เนื้อหาของภาพ ของ ภาพเหมือนของมาดามเอ็กซ์

ซาร์เจนท์ภายในห้องเขียนภาพที่ปารีส ราว ค.ศ. 1885

“ภาพเหมือนของมาดามเอ็กซ์” เป็นภาพที่แสดงแสดงความเด่นของบริเวณผิวที่ขาวจัด — ตั้งแต่หน้าผากเรื่อยลงมาถึงคอระหง, ไหล่ และแขน แม้ว่าเครื่องแต่งกายจะดูท้าทายแต่ก็เป็นสีดำและดูลึกลับ สีรอบตัวเป็นสีน้ำตาลที่สว่างพอที่จะช่วยขับสีผิวให้เรืองรองขึ้น แต่สิ่งที่เด่นในภาพนี้คือความขาวของผิว ที่เรียกได้ว่าเป็นสี “ขาวผู้ดี” (aristocratic pallor) แต่หูสีออกแดงเป็นเครื่องเตือนให้เห็นสีผิวส่วนที่ไม่ได้ทำให้ขาวผ่อง[13]

ซาร์เจนท์เลือกการวางท่าอย่างพิถีพิถัน ร่างทั้งร่างหันมาทางผู้ดูแต่ใบหน้าหันไปทางด้านข้าง ซึ่งทั้งแสดงความมั่นใจในตนเองในขณะเดียวกับที่กึ่งซ่อนเร้น ใบหน้าอีกครึ่งหนึ่งซ่อนอยู่แต่ส่วนที่เห็นก็เป็นใบหน้าที่ดูเหมือนจะให้ความหมายมากกว่าการที่จะเขียนทั้งใบหน้า

โต๊ะทางซ้ายของภาพเป็นที่อิงรับ และช่วยเน้นความโค้งเว้าของร่างกาย ในสมัยนั้นการว่าท่าเช่นว่าถือว่าเป็นการท้าทายทางเพศ ภาพเดิมที่เขียนสายคาดไหล่ข้างหนึ่งหลุดลงมาจากบ่าขวาที่เป็นท่าทางอันเป็นนัยยะของความเป็นไปได้ถึงสิ่งที่จะตามมา; นักวิพากษ์ของ Le Figaro กล่าวว่า “ถ้าไหวตัวอีกนิด สตรีผู้เป็นแบบก็คงจะเป็นอิสระ” (อาจจะเป็นได้ว่านักวิพากษ์ไม่ทราบว่าชุดที่สวมเป็นผ้าที่เย็บบนโครงที่ทำด้วยกระดูกวาฬ และไม่มีทางที่จะหลุดจากร่าง สายคาดไหล่เป็นแต่เพียงเครื่องตกแต่งเท่านั้น)

ภาพที่ยั่วยวนอารมณ์เป็นเชิงภาพของชนชั้นสูงที่มีผิวขาวนวลผิดธรรมชาติ เอวกิ่ว ความโค้งเว้าที่เห็นได้ชัดแจ้ง และการเน้นรูปร่างลักษณะที่ถือกันว่าเป็นลักษณะของผู้เป็นชนชั้นสูงที่มีนัยยะของความเป็นสตรีแต่อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เป็นแบบ แทนที่จะปล่อยให้ผู้ดูชื่นชมด้วยความพึงพอใจโดยไม่มีขอบเขต[14]

ที่มาของท่าอาจจะมาจากการวางท่าแบบคลาสสิก เช่นในจิตรกรรมฝาผนังโดยฟรานเชสโค เดอ รอซซิที่กล่าวกันว่าอาจจะเป็นที่มาของการวางท่านี้[15] นอกจากนั้นภาพในภาพเองก็มีนัยยะอื่นถึงคลาสสิก: บนขาโต๊ะแต่งด้วยไซเรนส์จากตำนานเทพกรีก และมงกุฎพระจันทร์เสี้ยวที่เวอร์จินีสวมที่เป็นนัยยะถึงเทพีไดแอนนา ซึ่งไม่ใช่ความคิดของซาร์เจนท์ แต่เป็นการแสดงตนเองของเวอร์จินี[16]

ใกล้เคียง

ภาพเหมือนตนเอง ภาพเหมือนอาร์นอลฟีนี ภาพเหมือนผู้อุทิศ ภาพเหมือน ภาพเหมือนของมาดามเอ็กซ์ ภาพเหมือนของนายแพทย์กาแช ภาพเหมือนของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ภาพเหมือนของชายคนหนึ่ง (ภาพเหมือนตนเอง?) ภาพเหมือนของหญิงสาว (ลา ฟอร์นารินา) ภาพเหมือนของมาฟเฟโอ บาร์เบอรินิ (คาราวัจโจ)