ประวัติ ของ ภาษาเบงกอล

อนุสรณ์ของการต่อสู้เพื่อภาษาเบงกอลที่กรุงธากาหน้าจากชรรยปทภาษาเบงกอลเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มภาษาอินโด-อารยันตะวันออกซึ่งแสดงด้วยสีเหลือง

ภาษาเบงกอลเป็นภาษาในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันตะวันออก พัฒนามาจากภาษาในยุคกลางคือภาษาปรากฤตมคธและภาษาไมถิลี ซึ่งเป็นภาษาดั้งเดิมที่เคยมีบันทึกในบริเวณนี้และเป็นภาษาในสมัยพุทธกาลด้วย ภาษาเหล่านี้ต่อมาพัฒนาไปเป็นภาษาอรธามคธี และพัฒนาต่อไปเป็นกลุ่มภาษาอปภรัมสะ ภาษากลุ่มนี้ที่ใช้พูดทางตะวันออกคือภาษาปุรวี อปภรัมสะ ได้พัฒนาต่อไปเป็นสำเนียงท้องถิ่นสามกลุ่มคือ ภาษาพิหาร ภาษาโอริยา และภาษาเบงกอล-อัสสัม ในส่วนของภาษาเบงกอลนั้น แบ่งเป็นสามช่วงคือ

  • ภาษาเบงกอลโบราณ (พ.ศ. 1443/1543 – 1943) เอกสารที่สำคัญได้แก่ จรรยปทะ เกิดการใช้สรรพนาม Ami, tumi การผันกริยาด้วย -ila, -iba ภาษาโอริยาและภาษาอัสสัมแยกออกไปในช่วงนี้
  • ภาษาเบงกอลยุคกลาง (พ.ศ. 1943 – 2343) เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซีย
  • ภาษาเบงกอลใหม่ (หลัง พ.ศ. 2343) ทำให้การผันคำนาม คำกริยาสั้นลง

ภาษาเบงกอลได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤตมากขึ้นในยุคกลาง ภาษาอินโด-อารยันสมัยใหม่ในเอเชียใต้ เช่น ภาษาปัญจาบ ภาษาสินธี และภาษาคุชราตได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียมาก ซึ่งต่างจากภาษาเบงกอลและภาษาไมถิลี ที่ยังรักษารากศัพท์ที่มาจากภาษาสันสกฤตไว้ได้ ไวยากรณ์และพจนานุกรมภาษาเบงกอลฉบับแรกจัดทำขึ้นโดยมิชชันนารีชาวโปรตุเกสระหว่าง พ.ศ. 2277 - 2285

เมื่อดินแดนที่เป็นประเทศบังกลาเทศในปัจจุบันได้รับเอกราชในฐานะปากีสถานตะวันออกที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศปากีสถานได้มีการจัดตั้งขบวนการภาษาเบงกอลเมื่อ พ.ศ. 2494 – 2495 เพื่อเรียกร้องให้ใช้ภาษาเบงกอลเป็นภาษาราชการในปากีสถานตะวันออก ซึ่งในขณะนั้น มีภาษาอูรดูเป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียว ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 นักศึกษาที่ประท้วงถูกเผาโดยทหารและตำรวจในมหาวิทยาลัยธากา ทำให้นักศึกษาสามคนและประชาชนจำนวนมากถูกฆ่า[3] ต่อมา ใน พ.ศ. 2542 สหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 21 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันสากลแห่งภาษาแม่ เพื่อระลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าว.[4][5]