สำเนียงย่อยของภาษาอาหรับปาเลสไตน์ ของ ภาษาอาหรับปาเลสไตน์

ภาษาอาหรับปาเลสไตน์แบ่งเป็นสามกลุ่มคือ สำเนียงในเมือง สำเนียงชนบทและสำเนียงเบดูอิน สำเนียงในเมืองเป็นสำเนียงที่ใกล้เคียงกับภาษาอาหรับเลอวานต์ทางเหนือมากที่สุด ส่วนสำเนียงเบดูอินใกล้เคียงกับสำเนียงทางคาบสมุทรอาหรับ ความแตกต่างที่สำคัญได้แก่

  • การออกเสียง qāf เป็นเสียง /อ/ ในเมืองส่วนใหญ่ เป็นเสียง K ในเขตชนบท และ /g/ ในทางตอนใต้ที่อยู่ห่างไกล และในหมู่ชาวเบดูอิน บางหมู่บ้านในดาลิลี ยกเว้นชาวดรูซ ที่ออกเสียง qāf ได้เช่นเดียวกับในภาษาอาหรับคลาสสิก
  • ในสำเนียงที่ qāf ออกเสียงเป็น k kāf จะออกเสียงเป็น /tʃ/ เช่นเดียวกับบางสำเนียงของอ่าวเปอร์เซีย การออกเสียง kāf แบบนี้พบทางตอนเหนือของเวสต์แบงก์ และชุมชนชาวปาเลสไตน์ในอิสราเอลในบริเวณใกล้เคียง
  • ใช้ปัจจัย -a สำหรับเพศหญิงแทนที่ -i หรือ -é
  • คำว่า “ที่นี่” ในแต่ละสำเนียงไม่เหมือนกัน สำเนียงในเมืองใช้ "hōn" ชาวเบดูอินเนเกฟใช้ "hiniyye" หรือ "hiniyante".
  • ในสำเนียงของชาวเนเกฟ ไม่ใช้ -sh เป็นรูปปฏิเสธแต่ใช้ "mā" ในการปฏิเสธ