ปฏิกิริยา ของ ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง

ญี่ปุ่น

บทความหลัก: ปฏิกิริยาของญี่ปุ่นกับภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ

เมืองเล็ก หมู่บ้านและเมืองใหญ่ ๆ ของญี่ปุ่นภายในและรอบ ๆ เขตยกเว้นของโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ไดอิจิ พื้นที่ในรัศมี 20 กม. และ 30 กม. มีคำสั่งให้มีการอพยพและสร้างที่พักพิง รวมทั้งเขตการปกครองเพิ่มเติมที่มีคำสั่งให้มีการอพยพถูกแสดงให้เห็นเป็นไฮไลต์ อย่างไรก็ตามความถูกต้องตามความเป็นจริงของแผนที่ดังกล่าวข้างต้นยังเป็นคำถามเพราะมีเพียงส่วนทางใต้ของอำเภอ Kawamata เท่านั้นที่มีคำสั่งให้อพยพ แผนที่ที่ถูกต้องมากกว่าก็มี

ทางการญี่ปุ่นภายหลังก็ยอมรับว่าขาดมาตรฐานที่เข้มงวดและมีการกำกับดูแลที่ไม่ดี[272] พวกเขาเอาไฟเข้ารับมือกับกรณีฉุกเฉินและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาในรูปแบบของการปิดบังและการปฏิเสธข้อมูลของความเสียหาย[272][273][274][275] เจ้าหน้าที่ถูกกล่าวหาว่า[ไม่แน่ใจพูดคุย] ต้องการจะ "จำกัดขนาดของการอพยพที่แพงและยุ่งเหยิงแผ่นดินที่หายากของญี่ปุ่นและเพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งคำถามของสาธารณชนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ที่มีอิทธิพลทางการเมือง" ความโกรธของประชาชนโผล่ออกมาผ่าน "การรณรงค์อย่างเป็นทางการ[ต้องการอ้างอิง][ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง] ครั้งหนึ่งที่ทำงานไม่เต็มสูบกับขอบเขตของการเกิดอุบัติเหตุและความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น"[274][275][276]

ในหลายกรณี ประชาชนจำนวนมากในประเทศญี่ปุ่นตัดสินปฏิกิริยาของรัฐบาลญี่ปุ่นว่าน้อยกว่าเพียงพอ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาค การชำระล้างการปนเปื้อนของอุปกรณ์เป็นไปอย่างล่าช้า ทำให้การนำไปใช้ประโยชน์ช้าไปด้วย จนถึงปลายเดือนมิถุนายน 2011 แม้แต่น้ำฝนยังทำให้เกิดความกลัวและความไม่แน่นอนในภาคตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นเนื่องจากความเป็นไปได้ของการชะล้างกัมมันตภาพรังสีจากฟากฟ้ากลับไปยังพื้นดิน[ต้องการอ้างอิง]

เพื่อระงับความกลัว รัฐบาลได้ประกาศใช้คำสั่งเพื่อชำระการปนเปื้อนในพื้นที่เป็นร้อย ๆ แห่งที่มีการปนเปื้อนในระดับของรังสีที่มากกว่าหรือเทียบเท่ากับหนึ่ง millisievert [ชี้แจงจำเป็น ว่าหนึ่งมิลลิซิลเวิตต่ออะไร] นี้เป็นเกณฑ์ที่ต่ำกว่าระดับที่จำเป็นสำหรับการปกป้องสุขภาพ รัฐบาลยังได้พยายามที่จะพูดถึงการขาดการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของรังสีและขอบเขตของมันที่คนทั่วไปได้มีการสัมผัส[277]

ฝ่ายที่สนับสนุนการสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ให้มากขึ้นก่อนหน้านี้ นายกาน ได้เพิ่มจุดยืนในการต่อต้านนิวเคลียร์มากขึ้นหลังจากภัยพิบัติ ในเดือนพฤษภาคมปี 2011 เขาได้สั่งให้โรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ Hamaoka ที่ใช้งานมานาน ปิดดำเนินการเนื่องจากความกังวลในแผ่นดินไหวและสึนามิ และกล่าวว่าเขาจะแช่แข็งแผนการก่อสร้าง ในเดือนกรกฎาคม 2011 นายกานกล่าวว่า "ญี่ปุ่นควรลดและกำจัดการพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์ในที่สุด"[278] ในเดือนตุลาคมปี 2013 เขากล่าวว่าหากตระหนักถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ประชาชน 50 ล้านคนภายในรัศมี 250 กิโลเมตรควรจะต้องมีการอพยพ[279]

เมื่อวันที่ 22 เดือนสิงหาคม 2011 โฆษกรัฐบาลกล่าวถึงความเป็นไปได้ที่บางพื้นที่รอบโรงงาน "สามารถคงสภาพเป็นเขตต้องห้ามนานหลายทศวรรษ" ตามที่โยมิอุริชิมบุน รัฐบาลญี่ปุ่นได้กำลังวางแผนที่จะซื้อทรัพย์สินบางส่วนจากการพลเรือนเพื่อการจัดเก็บขยะและวัสดุที่ได้กลายเป็นสารกัมมันตรังสีหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุ[280][281] นายจิอากิ ทากาฮาชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของญี่ปุ่นได้วิพากษ์วิจารณ์รายงานของสื่อต่างประเทศว่ามากเกินไป เขาเสริมว่าเขาสามารถ "เข้าใจความกังวลของต่างประเทศเกี่ยวกับการพัฒนาที่โรงงานนิวเคลียร์ในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีของน้ำทะเล"[282]

เนื่องจากความไม่พอใจกับ TEPCO และรัฐบาลญี่ปุ่น "ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพที่วิกฤตที่แตกต่างกัน มีความสับสน และในบางครั้งก็ขัดแย้งกัน"[283] กลุ่มของประชาชนที่เรียกว่า "Safecast" ได้บันทึกข้อมูลรายละเอียดของระดับรังสีในญี่ปุ่น[284][285] รัฐบาลญี่ปุ่น "ไม่ได้พิจารณาว่าการอ่านของหน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐบาลจะเป็นจริง" กลุ่มนี้ใช้อุปกรณ์ไกเกอร์เคาน์เตอร์ (Geiger counter) ที่เป็นมาตรฐาน เครื่องไกเกอร์เคาน์เตอร์ธรมดาเป็นเครื่องวัดการปนเปื้อนของรังสีแต่ไม่ได้เป็นเครื่องวัดปริมาณรังสี การตอบสนองจะแตกต่างกันมากระหว่างไอโซโทปรังสีที่แตกต่างกันเกินกว่าที่จะยอมให้หลอดเครื่องจีเอ็มธรรมดาเพียงหนึ่งหลอดสามารถใช้ได้ในการตรวจวัดปริมาณรังสีเมื่อมีไอโซโทปรังสีมากกว่าหนึ่งอย่าง โล่โลหะบางหนึ่งชิ้นจะถูกใช้พันรอบหลอดจีเอ็มเพื่อชดเชยพลังงานเพื่อให้มันสามารถนำไปใช้สำหรับการตรวจวัดปริมาณรังสี หลอดจีเอ็มเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับตัวปล่อยรังสีแกมมาที่เป็นห้องไอออไนซ์หรือแกมมาสเปกโตรมิเตอร์หรือตัวชดเชยพลังงาน สมาชิกของสถานีตรวจสอบอากาศที่ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ที่มหาวิทยาลัยเบิร์กเลย์แคลิฟอร์เนียได้ทำการทดสอบตัวอย่างด้านสิ่งแวดล้อมหลายตัวอย่างในภาคเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนีย[286]

นานาชาติ

บทความหลัก: ปฏิกิริยาของนานาชาติที่มีต่อภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิม่าไดอิชิ

เที่ยวบินอพยพกำลังออกจากเมืองมิซาวะเที่ยวบินมนุษยธรรมของกองทัพเรือสหรัฐกำลังได้รับการลบล้างการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี

ปฏิกิริยาระหว่างประเทศที่มีต่อภัยพิบัติมีความหลากหลายและแพร่หลาย หลายหน่วยงานระหว่างประเทศได้เสนอความช่วยเหลือทันที มักจะอยู่บนพื้นฐานที่เป็นแบบเฉพาะกิจ ผู้เสนอความช่วยเหลือรวม IAEA, องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกและคณะกรรมาธิการเตรียมการสำหรับองค์การสนธิสัญญาการห้ามทดลองนิวเคลียร์แบบครอบคลุม[287]

ในเดือนพฤษภาคมปี 2011 หัวหน้าผู้ตรวจการในการติดตั้งนิวเคลียร์ชาวสหราชอาณาจักรไมค์ Weightman ได้เดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นในฐานะผู้นำในภารกิจของผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) การค้นพบที่สำคัญของภารกิจนี้ ตามรายงานในการประชุมรัฐมนตรีของ IAEA เดือนนั้น คือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับคลื่นสึนามิในหลายพื้นที่ในญี่ปุ่นได้รับการประเมินต่ำเกินไป[288]

ในเดือนกันยายน 2011, ผู้อำนวยการทั่วไปของ IAEA นาย Yukiya Amano กล่าวว่าภัยพิบัตินิวเคลียร์ญี่ปุ่น "สร้างความวิตกกังวลของประชาชนที่ลึกทั่วโลกและทำลายความเชื่อมั่นในพลังงานนิวเคลียร์"[289][290] หลังจากเกิดภัยพิบัติ มีรายงานใน The Economist ว่า ทบวงการพลังงานปรมาณูได้ลดการประมาณการกำลังการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มเติมที่จะสร้างขึ้นภายในปี 2035 ลงครึ่งหนึ่ง[291]

ในควันหลง เยอรมนีได้เร่งแผนการที่จะปิดเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของประเทศและตัดสินใจที่จะเลิกส่วนที่เหลือภายในปี 2022[292] อิตาลีได้จัดทำประชามติระดับชาติ ซึ่งร้อยละ 94 โหวตค้านกับแผนของรัฐบาลที่จะสร้างโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์แห่งใหม่[293] ในฝรั่งเศส ประธานาธิบดี Hollande ได้ประกาศความตั้งใจของรัฐบาลที่จะลดการใช้พลังงานนิวเคลียร์ลงหนึ่งในสาม อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้รัฐบาลได้จัดสรรโรงไฟฟ้าเพียงหนึ่งโรงเท่านั้นให้มีการปิด - โรงไฟฟ้าชายแดนเยอรมันที่ Fessenheim ซึ่งใช้งานมานาน - ซึ่งทำให้บางคนตั้งคำถามถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่มีต่อสัญญาของประธานาธิบดี Hollande รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม Arnaud Montebourg มีบันทึกว่าได้พูดว่า Fessenheim จะเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เพียงแห่งเดียวที่จะถูกปิด

ในการไปเยือนประเทศจีนในเดือนธันวาคม เขาให้ความมั่นใจอีกครั้งกับผู้ฟังของเขาว่าพลังงานนิวเคลียร์เป็น "ภาคของอนาคต" และจะยังคงมีส่วนร่วมต่อไป "อย่างน้อย 50%" ของการผลิตพลังงานไฟฟ้าของฝรั่งเศส[294]

สมาชิกอีกคนหนึ่งของพรรคสังคมนิยมของ Hollande - สส. คริสเตียน Bataille กล่าวว่าแผนการที่จะลดนิวเคลียร์ถูกฟูมฟักให้เป็นวิธีการเพื่อความมั่นคงในการรับความสนับสนุนจากกลุ่มพันธมิตรสีเขียวของเขาในรัฐสภา[295]

แผนการใช้พลังงานนิวเคลียร์ไม่ได้ถูกทอดทิ้งในประเทศมาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, คูเวตและบาห์เรน หรือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงเช่นในไต้หวัน จีนได้ระงับโครงการพัฒนานิวเคลียร์ในเวลาสั้น ๆ แต่มีการเริ่มต้นใหม่หลังจากนั้นไม่นาน การจัดทำแผนเบื้องต้นก็เพื่อการเพิ่มการมีส่วนร่วมในนิวเคลียร์จาก 2 ไปเป็น 4 เปอร์เซนต์ของการผลิตไฟฟ้าในปี 2020 กับโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นหลังจากนั้น พลังงานหมุนเวียนจะจ่ายร้อยละ 17 ของการผลิตไฟฟ้าของจีน, 16% ในนั้นเป็นไฟฟ้าพลังน้ำ จีนวางแผนที่จะเพิ่มการผลิตพลังงานนิวเคลียร์เป็นสามเท่าจนถึงปี 2020 และเพิ่มอีกสามเท่าระหว่างปี 2020 และปี 2030[296]

โครงการนิวเคลียร์ใหม่กำลังดำเนินการในบางประเทศ บริษัท KPMG รายงานว่ามี 653 โรงงานนิวเคลียร์ใหม่มีการวางแผนหรือนำเสนอว่าจะแล้วเสร็จในปี 2030[297] ภายในปี 2050 ประเทศจีนหวังที่จะมี 400-500 กิกะวัตต์ของกำลังการผลิตนิวเคลียร์ - 100 เท่ามากขึ้นกว่าที่มีในขณะนี้[298] รัฐบาลอนุรักษ์นิยมของสหราชอาณาจักร มีการวางแผนการขยายตัวของนิวเคลียร์ที่สำคัญแม้จะมีการคัดค้านของประชาชนอย่างกว้างขวาง[ต้องการอ้างอิง] รัสเซียก็เช่นกัน[ต้องการอ้างอิง] อินเดียก็มีการกดดันไปข้างหน้าด้วยโครงการนิวเคลียร์ที่มีขนาดใหญ่เช่นกัน เกาหลีใต้ก็ด้วย[299] รองประธานาธิบดีอินเดีย นาย M ฮามิด อันซารีกล่าวเร็ว ๆ นี้[300][301]

การสืบสวน

NAIIC

บทความหลัก: คณะกรรมการสอบสวนอิสระเพื่ออุบัติเหตุนิวเคลียร์ฟุกุชิมะของรัฐสภาแห่งชาติญี่ปุ่น

คณะกรรมการสอบสวนอิสระเพื่ออุบัติเหตุนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ (NAIIC) เป็นคณะกรรมการสอบสวนที่เป็นอิสระชุดแรกโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติในประวัติศาสตร์ 66 ปีของรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญของประเทศญี่ปุ่น

ฟุกุชิมะ "ไม่สามารถถือได้ว่าเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติ" ประธานคณะลูกขุนของ NAIIC ศาสตราจารย์กิตติคุณของมหาวิทยาลัยโตเกียว นายคิโยชิ Kurokawa เขียนไว้ในรายงานการสอบสวน "มันเป็นภัยพิบัติที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างสุด ๆ -.. ที่สามารถและน่าจะมีการคาดการณ์และป้องกันได้ และผลกระทบของมันน่าจะได้รับการบรรเทาโดยการตอบสนองของมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น"[302] "รัฐบาลหน่วยงานกำกับดูแลและบริษัทไฟฟ้าโตเกียว [TEPCO] ขาดความรับผิดชอบในการปกป้องชีวิตและสังคมของผู้คน" คณะกรรมการกล่าว "พวกเขาได้ทรยศอย่างมีประสิทธิภาพต่อสิทธิของประเทศที่จะปลอดภัยจากการเกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์"[303]

คณะกรรมการได้ยอมรับว่าผู้อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบยังคงดิ้นรนและต้องเผชิญกับความกังวลแทบตาย รวมทั้ง "ผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสรังสี การย้ายถิ่นฐาน การสลายตัวของครอบครัว การหยุดชะงักของชีวิตและไลฟ์สไตล์ของพวกเขาและการปนเปื้อนในพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลของสิ่งแวดล้อม"

คณะกรรมการสอบสวน

บทความหลัก: คณะกรรมการสอบสวนเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะของ บริษัทไฟฟ้าโตเกียว

วัตถุประสงค์ของ'คณะกรรมการสอบสวนเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้​​าฟุกุชิมะนิวเคลียร์' (ICANPS) คือการระบุสาเหตุการเกิดภัยพิบัติและนำเสนอนโยบายที่ออกแบบมาเพื่อลดความเสียหายและป้องกันการเกิดซ้ำของเหตุการณ์ที่คล้ายกัน[304] คณะลูกขุน 10 คนที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล รวมถึงนักวิชาการ นักข่าว นักกฎหมายและวิศวกร[305][306] ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยอัยการสาธารณะและผู้เชี่ยวชาญของรัฐบาล[307] และเผยแพร่รายงานการสอบสวนสุดท้ายยาว 448 หน้า[308]เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2012[33][309]

รายงานของคณะลูกขุนตำหนิระบบทางกฎหมายที่ไม่เพียงพอสำหรับการจัดการวิกฤตนิวเคลียร์ ระส่ำระสายจากวิกฤตการณ์ของคำสั่งที่เกิดจากรัฐบาลและ TEPCO และแทรกแซงส่วนเกินที่เป็นไปได้ในส่วนของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในช่วงเริ่มต้นของภาวะวิกฤต"[310] คณะลูกขุนสรุปว่าวัฒนธรรมของความพึงพอใจในความปลอดภัยนิวเคลียร์และการจัดการวิกฤตที่ไม่ดีได้นำไปสู่​​การเกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์[305]

ใกล้เคียง

ภัยพิบัติเชียร์โนบีล ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง ภัยพิบัติแห่งอียิปต์ ภัยพิบัติทางอากาศมิวนิก ภัยพิบัติกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์ ภัยพิบัติท่าอากาศยานเตเนริเฟ ภัยพิบัติสนามกีฬากันจูรูฮัน ภัยพิบัติกอสตากอนกอร์เดีย ภัยพิบัติเรือผู้อพยพในเมซีนีอา พ.ศ. 2566 ภัยพิบัติฮิลส์โบโร

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง http://www.heraldsun.com.au/news/special-reports/o... http://www.news.com.au/world/neon-city-goes-dim-as... http://www.smh.com.au/world/fukushima-nuclear-acci... http://www.smh.com.au/world/japan-starts-up-offsho... http://canceraustralia.gov.au/affected-cancer/canc... http://www.engineersaustralia.org.au/shadomx/apps/... http://www.ctv.ca/CTVNews/TopStories/20120217/japa... http://www.j.sinap.ac.cn/nst/EN/article/downloadAr... http://www.aljazeera.com/news/asia-pacific/2012/07... http://www.aljazeera.com/news/asia-pacific/2012/07...