เหตุ ของ ภาวะกรดยูริกเกินในเลือด

ปัจจัยต่าง ๆ มีผลต่อภาวะกรดยูริกเกินในเลือด รวมทั้งกรรมพันธุ์ ความดื้ออินซูลิน ภาวะเหล็กเกิน ความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน ไตวาย โรคอ้วน อาหาร การใช้ยาขับปัสสาวะ (เช่น thiazide, loop diuretic) และการบริโภคแอลกอฮอล์มากเกิน[5]ในบรรดาปัจจัยเหล่านี้ การบริโภคแอลกอฮอล์จะสำคัญที่สุด[6]

เหตุของภาวะสามารถจัดเป็น 3 กลุ่ม คือ[7]การผลิตกรดยูริกเพิ่ม การถ่ายกรดยูริกออกน้อยลง และแบบผสมเหตุของการผลิตเพิ่มรวมทั้งการได้พิวรีนจากอาหารสูงและการเพิ่มเมแทบอลิซึมของพิวรีนเหตุของการถ่ายกรดออกน้อยลงรวมทั้งโรคไต ยาบางชนิดและโมเลกุลอื่น ๆ ที่แย่งกันในการขับถ่ายเหตุผสมรวมทั้งการทานแอลกอฮอล์หรือฟรักโทสมาก และการขาดอาหาร

การผลิตกรดยูริกเพิ่ม

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: กรดยูริก § กรดยูริกสูง และ กรดยูริก § โรคเกาต์

แม้อาหารที่สมบูรณ์ด้วยพิวรีนจะเป็นเหตุสามัญ แต่ก็ยังเป็นเหตุรองเพราะอาหารเพียงอย่างเดียวไม่พอเป็นเหตุให้กรดยูริกเกินในเลือดปริมาณพิวรีนในอาหารจะต่าง ๆ กันและอาหารที่สูงไปด้วยพิวรีนแบบ adenine และ hypoxanthine ก็อาจทำภาวะกรดยูริกเกินในเลือดให้แย่ลงได้มากกว่า[8]

กรดยูริกในเลือดสูงแบบนี้ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามัญของการปลูกถ่ายอวัยวะ[9]นอกจากความต่าง ๆ กันที่เป็นปกติเนื่องจากปัจจัยทางพันธุกรรม กลุ่มอาการอาการเนื้องอกสลาย (Tumor lysis syndrome) จะทำให้กรดยูริกสูงมากจนกระทั่งไตอาจวายกลุ่มอาการ Lesch-Nyhan syndrome ก็ยังสัมพันธ์กับกรดยูริกในระดับสูงมากด้วย

การขับถ่ายกรดยูริกลดลง

ยาหลัก ๆ ที่มีบทบาทให้เกิดกรดยูริกเกินในเลือดโดยลดการขับถ่าย ก็คือยากลุ่ม antiuricosuric (เป็นยาเพิ่มกรดยูริกในเลือดและลดกรดยูริกในปัสสาวะ)ยาและสารกัมมันต์อื่น ๆ รวมทั้งยาขับปัสสาวะ, salicylate, pyrazinamide, ethambutol, กรดนิโคตินิก, ciclosporin, 2-ethylamino-1,3,4-thiadiazole, และสารกัมมันต์ที่เป็นพิษต่อเซลล์ (cytotoxic agent)[10]

SLC2A9 เป็นยีนเข้ารหัสโปรตีนที่ช่วยขนส่งกรดยูริกในไตซิงเกิลนิวคลีโอไทด์โพลีมอร์ฟิซึมหลายแบบของยีนนี้ มีสหสัมพันธ์ที่สำคัญกับระดับกรดยูริกในเลือด[11]ภาวะกรดยูริกเกินในเลือดที่มักสืบทอดร่วมกับโรคกระดูกเปราะกรรมพันธุ์ (osteogenesis imperfecta) พบว่า สัมพันธ์กับการกลายพันธุ์ในยีน GPATCH8 ซึ่งตรวจโดยเทคนิค exome sequencing[12]

โปรแกรมอาหารแบบ ketogenic diet[upper-alpha 1] จะขัดขวางไม่ให้ไตขับกรดยูริก เนื่องจากการแย่งการขนส่งระหว่างกรดยูริกและคีโทน[13]

ระดับตะกั่วที่เพิ่มขึ้นในเลือดมีสหสัมพันธ์อย่างสำคัญกับทั้งสภาพไตเสื่อมและภาวะกรดยูริกเกินในเลือด แม้ความเป็นเหตุผลระหว่างปัจจัยเหล่านี้จะยังไม่ชัดเจนในงานศึกษากับคนไต้หวัน 2,500 คน ระดับตะกั่วในเลือดที่เกิน 7.5 microg/dL (ซึ่งสูงกว่าปกติเล็กน้อย) มีอัตราส่วนปัจจัยเสี่ยง (odds ratio) ที่ 1.92 (95% CI: 1.18-3.10) สำหรับการทำงานผิดปกติขอ'ไต และ 2.72 (95% CI: 1.64-4.52) สำหรับภาวะกรดยูริกเกินในเลือด[14][15]

แบบผสม

เหตุของภาวะกรดยูริกเกินในเลือดแบบผสมจะทั้งเพิ่มการผลิตกรดและลดการขับถ่ายการบริโภคแอลกอฮอล์ (เอทานอล) จำนวนมากเป็นเหตุสำคัญของภาวะ และทำการทั้งสองอย่างโดยกลไกหลายอย่างคือเพิ่มการผลิตกรดยูริกโดยเพิ่มการผลิตกรดแล็กติก และทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดแล็กติกเอทานอลยังเพิ่มความเข้มข้นของ hypoxanthine และ xanthine ในน้ำเลือดด้วย ผ่านการเร่งสลาย adenine nucleotide และอาจเป็นสารยับยั้งเอนไซม์ xanthine dehydrogenase อย่างอ่อน ๆเบียร์ก็มีพิวรีนด้วยโดยเป็นผลข้างเคียงของการหมัก เอทานอลจะลดการขับถ่ายกรดยูริกโดยส่งเสริมภาวะขาดน้ำและ (แม้น้อยมาก) ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโทน (ketoacidosis) ในระดับคลินิก[6]

การทานน้ำตาลฟรักโทสมากจะมีผลอย่างสำคัญต่อภาวะกรดยูริกเกินในเลือด[16][17][18]ในงานศึกษาขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา การดื่มน้ำอัดลมหวาน ๆ มากกว่า 4 หน่วยต่อวันจะมีผลเป็นอัตราส่วนปัจจัยเสี่ยง (odds ratio) มีภาวะกรดยูริกเกินในเลือดที่ 1.82[19]เมแทบอลิซึมของฟรักโทสจะรบกวนเมแทบอลิซึมของพิวรีนมีผลให้ผลิตกรดเพิ่มขึ้นโดยมีผลสองอย่าง คือ (1) เพิ่มการเปลี่ยน ATP เป็น inosine และจึงเพิ่มกรดยูริก (2) เพิ่มการสงเคราะห์พิวรีน[20]ฟรักโทสยังห้ามการถ่ายกรดยูริกออก โดยแข่งกับกรดยูริกเพื่อให้ได้โปรตีนขนส่งคือ SLC2A9[21]การลดการขับกรดยูริกออกของฟรักโทส จะเพิ่มขึ้นในบุคคลที่เสี่ยงทางพันธุกรรมต่อการมีภาวะกรดยูริกเกินในเลือด และ/หรือโรคเกาต์[20]

ส่วนการอดอาหารจะเป็นเหตุให้ร่างกายเผาผลาญเนื้อเยื่อของตนเองที่สมบูรณ์ไปด้วยพิวรีนเพื่อพลังงานดังนั้น เหมือนกับอาหารที่มีพิวรีนมาก การอดอาหารจะเพิ่มปริมาณของพิวรีนที่แปลงเป็นกรดยูริกอาหารที่มีแคลอรีต่ำมากและไม่มีคาร์โบไฮเดรตอาจทำให้เกิดภาวะกรดยูริกเกินในเลือดอย่างรุนแรงดังนั้น การมีอาหารเป็นคาร์โบไฮเดรตบ้างและลดโปรตีน จะช่วยลดกรดยูริก[22]การอดอาหารยังทำให้ไตไม่สามารถกำจัดกรดยูริก เนื่องจากการแข่งขันเพื่อโปรตีนขนส่งระหว่างกรดยูริกกับคีโทน[23]

ใกล้เคียง

ภาวะกรดยูริกเกินในเลือด ภาวะกรดมาโลนิกและกรดเมทิลมาโลนิกในปัสสาวะ ภาวะกะเทยแท้ ภาวะการมีบุตรยาก ภาวะกรดเกิน ภาวะการเปียก ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการเพราะสมองน้อยพิการ ภาวะกลืนลำบาก ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกปลอม ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะกรดยูริกเกินในเลือด http://www.clevelandclinicmeded.com/medicalpubs/di... http://www.diseasesdatabase.com/ddb5375.htm http://www.emedicine.com/med/topic1112.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=790.... http://www.nutritionandmetabolism.com/content/7/1/... http://www.healthcare.uiowa.edu/pharmacy/RxUpdate/... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2494626 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3226106 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15641045 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15936302