การรักษา ของ ภาวะเสียการระลึกรู้

โดยแนวการปฏิบัติ ไม่มีวิธีรักษาโดยตรงสำหรับผู้มีภาวะนี้ คนไข้อาจจะกระเตื้องขึ้นถ้าแสดงตัวกระตุ้นให้ทางประสาทอื่นที่ไม่ได้เสียหาย การบำบัดบางอย่างอาจช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ของภาวะนี้ ในบางกรณี กิจกรรมบำบัดหรือการบำบัดวจีเภท (speech therapy) สามารถทำภาวะนี้ให้ดีขึ้น โดยขึ้นอยู่กับสมุฏฐานของโรค

ในเบื้องต้น คนไข้หลายท่านที่มีภาวะเสียการระลึกรู้บางประเภท อาจจะไม่รู้ถึงระดับขอบเขตของความบกพร่องในการรับรู้หรือการรู้จำของตน ซึ่งอาจเป็นเพราะมีภาวะเสียสำนึกความพิการ (Anosognosia) ที่คนไข้ปราศจากการรับรู้ความบกพร่องนั้น และทำให้คนไข้ปฏิเสธหรือต่อต้านการช่วยเหลือและการรักษา

มีวิธีหลายอย่างที่สามารถช่วยคนไข้ให้รู้ถึงความเสียหายในการรับรู้หรือการรู้จำที่มี เช่น แสดงตัวกระตุ้นเพียงแต่ในทางประสาทที่คนไข้มีปัญหาเท่านั้น เพื่อช่วยเพิ่มความรู้สึกตัวถึงความบกพร่องของตน หรืออีกวิธีหนึ่งโดยเฉพาะสำหรับกิจกรรมที่คนไข้มีปัญหา คือให้แยกกิจกรรมนั้นเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อชี้ให้คนไข้เห็นว่า มีปัญหาอยู่ที่ส่วนไหน

เมื่อคนไข้ยอมรับว่ามีความบกพร่องทางการรับรู้หรือการรู้จำ จึงอาจแนะนำการรักษาแบบใดแบบหนึ่ง กลวิธีการรักษาที่สามารถช่วยได้นั้นมีหลายอย่าง เช่น กลวิธีการทดแทนโดยใช้ทางประสาทอื่น กลวิธีคำพูด กลวิธีตัวช่วยอย่างอื่น หรือกลวิธีการจัดระเบียบ

กลวิธีการทดแทนโดยใช้ทางประสาทอื่น

กลวิธีทดแทนโดยใช้ทางประสาทอื่น คือการใช้ทางประสาทที่ไม่เสียหายเพื่อทดแทนทางประสาทที่เสียหาย ยกตัวอย่างเช่น คนไข้ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตาอาจจะใช้ข้อมูลสัมผัสแทนที่ข้อมูลทางตา หรือว่า คนไข้ภาวะบอดใบหน้าอาจใช้ข้อมูลทางหูเพื่อทดแทนข้อมูลทางตา ตัวอย่างเช่น คนไข้ภาวะบอดใบหน้าสามารถรอให้บุคคลเป้าหมายพูด เพื่อที่จะรู้จำบุคคลนั้นได้จากการพูด[5]

กลวิธีคำพูด

กลวิธีคำพูดอาจช่วยผู้มีภาวะเสียการระลึกรู้บางอย่าง คนไข้ภาวะบอดใบหน้าอาจได้ประโยชน์ในการฟังคำพรรณนาถึงเพื่อนๆ และสมาชิกในครอบครัว แล้วรู้จำบุคคลเหล่านั้นด้วยลักษณะต่างๆ ในคำพรรณนานั้น ซึ่งอาจง่ายกว่าการสังเกตลักษณะอื่นๆ เองทางตา[5]

กลวิธีตัวช่วยอย่างอื่น

กลวิธีตัวช่วยอย่างอื่นอาจจะมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้มีภาวะไม่รู้สิ่งแวดล้อม (Environmental Agnosia) หรือภาวะบอดใบหน้า ตัวช่วยสำหรับผู้มีภาวะไม่รู้สิ่งแวดล้อมอาจจะเป็นสีหรือตัวช่วยทางสัมผัส ที่เป็นสัญลักษณ์สำหรับห้องใหม่ๆ หรือเขตและพื้นที่เพื่อช่วยกระตุ้นความทรงจำ ส่วนตัวช่วยสำหรับคนไข้ภาวะบอดใบหน้ามีลักษณะที่ไม่ทั่วไปเป็นต้นว่า แผลเป็นบนใบหน้าหรือฟันที่คด เพื่อจะช่วยให้รู้จำบุคคลนั้นได้[5]

กลวิธีการจัดระเบียบ

กลวิธีการจัดระเบียบอาจจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับคนไข้ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา (visual agnosia) ตัวอย่างเช่น จัดระเบียบเสื้อผ้าโดยใช้ที่แขวนที่แตกต่างกันเพื่อเป็นตัวช่วยทางสัมผัส ทำให้ง่ายในการหาเสื้อผ้าบางชนิด เปรียบเทียบกับการอาศัยเพียงแต่ตัวช่วยทางตาเท่านั้น[5]

ใกล้เคียง

ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเสียการระลึกรู้ ภาวะเหล็กเกิน ภาวะเลือดจาง ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา ภาวะเงินฝืด ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน ภาวะเพศกำกวม ภาวะเสียการอ่านเข้าใจ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาวะเสียการระลึกรู้ http://brainmind.com/Agnosia.html http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S00283... http://www.emedicine.com/agnosia/topic.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=784.... http://thomasland.metapress.com/content/n13kykyq3x... http://www.newyorker.com/archive/content/articles/... http://dictionary.reference.com/browse/agnosia http://dictionary.webmd.com/terms/agnosia http://www.ninds.nih.gov/disorders/agnosia/agnosia... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1737727