ประวัติ ของ ภาษาทมิฬ

จารึกภาษาทมิฬในวิหารพริหเทสวระ ในทันชวุร

หลักฐานเริ่มแรกของภาษทมิฬมีอายุราว พ.ศ. 243 ภาษานี้พบในอินเดียในฐานะภาษาที่มีวรรณกรรมมากในยุคสันคัม (พ.ศ. 243 - 843) เป็นภาษาที่พบในจารึกมากที่สุดในเอเชียใต้ โดยพบถึง 30,000 ชิ้น วรรณกรรมภาษาทมิฬในยุคสันคัมเป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดของตระกูลภาษาดราวิเดียนด้วย การเก็บรักษาวรรณกรรมในอินเดียมี 2 แบบคือ เขียนลงบนใบลานหรือท่องจำแบบมุขปาฐะ นักวิชาการของภาษาทมิฬแบ่งภาษาออกเป็นสามยุคคือ ภาษาทมิฬโบราณ ภาษาทมิฬยุคกลาง ภาษาทมิฬยุคใหม่

ภาษาทมิฬโบราณ

จารึกภาษาทมิฬที่เก่าที่สุดพบราว พ.ศ. 243 เขียนด้วยอักษรทมิฬ-พราหมีที่พัฒนามาจากอักษรพราหมี[1] ไวยากรณ์ที่เก่าที่สุดคือ โตลกาปปิยัม (Tolkāppiyam) ซึ่งบรรยายเกี่วกับกวีและไวยากรณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายุคคลาสสิกของภาษานี้อยู่ระหว่าง พ.ศ. 243 - 1043 วรรณคดีในยุคสันคัม พบบทกวีกว่า 50,000 บรรทัด เขียนโดยกวี 473 คน รวมทั้งกวีที่เป็นสตรีด้วย ส่วนใหญ่ใช้ในการขับร้อง

ภาษาทมิฬโบราณหลังยุคสันคัม มีวรรณคดีที่สำคัญอยู่ 5 เรื่อง ได้แก่ สิลิปปติการัม มนิเมกาลัย สีวกจินตามนิ วลัยยปฐี และกุนทลเกสิ ซึ่งถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่

ภาษาทมิฬยุคกลาง

ยุคนี้เป็นยุคภักติ วรรณกรรมสำคัญคือรามายณะภาคภาษาทมิฬในชื่อ กัมพะ รามายณัม (พุทธศตวรรษที่ 17) ในช่วงท้ายของยุคนี้ ราวพุทธศตวรรษที่ 19-21 ภาษาทมิฬถูกทำให้เป็นสันสกฤต มากขึ้น เกิดภาษาผสมขึ้นมา

ภาษาทมิฬยุคใหม่

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 เกิดขบวนการทมิฬบริสุทธิ์เรียกร้องให้นำส่วนที่มาจากภาษาสันสกฤตและภาษาอื่น ๆ ออกไปจากภาษาทมิฬ แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจากพรรคดราวิเดียนและนักชาตินิยมที่เรียกร้องเอกราชของทมิฬ มีการแทนที่คำยืมจากภาษาสันสกฤตด้วยคำจากภาษาทมิฬที่มีความหมายเหมือนกัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภาษาทมิฬ http://books.google.com/books?id=2Qwf3pAxJpUC&pg=P... http://www.hindu.com/2005/10/28/stories/2005102809... http://www.languageinindia.com/feb2004/multilingua... http://www.languageinindia.com/feb2007/northeaster... http://www.languageinindia.com/nov2004/tamilglobal... http://www.lib.berkeley.edu/SSEAL/SouthAsia/overvi... http://ccat.sas.upenn.edu/~haroldfs/540/handouts/s... http://ccat.sas.upenn.edu/~haroldfs/messeas/diglos... http://news.bbc.co.uk/2/hi/south_asia/3667032.stm