ภาษาเบงกอล
ภาษาเบงกอล

ภาษาเบงกอล

ภาษาเบงกอล (เบงกอล: বাংলা, บังลา) เป็นภาษาที่พูดโดยประชากรของประเทศบังกลาเทศและรัฐเบงกอลตะวันตกในประเทศอินเดียซึ่งติดกับบังกลาเทศ นอกจากนี้ยังมีชุมชนของคนที่พูดภาษาเบงกอลที่ใหญ่พอควรในรัฐอัสสัม (อีกรัฐในอินเดีย ติดกับทั้งรัฐเบงกอลตะวันตกและประเทศบังกลาเทศ) และในประชากรที่อพยพไปทางตะวันตกและตะวันออกกลาง รูปแบบมาตรฐานของภาษานี้เรียกว่า cholit bhaashaa: จลิตภาษา เป็นภาษาย่อยที่พูดกันมากที่สุด มีแบบมาจาก "Calcutta Bengali" (ภาษาเบงกอลที่พูดในเมืองกัลกัตตา) ในประเทศบังกลาเทศ เขียนด้วยอักษรเบงกอลในภาษาอังกฤษ Bengali ใช้เรียกทั้งภาษาและคนที่พูดภาษานี้ ในภาษาเบงกอลเองเรียกภาษาว่า Bangla bhasa: บังลา ภาษา (বাংলা ভাষা) ซึ่งเป็นคำที่เริ่มใช้มากขึ้นในภาษาอังกฤษ ส่วนในภาษาเบงกอล ชาวเบงกอลเรียกว่า Bangali: บางาลี (বাঙালি); ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมเนียมของชาวเบงกอลเรียกว่า Bengal: เบงกอล ในภาษาอังกฤษ และ Bonggo: บองกอ (বঙ্গ) ในภาษาเบงกอล; "Bangladesh: บังลาเทศ" (বাংলাদেশ) เป็นคำที่ใช้เรียกภูมิภาคของชาวเบงกอลก่อนที่จะมีการแยกเป็นสองส่วน คือ เบงกอลตะวันตก (West Bengal หรือ Poshchim Bangla: ปอศชิม บังลา) ซึ่งได้กลายเป็นรัฐหนึ่งของอินเดีย และส่วนตะวันออก (เบงกอลตะวันออก: East Bengal หรือ Purbo Bangla: ปูร์บอ บังลา) กลายเป็นประเทศบังกลาเทศเนื่องจากมีผู้ใช้ภาษาเบงกอลมากกว่า 250 ล้านคนทั่วโลก ชีค ฮาซินา วาเจด นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ เสนอเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ให้สหประชาชาตินำภาษาเบงกอลเป็นภาษาราชการของสหประชาชาติซึ่งปัจจุบันมีอยู่แล้ว 6 ภาษา คือภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษารัสเซีย ภาษาจีน และภาษาอาหรับ[1][2]

ภาษาเบงกอล

ภูมิภาค ส่วนตะวันออกของเอเชียใต้
ตระกูลภาษา
ผู้วางระเบียบ บัณฑิตยสถานบังลา
ออกเสียง baŋla
จำนวนผู้พูด 207 ล้าน  (ไม่พบวันที่)
ISO 639-1 bn
ISO 639-3 ben
ISO 639-2 ben
ประเทศที่มีการพูด บังกลาเทศ อินเดีย และประเทศอื่น
ภาษาทางการ บังกลาเทศ อินเดีย รัฐเบงกอลตะวันตกในอินเดีย