สำเนียงต่างๆ ของ ภาษาอาหรับเยเมน

  • สำเนียงยาฟีอีล่างยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง สำเนียงนี้ออกเสียง [jīm] ในภาษาอาหรับคลาสสิกเป็น [gīm] และ[qāf] เป็น [ġāf] การสลับเสียงแบบนี้พบในสำเนียงซูดานด้วย
  • สำเนียงซันอานี ความแตกต่างของสำเนียงนี้จากสำเนียงอื่นๆคือออกเสียง [g] หนักแทนเสียง [qāf] ในภาษาอาหรับคลาสสิก ในขณะที่ยังรักษาเสียงของ ج ในภาษาอาหรับคลาสสิกไว้ได้ นอกจากนั้นยังใช้คำว่า mā ในภาษาอาหรับคลาสสิกในความหมายว่า “อะไร” และยังรักษาความหมายของคำศัพท์ไว้ได้หลายคำ เช่น "sāra, yasīr" หมายถึง ไป
  • สำเนียงตาอิซซี วัฒนธรรมของชาวตาอิซจัดเป็นแกนกลางของวัฒนธรรมเยเมนและเป็นสำเนียงที่ใช้พูดในเอเดน และเป็นสำเนียงที่ใช้พูดในกลุ่มผู้มีการศึกษาในเยเมน
  • สำเนียงเอเดนเ ป็นสำเนียงที่พบในเอเดนซึ่งต่างจากสำเนียงอื่นๆ โดยออกเสียง [qāf] ในภาษาอาหรับคลาสสิกเป็น q
  • สำเนียงติอามี มีลักษณะใกล้เคียงกับสำเนียงอื่นๆในเยเมน คือออกเสียง [qāf] ในภาษาอาหรับคลาสสิกเป็น q และ ج ออกเสียงเป็นเสียง [g] หนัก และแทนที่คำนำหน้า –al ด้วย am-
  • สำเนียงฮาดรามี สำเนียงนี้มีคำศัพท์ร่วมกับภาษาอาระเบียใต้สมัยใหม่ ทำให้แตกต่างจากภาษาอาหรับสำเนียงใกล้เคียงไปบ้าง การอพยพมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของผู้พูดสำเนียงนี้ ทำให้สำเนียงนี้มีอิทธิพลต่อภาษาอาหรับสิงคโปร์