การปรากฏร่วมกับภาษาอราเมอิก ของ ภาษาฮีบรู

ภาษาอราเมอิกเป็นภาษากลุ่มเซมิติกตะวันตกเฉียงเหนือเช่นเดียวกับภาษาคานาอันไนต์ ชื่อของภาษานี้อาจมาจากคำว่า Aram Naharayin ในเมโสโปเตเมียตอนบนหรือ Aram ซึ่งเป็นชื่อโบราณของซีเรีย สำเนียงที่หลากหลายของภาษาอราเมอิก พัฒนาร่วมมากับภาษาฮีบรูในประวัติศาสตร์

ภาษาอราเมอิกในฐานะภาษากลางของตะวันออกกลาง

ภาษาของพระเยซูและจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่เป็นสำเนียงของภาษาแอราเมอิกจักรวรรดิเปอร์เซียที่เข้ายึดครองบาบิโลเนียในเวลาต่อมาได้ให้ภาษาอราเมคเป็นภาษากลางของจักรวรรดิ ประชากรชาวยิวที่ถูกบังคับให้อพยพมาอยู่ที่บาบิโลนและบริเวณใกล้เคียงของยูดาห์ ได้รับอนุญาตให้กลับสู่เยรูซาเลมและตั้งยูเดียในฐานะจังหวัดหนึ่งของเปอร์เซีย ทำให้ภาษากอราเมอิกเข้าไปมีบทบาทในยูเดียด้วยอักษรอราเมอิกพัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ และในราว พ.ศ. 643 อักษรอราเมอิกพัฒนาไปเป็นอักษรฮีบรูทรงเหลี่ยมที่พบในม้วนคัมภีร์แห่งทะเลสาบเดดซี

ภาษาอราเมอิกเข้ามาแทนที่ภาษาฮีบรูในฐานะภาษาพูด

นักวิชาการรุ่นใหม่เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 25 ให้ความเห็นว่าภาษาอราเมอิกกลายเป็นภาษาพูดในดินแดนอิสราเอลตั้งแต่ยุควาเลนนิสติกในช่วง พ.ศ. 143 ซึ่งเป็นช่วงที่เลิกใช้ภาษาฮีบรูเป็นภาษาพูด อย่างไรก็ตาม หลักฐานจากม้วนคัมภีร์แห่งทะเลสาบเดดซีแสดงให้เห็นว่าภาษาฮีบรูยังคงใช้เป็นภาษาพูดควบคู่กับภาษาอราเมอิกต่อไป จนถึงช่วงที่ใกล้จะสิ้นสุดจักรวรรดิโรมันและกลายเป็นภาษาทางศาสนาในยุคจักรวรรดิไบแซนไทน์ เมื่อราว พ.ศ. 943 ภาษาที่มีบทบาทในอิสราเอลในยุคดังกล่าวมีสามภาษาคือภาษาฮีบรูในฐานะภาษาแม่ ภาษาอราเมอิกในฐานะภาษากลาง และภาษากรีกในการติดต่อกับภาคตะวันออกของจักรวรรดิโรมัน

ภาษาอราเมอิกสำเนียงของชาวยิว

การใช้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษากลางทำให้สำเนียงที่ใช้พูดในบริเวณต่างๆมีความแตกต่างกัน มีสำเนียงอราเมอิกเก่าตะวันตก รวมทั้งสำเนียงอราเมอิกเก่ายูเดียในช่วงจักรวรรดิโรมันด้วย โยเซฟัส ฟลาโส ได้เขียนหนังสือสงครามยิวด้วยภาษาอราเมอิกเก่ายูเดีย ซึ่งต่อมาได้แปลเป็นภาษากรีกเพื่อเผยแพร่ในจักรวรรดิโรมัน แต่ภาษาอราเมอิกที่โยเซฟัสใช้ไม่ได้เหลือรอด ในการสร้างเยรูซาเลมและวิหารครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 613 ชาวยิวเริ่มแพร่กระจายจากเยรูซาเลมไปยังประเทศอื่นโดยเฉพาะหลังสงครามบาร์โกคบาเมื่อ พ.ศ. 678 เมื่อโรมันเปลี่ยนเยรูซาเลมให้เป็นเมืองของลัทธิเพเกินชื่อ แอเลีย กาปิโตลินา

หลังสงคราม ภาษาอราเมอิกสำเนียงยิวปาเลสไตน์ได้ก่อตัวขึ้นกลายเป็นสำเนียงหลักของภาษาอราเมอิกกลางสาขาตะวันตก เยรูซาเลมทัลมุดใช้ภาษาอราเมอิกสำเนียงยิวปาเลสไตน์นี้เช่นเดียวกับมิดรัช รับบา และน่าจะมีอิทธิพลต่อการออกเสียงของภาษาฮีบรูติเบอเรียน

บาบิโลเนียทัลมุดใช้ภาษาอราเมอิกสำเนียงยิวบาบิโลเนียซึ่งเป็นสำเนียงของภาษาอราเมอิกลางสาขาตะวันออก ภาษานี้ยังคงเป็นภาษาพูดของชาวยิวในเมโสโปเตเมียและภาษาลิซานา เดนี ในเคอร์ดิสถานมีภาษาอราเมอิกที่เป็นลูกหลานของภาษาเหล่านี้ยังคงใช้พูดโดยชาวยิวจำนวนน้อย ภาษาอราเมอิกสำเนียงยิวเหล่านี้ไม่ได้รับอิทธิพลจากภาษาฮีบรู