ไวยากรณ์ ของ ภาษาทมิฬ

บทความหลัก:ไวยากรณ์ภาษาทมิฬ

ไวยากรณ์ภาษาทมิฬส่วนใหญ่ได้บรรยายไว้ในตำราไวยากรณ์เก่าสุด "โตลกาปปิยัม" การเขียนภาษาทมิฬสมัยใหม่ใช้ตามตำราไวยากรณ์ เมื่อราว พ.ศ. 1800 Nannūl ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปจากโตลกาปปิยัมบ้าง ภาษาทมิฬโบราณแบ่งเป็น5ส่วนคือ eluttu, col, porul, yāppu และ ani สองส่วนหลังมักใช้ในวรรณคดี

ภาษาทมิฬเป็นภาษารูปคำติดต่อเช่นเดียวกับตระกูลภาษาดราวิเดียนอื่น ๆ คำภาษาทมิฬประกอบด้วยรากศัพท์ ซึ่งจะต่อท้ายด้วยปัจจัย 1 ตัวหรือมากกว่า ปัจจัยเหล่านี้มีทั้งที่เปลี่ยนความหมายหรือชนิดของคำ และปัจจัยที่แสดงการผันตามบุคคล จำนวน มาลาและกาล ไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับความยาวของการเติมปัจจัย ทำให้มีการสร้างคำขนาดยาว ประกอบด้วยปัจจัยหลายตัวได้

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาทมิฬ http://books.google.com/books?id=2Qwf3pAxJpUC&pg=P... http://www.hindu.com/2005/10/28/stories/2005102809... http://www.languageinindia.com/feb2004/multilingua... http://www.languageinindia.com/feb2007/northeaster... http://www.languageinindia.com/nov2004/tamilglobal... http://www.lib.berkeley.edu/SSEAL/SouthAsia/overvi... http://ccat.sas.upenn.edu/~haroldfs/540/handouts/s... http://ccat.sas.upenn.edu/~haroldfs/messeas/diglos... http://news.bbc.co.uk/2/hi/south_asia/3667032.stm