ภาษาเอสเปรันโต
ภาษาเอสเปรันโต

ภาษาเอสเปรันโต

ภาษาเอสเปรันโต (Esperanto) หรือชื่อเดิม Lingvo Internacia เป็นภาษาประดิษฐ์ในกลุ่มภาษาช่วยในการสื่อสารสากล (International auxiliary language) ที่ใช้กันมากที่สุดในโลก[1] เป็นหนึ่งในภาษาที่มีกลุ่มผู้ใช้น้อยกลุ่มหนึ่งของโลก โดยถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นเครื่องสื่อสารทางเลือกและเป็นผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะอย่างหนึ่ง[2] ในปี พ.ศ. 2555 ภาษาเอสเปรันโตถูกเพิ่มเข้าไปในกูเกิลแปลภาษา[3] ในปี พ.ศ. 2559 ปรากฏชื่อภาษาเอสเปรันโตในลิสต์รายชื่อภาษาที่เป็นที่รู้จักและเรียนมากในประเทศฮังการี[4] ชื่อภาษาเอสเปรันโตมาจากนามปากกา “D-ro Esperanto„ ในหนังสือของ แอล.แอล. ซาเมนฮอฟ (L.L. Zamenhof) จักษุแพทย์ชาวยิว ซึ่งเป็นหนังสือพื้นฐานของภาษานี้เล่มแรก (โดยมักเรียกชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า Unua Libro ซึ่งเขียนในภาษารัสเซีย ได้รับการอนุญาตจำหน่ายเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2430 โดยต้องการให้ภาษาเอสเปรันโตเป็นภาษาที่เรียนรู้ได้ง่าย และเป็นภาษาที่สองประมาณการกันว่ามีผู้พูดภาษาเอสเปรันโตมากกว่า 2,000,000 คน และที่ไม่เหมือนกับภาษาประดิษฐ์อื่นคือมีผู้ที่พูดภาษานี้มาตั้งแต่เกิดประมาณ 2,000 คน สมาคมเอสเปรันโตสากล (Universala Esperanto-Asocio) มีสมาชิกอยู่ในมากกว่า 120 ประเทศการประชุมใหญ่เอสเปรันโตสากล (Universala Kogreso de ESperanto) เป็นการประชุมของผู้พูดภาษาเอสเปรันโตในระดับนานาชาติอันหนึ่งที่มีประวัติยาวนาน โดยจัดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2448 (ค.ศ.1905) ที่เมืองบูลอน ซู แมร์ ในประเทศฝรั่งเศสวันที่ 15 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันฉลองของภาษาเอสเปรันโต ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของซาเมนโฮฟ ซึ่งในวันนี้ผู้ใช้ภาษาเอสเปรันโตจะรวมตัวกันในฤดูหนาว และเลี้ยงฉลองกัน โดยบางคนจะซื้อหนังสือภาษาเอสเปรันโตเล่มใหม่ในวันนี้ภาษาเอสเปรันโตเป็นภาษาเดียวที่มีธงประจำภาษา โดยทั่วไปแล้วภาษาอื่น ๆ จะไม่ใช้ธงชาติมาเป็นธงประจำภาษา เนื่องจากชาติหรือประเทศหนึ่งอาจมีได้หลายภาษา และภาษาหนึ่งอาจพูดในหลายชาติหรือประเทศ ธงประจำภาษาเอสเปรันโต พื้นธงเป็นสีเขียว มีรูปดาวสีเขียวบนพื้นที่สีเหลี่ยมสีขาวอยู่มุมบนซ้าย นอกจากธงแล้วยังมีเพลงประจำภาษาเอสเปรันโตอีกด้วย ชื่อเพลงว่า La Espero แปลว่า ความหวัง ซึ่งมีชื่อเหมือนกับเพลงชาติของอิสราเอล

ภาษาเอสเปรันโต

ที่มา รากศัพท์มาจาก กลุ่มภาษาโรมานซ์ กับ กลุ่มภาษาเจอร์แมนิก, ระบบไวยากรณ์มาจาก กลุ่มภาษาสลาวิก
สร้างโดย แอล. แอล. ซาเมนฮอฟ
การจัดตั้งและการใช้ International auxiliary language
ภาษาถิ่น ภาษาอิดอ และ Esperantido อื่น ๆ
ผู้วางระเบียบ Akademio de Esperanto
นักภาษาศาสตร์ epo
ออกเสียง [espeˈranto]
ระบบการเขียน อักษรละติน (อักษรภาษาเอสเปรันโต)
อักษรเบรลล์ภาษาเอสเปรันโต
Linguasphere 51-AAB-da
จุดประสงค์
ผู้ใช้ ผู้ที่พูดตั้งแต่เกิด: ประมาณ 1,000 ครอบครัว โดยมีเด็กประมาณ 2,000 คน  (2004)
ภาษาที่สอง: ประมาณ 2 ล้านคน (1999)
รูปแบบก่อนหน้า
Proto-Esperanto
  • ภาษาเอสเปรันโต
ISO 639-1 eo
ISO 639-3 epo
ISO 639-2 epo
วันที่ 1887