถึงกิจกรรมประจำวันเกี่ยวกับงานขับรถม้าของเขากับ (3) บทโฆษณาของการโชว์ตัวในที่สาธารณะที่ไม่มีใครเคยรู้กันมาก่อน หลักฐานใหม่เหล่านี้บอกเป็นนัยว่า นายเกจที่มีปัญหาอย่างรุนแรงกับการเข้ากับสังคมและการงานที่หมอฮาร์โลว์ได้พรรณนาไว้ มีอยู่แค่ชั่วคราวหลังจากอุบัติเหตุเท่านั้นคือ นายเกจในที่สุดก็สามารถ "หาวิธีดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้" ทั้ง ๆ ที่ประสบความบาดเจ็บนั้น[38]:75และในชีวิตภายหลัง มีสมรรถภาพในการทำกิจต่าง ๆ ได้ สามารถเข้าสังคมได้ ดีกว่าที่เคยคิดกันมาก่อน[10]:831

นักจิตวิทยามัลคอล์ม แม็คมิลแลนตั้งสมมุติฐานว่า ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้แสดงถึงการฟื้นตัวทางสังคมของนายเกจในช่วงเวลาสืบ ๆ มาโดยอ้างอิงถึงคนไข้อื่นที่มีลักษณะอาการบาดเจ็บที่คล้ายคลึงกันที่ "มีบุคคลบางคนหรืออะไรบางอย่างที่ให้โครงสร้างกฏเกณฑ์กับชีวิตของพวกเขา พอที่จะให้สามารถเรียนรู้ใหม่ซึ่งทักษะทางสังคมและทักษะส่วนตัวในชีวิตประจำวัน"[10]ซึ่งในกรณีของนายเกจ ก็คืองานที่มีกฎระเบียบสูงในประเทศชิลีการรอดชีวิตและการฟื้นตัวของนายเกจ แสดงทฤษฎีการฟื้นตัวอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการพยาบาลรักษาความเสียหายของสมองกลีบหน้าในปัจจุบันในการรักษาปัจจุบัน การตั้งโครงสร้างกฎระเบียบให้กับการทำกิจต่าง ๆ ของคนไข้ ยกตัวอย่างเช่น ให้ (คนไข้) จินตนาการเห็นรายการที่เขียนเอาไว้ได้รับพิจารณาว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผจญกับความเสียหายของสมองกลีบหน้าเพราะว่า งานของนายเกจที่เป็นคนขับรถม้า ได้ให้โครงสร้างกับชีวิตของเขาซึ่งช่วยในการฟื้นตัว[39]แม็คมิลแลนด์ระบุว่า ถ้าเป็นอย่างนี้จริง ๆ นอกจากจะมีผลต่อทฤษฏีต่าง ๆ แล้วนี่ "จะเพิ่มพูนหลักฐานที่มีอยู่ว่า การฟื้นสภาพสามารถเป็นไปได้แม้ในเค้สที่ยาก ที่ต้องใช้เวลานาน"[10]:831แม็คมิลแลนด์ตั้งประเด็นต่อไปอีกว่า ถ้านายเกจสามารถมีอาการดีขึ้นอย่างนี้เองโดยไม่ได้อาศัยความช่วยเหลือทางการแพทย์"แล้วอะไรล่ะ จะเป็นตัวจำกัด (ความฟื้นตัวที่เกิดจาก) โปรแกรมการฟื้นฟูสภาพที่ทำอย่างเต็มรูปแบบ (ทางการแพทย์)"[upper-alpha 17]

ความเปลี่ยนแปลงทางใจที่บิดเบียนไปจากความจริง

A moral man, Phineas Gage

คนมีศีลธรรม นายฟิเนียส์ เกจ
Tamping powder down holes for his wage
ตอกดินระเบิดลงไปในหลุมเพื่อเลี้ยงชีวิต
Blew his special-made probe
ที่ยิงเครื่องมือที่สั่งทำของเขา
Through his left frontal lobe
ทะลุผ่านสมองกลีบหน้าด้านซ้ายของเขา
Now he drinks, swears, and flies in a rage.

มาบัดนี้เขาเป็นคนขี้เมา กล่าวคำหยาบคาย และเป็นคนช่างโกรธ

-- นิรนาม[2]:307

นักจิตวิทยาแม็คมิลแลนได้ทำการวิเคราะห์บทความต่าง ๆ ที่กล่าวถึงเรื่องนายเกจ ทั้งที่เป็นบทความวิทยาศาสตร์และบทความนิยม[6]แล้วพบว่า เรื่องราวเหล่านั้นบิดเบือนและกล่าวเกินเลยถึงการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของนายเกจไม่ตรงกับคำที่บุคคลที่มีการติดต่อกับนายเกจได้พรรณนาไว้[ต้องการอ้างอิง]นักเขียนบาร์กเกอร์กล่าวไว้ว่า[4] "ยิ่งวันเวลาล่วงเลยไป เค้ส (ของนายเกจ) ก็ยิ่งมีชีวิตเป็นของตนเองเพิ่มพูนตำนานต่าง ๆ โดยที่ไม่มีหลักฐานความจริงอะไร"และแม้ในปัจจุบัน นักประวัติศาสตร์ Zbigniew Kotowicz ได้เขียนไว้ว่า"คนที่ให้ข้อคิดเห็น (เกี่ยวกับนายเกจ) โดยมาก ยังอาศัยคำเล่าลือและเรื่องที่คนอื่นกล่าวไว้เกี่ยวกับนายเกจซึ่งก็คือ หลังจากอุบัติเหตุ นายเกจได้กลายเป็น psychopath (คนอันธพาลมีความผิดปกติทางจิต)[upper-alpha 18]..."[36]

ลักษณะต่าง ๆ ที่กล่าวถึงนายเกจหลังอุบัติเหตุ มักจะไม่ได้มีหลักฐานจาก หรือบางครั้งขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่มีอยู่ รวมทั้ง การทำทารุณกรรมกับภรรยาและลูก ๆ (ซึ่งนายเกจไม่มีทั้งสองอย่าง),พฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม,"ความไม่สามารถที่จะคำนึงถึงอนาคตได้โดยประการทั้งปวง","มักโม้อวดแผลของเขา",ความไม่สามารถหรือการปฏิเสธที่จะรักษางาน (เลี้ยงชีวิต) ไว้,รวมทั้ง ขึ้เมา ขี้โม้ โกหก เล่นการพนัน ชอบชกต่อย หาเรื่องผู้อื่น ขี้ขโมย และมีพฤติกรรม "เหมือนกับไอ้คนโง่เง่า" นักจิตวิทยาแม็คมิลแลนแสดงให้เห็นว่า ไม่มีพฤติกรรมอะไร ๆ เลยในพฤติกรรมเหล่านี้ ที่มีการกล่าวถึงโดยบุคคลที่ได้พบเห็นนายเกจ หรือแม้แต่โดยครอบครัวของนายเกจเอง[ต้องการอ้างอิง]ดังที่ นักประวัติศาสตร์ Kotowicz ได้เขียนไว้ว่า"หมอฮาร์โลว์ไม่ได้แจ้งเหตุอะไร ๆ เลยที่นายเกจควรที่จะต้องอับอาย"[36]:122–3

การใช้ ใช้ผิด และไม่ใช้ เรื่องนายเกจกับทฤษฎีต่าง ๆ

นัก "วิชาการ" เกี่ยวกับ Phrenology[upper-alpha 13]ยืนยันว่า ความพินาศของอวัยวะแห่งความเคารพ (veneration) และความเมตตากรุณา (benevolence) [อยู่ที่ด้านบนข้างขวาของรูป] เป็นเหตุให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมแบบจำลองใช้สีเทียมที่แสดงวิถีประสาทในเปลือกสมองของนายเกจ ที่ได้รับความเสียหาย ตามคณะของแวน ฮอร์น[34]

แม้ว่า นายเกจจะได้รับการพิจารณาว่า เป็นเค้สดัชนีของความเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพเนื่องจากความเสียหายในสมองกลีบหน้า[4][41][42][27]คุณค่าทางวิทยาศาสตร์ของเค้สนี้ไม่สมบูรณ์ เพราะขอบเขตความเสียหายในสมองของเขาไม่มีความแน่นอน[42]และเพราะการไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของเขา[2]:290แทนที่คุณค่าเช่นนั้น นักจิตวิทยาแม็คมิลแลนได้เขียนไว้ว่า"เรื่องของนายเกจเป็นเรื่องที่น่าทรงจำไว้เพราะว่า เป็นเรื่องที่แสดงถึงความง่ายดายในการเปลี่ยนข้อเท็จจริงที่มีเพียงเล็กน้อย ไปเป็นนิทานปรัมปราทางวิทยาศาสตร์และตำนานนิยมได้"หลักฐานที่มีอยู่น้อยนิดทำให้เกิด"การฟิตทฤษฎีที่ต้องการเกือบอะไรก็ได้กับข้อเท็จจริงนิดหน่อยที่มีอยู่"[2]:290ความเป็นห่วงเช่นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1877 แล้วเมื่อนักประสาทวิทยาชาวอังกฤษ น.พ. เดวิด เฟอร์ริเออร์ (โดยเขียนไปหา ศ. น.พ. เฮ็นรี่ พิกเกอริง บาวดิช ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดปรารถนาที่จะ "ทำเค้สนี้ให้ลงเอยอย่างชัดเจน")กล่าวบ่นว่า

เมื่อตรวจสอบรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคและอาการบาดเจ็บทางสมอง

ผมล่ะอัศจรรย์ใจในความไม่ละเอียดและความบิดเบือนจากความจริงที่มาจากบุคคลที่มีทฤษฎีโปรดที่จะสนับสนุน (ทำให้) ข้อเท็จจริงนั้นเสียหายไปอย่างน่าเสียดาย...[43]

ในปี ค.ศ. 1995 ศ. น.พ. (ประสาทวิทยา) โอลิเวอร์ แซ็กซ์ กล่าวถึง "การตีความหมายและการตีความหมายผิด ๆ เริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1848 จนถึงปัจจุบัน" เกี่ยวกับเรื่องราวของนายเกจ[44]

ด้วยเหตุนี้ สำหรับข้อถกเถียงของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ว่า "กิจหน้าที่ทางใจต่าง ๆ นั้น มีเขตจำเพาะอยู่ในเปลือกสมองหรือไม่" ทั้งสองพวกต่างก็ใช้เรื่องของนายเกจมาสนับสนุนทฤษฎีของตน[4][2]:ch9ยกตัวอย่างเช่น ไม่นานหลังจาก Eugene Dupuy[45]ได้เขียนว่า นายเกจพิสูจน์ให้เห็นว่า สมองไม่มีเขตจำเพาะศ. น.พ. เฟอร์ริเออร์ก็อ้างนายเกจเป็นข้อพิสูจน์ว่า มีเขตจำเพาะ[46]แม้พวกนัก "วิชาการ" เกี่ยวกับ phrenology[upper-alpha 13] ก็ใช้เรื่องของนายเกจเหมือนกันโดยอ้างว่า ความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของเขาเกิดจากความเสียหายใน "อวัยวะแห่งความเคารพ" และ/หรือ "อวัยวะแห่งความเมตตากรุณา" ที่อยู่ใกล้ ๆ กัน[47]:194แม้ในปี ค.ศ. 1994 ศ. น.พ. ดร. แอนโทนีโอ ดามาซีโอ เพื่อจะสนับสนุนสมมุติฐาน somatic marker hypothesis (ซึ่งสัมพันธ์การตัดสินใจกับอารมณ์ความรู้สึกและกับรากฐานทางชีวภาพของอารมณ์ความรู้สึก) ของเขา ก็ได้เปรียบเทียบความคล้ายคลึงกันระหว่างพฤติกรรมที่เขาว่านายเกจมีกับพฤติกรรมของคนไข้ปัจจุบันที่มีความเสียหายใน orbitofrontal cortex และในอะมิกดะลา[26]ซึ่งนักประวัติศาสตร์ Kotowicz[36] (ปี ค.ศ. 2007) ได้วิจารณ์งานของ ศ. ดามาซีโอว่า การวาดภาพนายเกจของเขา เป็นการบิดเบือนเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ๆและการกล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตในเดือนสุดท้าย ๆ ของนายเกจว่า "เป็นเรื่องกุวิตถาร"

หรือดังที่ Kihlstrom ได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า

ผู้ให้ข้อคิดเห็นปัจจุบันหลายท่านพูดเกินความจริง เกี่ยวกับขอบเขตความเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพของนายเกจ

บางทีเป็นการสร้างเรื่องในอดีตใหม่ โดยใช้สิ่งที่เรารู้หรือคิดว่ารู้ในปัจจุบัน เกี่ยวกับหน้าที่ของสมองกลีบหน้าในการควบคุมตนเอง[48]

ตามคำของกราฟแมน มีการใช้เรื่องของนายเกจเพื่อแสดงตัวอย่างปัญหาสังคมจากคนไข้ที่มีรอยโรคที่คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (PFC) ส่วนล่างด้านใน (ventromedial)แต่ว่า ความบกพร่องที่เกิดขึ้นอาจจะได้รับการต่อเติมจากพวกนักเล่านิทาน[49]:295

Psychosurgery และ lobotomy

มักจะมีการกล่าวกันว่า[ต้องการอ้างอิง]เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนายเกจมีผลกับการพัฒนาการรูปแบบต่าง ๆ ของการผ่าตัดแบบ psychosurgery[upper-alpha 19]โดยเฉพาะอย่างยิ่ง lobotomy[upper-alpha 20][50]:341นอกจากคำถามที่ว่า ทำไมความเปลี่ยนแปลงที่ไม่น่าพึงใจที่ยกให้กับนายเกจจึงจะดึงดูดใจให้ทำการเลียนแบบโดยการผ่าตัดนักจิตวิทยาแม็คมิลแลนกล่าวว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน[2]:250 (ระหว่างเรื่องของนายเกจกับการพัฒนารูปแบบของ psychosurgery)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฟิเนียส์_พี._เกจ http://brightbytes.com/phineasgage/index.html http://brightbytes.com/phineasgage/more.html http://www.brightbytes.com/phineasgage/index.html http://www.brightbytes.com/phineasgage/new_image.h... http://books.google.com/?id=xicZAAAAYAAJ&pg=PA313#... http://books.google.com/books?id=1S0EAAAAYAAJ&pg=P... http://books.google.com/books?id=9HQIHnREqhkC&lpg=... http://books.google.com/books?id=F8UZAAAAIAAJ http://books.google.com/books?id=Qx4fMsTqGFYC&prin... http://books.google.com/books?id=XXxtmdcj_04C&prin...