ปฏิกิริยา ของ ภาพเหมือนของมาดามเอ็กซ์

อันโทนิโอ เดอ ลา กันดารา, “มาดามปิแยร์ โกโทร”, ค.ศ. 1898

ขณะที่งานอยู่ในระหว่างการเขียนเวอร์จินีก็มีความรู้สึกตื่นเต้น เพราะเชื่อว่าซาร์เจนท์กำลังเขียนงานชิ้นเอก[17] เมื่อภาพเขียนตั้งแสดงเป็นครั้งแรกที่งานนิทรรศการศิลปะแห่งปารีส ในปี ค.ศ. 1884 ภายใต้ชื่อ “ภาพเหมือนของมาดาม ***” ผู้เข้าชมต่างก็ตกตลึงไปตามๆ กันและกลายเป็นภาพที่สร้างความอื้อฉาว ความพยายามที่จะไม่เปิดเผยชื่อของผู้เป็นแบบก็ล้มเหลว มารดาของเวอร์จินีขอร้องให้ซาร์เจนท์ดึงภาพออกจากงานแสดง ซาร์เจนท์ปฏิเสธโดยกล่าวว่าตนได้เขียนภาพ “ตรงตามที่[เวอร์จินี]แต่งตัว และสิ่งที่พูดถึงกันมิได้เลวไปกว่าสิ่งที่ปรากฏบนผืนผ้าใบ”[18] ต่อมาซาร์เจนท์ก็เขียนแก้สายคาดใหล่ที่หลุดลงมาใหม่ให้อยู่บนใหล่อย่างแน่นหนา และเปลี่ยนชื่อภาพเขียนเป็น “ภาพเหมือนของมาดามเอ็กซ์”— ชื่อที่ทำให้ภาพเป็นภาพที่แสดงความกล้า, ความเป็นนาฏกรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีเสน่ห์และมนตร์ขลัง นอกจากนั้นการไม่ระบุว่าเป็นผู้ใดก็ทำให้เป็นภาพที่ปราศจากการเจาะจงที่เป็นนัยยะของลักษณะของสตรีลักษณะหนึ่งโดยทั่วไป (woman archetype)

ทั้งซาร์เจนท์และเวอร์จินีต่างก็ผิดหวังในปฏิกิริยาที่ได้รับจากนักวิพากษ์และผู้ชม เวอร์จินีได้รับความอับอายขายหน้า ส่วนซาร์เจนท์ไม่นานก็ย้ายไปตั้งถิ่นฐานในลอนดอนเป็นการถาวร

ใกล้เคียง

ภาพเหมือนตนเอง ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี ภาพเหมือนผู้อุทิศ ภาพเหมือน ภาพเหมือนของมาดามเอ็กซ์ ภาพเหมือนของนายแพทย์กาแช ภาพเหมือนของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?) ภาพเหมือนของหญิงสาว (ลา ฟอร์นารินา) ภาพเหมือนของมาฟเฟโอ บาร์เบอรินิ (คาราวัจโจ)