ตัวอย่าง ของ ภาษาเบรนฟัก

โปรแกรมต่อไปนี้จะพิมพ์คำว่า Hello World! และขึ้นบรรทัดใหม่บนจอภาพ

++++++++++[>+++++++>++++++++++>+++>+<<<<-] วนรอบค่าต่างๆ ที่มีประโยชน์เก็บไว้ในอาร์เรย์>++.                             พิมพ์ 'H'>+.                              พิมพ์ 'e'+++++++.                         พิมพ์ 'l'.                                พิมพ์ 'l'+++.                             พิมพ์ 'o'>++.                             พิมพ์ ' '<<+++++++++++++++.               พิมพ์ 'W'>.                               พิมพ์ 'o'+++.                             พิมพ์ 'r'------.                          พิมพ์ 'l'--------.                        พิมพ์ 'd'>+.                              พิมพ์ '!'>.                               ขึ้นบรรทัดใหม่ (พิมพ์อักขระ newline)

ซอร์สโค้ดข้างต้นมีการตัดขึ้นบรรทัดใหม่เพื่อให้สามารถอ่านได้ง่าย ซึ่งภาษาเบรนฟักจะทำงานเฉพาะโค้ด <>+-.,[] เท่านั้น อักษรอื่นๆ จะถูกข้ามไป จึงสามารถตัดบรรทัดหรือใส่หมายเหตุได้โดยไม่ต้องมีเครื่องหมายกำกับ สำหรับซอร์สโค้ดล้วนของโปรแกรมดังกล่าวสามารถเขียนได้ดังนี้

++++++++++[>+++++++>++++++++++>+++>+<<<<-]>++.>+.+++++++..+++.>++.<<+++++++++++++++.>.+++.------.--------.>+.>.

การทำงานจะเริ่มจากบรรทัดแรก ซึ่งเพิ่มค่าเซลล์ที่ 0 ให้เป็น 10 โดยการเพิ่มค่าทีละหนึ่งเป็นจำนวน 10 ครั้ง การวนรอบในบรรทัดที่สองเป็นการกำหนดค่าต่างๆ ไว้ในอาร์เรย์ดังนี้คือ เซลล์ที่ 1 เท่ากับ 70 (ใกล้กับ 72 ซึ่งเป็นรหัสแอสกีของ 'H'), เซลล์ที่ 2 เท่ากับ 100 (ใกล้กับ 101 ของ 'e'), เซลล์ที่ 3 เท่ากับ 30 (ใกล้กับ 32 ซึ่งเป็นรหัสของช่องว่าง), และเซลล์ที่ 4 เท่ากับ 10 (อักขระ newline) การวนรอบดังกล่าวจะทำงานแทนการคูณค่า 10 ในเซลล์ที่ 0 เข้ากับ 7, 10, 3, และ 1 ตามลำดับ และบันทึกผลคูณไว้ต่างเซลล์กัน หลังจากการวนรอบสิ้นสุดแล้ว บรรทัดที่สามคือการเลื่อนพอยเตอร์ไปยังเซลล์ที่ 1 แล้วเพิ่มค่าขึ้นอีกสองจนได้ 72 จากนั้นจึงพิมพ์อักขระ 'H' ออกมา บรรทัดถัดไปเป็นการย้ายพอยเตอร์ไปยังเซลล์ที่ 2 แล้วบวกหนึ่งจนได้ 101 ซึ่งเป็นอักขระ 'e' แล้วแสดงผลบนหน้าจอ บรรทัดต่อๆ ไปก็มีการย้ายพอยเตอร์และมีการเพิ่มค่าหรือลดค่าไปตามคำสั่งคล้ายกันนี้ กระทั่งพิมพ์ Hello World! ออกมาครบทุกตัวอักษร (รวมทั้งการขึ้นบรรทัดใหม่)