สัทศาสตร์ ของ ภาษาแต้จิ๋ว

อักษรละตินตัวเอนหมายถึงอักษรที่นิยมใช้ทับศัพท์แทนเสียง อักษรไทยในวงเล็บคือเสียงอักษรที่ใกล้เคียง

เสียงพยัญชนะ

เสียงพยัญชนะของภาษาแต้จิ๋ว
 ริมฝีปากปุ่มเหงือกเพดานอ่อนเส้นเสียง
นาสิก/m/ m (ม)/n/ n (น)/ŋ/ ng (ง) 
กัก ไม่ก้อง ธนิต/pʰ/ p (พ)/tʰ/ t (ท)/kʰ/ k (ค) 
ไม่ก้อง สิถิล/p/ b (ป)/t/ d (ต)/k/ g (ก)/ʔ/ - (อ)
ก้อง/b/ bh (บ) /ɡ/ gh (ก̃) 
ผสม
เสียดแทรก
ไม่ก้อง ธนิต /tsʰ/ c (ช)  
ไม่ก้อง สิถิล /ts/ z (จ)  
ก้อง /dz/ j/r (จ̃)  
เสียดแทรก /s/ s (ซ) /h/ h (ฮ)
เปิด /l/ l (ล)  

เสียงสระและพยัญชนะสะกด

เสียงสระอาจเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ได้ แต่สำหรับเสียงสระ+สะกดกักแสดงด้วยเสียงสั้นเท่านั้น คล้ายวิธีอ่านสระเสียงสั้นในภาษาไทย สระขึ้นจมูกมิได้หมายความว่าสะกดด้วย น แต่เวลาออกเสียงสระให้ปล่อยลมทางจมูกด้วย

เสียงสระของภาษาแต้จิ๋ว [2]
กลุ่มสระอ้าปากแย้มฟันห่อปาก
สระพื้นฐาน[i] i (อี)[u] u (อู)
[a] a (อา)[ia] ia (เอีย)[ua] ua (อัว)
[o] o (โอ)[io] io (อี-โอ)
[e] ê (เอ)[ie] iê (อี-เอ)[ue] uê (อู-เอ)
[ɯ] e (อือ)
[ai] ai (อาย)[uai] uai (อวย)
[oi] oi (โอย)[ui] ui (อูย)
[ao] ao (อาว)
[ou] ou (โอว)[iou] iou (เอียว)
[iu] iu (อีว)
สระขึ้นจมูก[ĩ] in (อีน̃)
[ã] an (อาน̃)[ĩã] ian (เอียน̃)[ũã] uan (อวน̃)
[ĩõ] ion (อี-โอน̃)
[ẽ] ên (เอน̃)【[ĩẽ] iên (อี-เอน̃)】[ũẽ] uên (อู-เอน̃)
[ɯ̃] en (อืน̃)
[ãĩ] ain (อายน̃)[ũãĩ] uain (อวยน̃)
[õĩ] oin (โอยน̃)[ũĩ] uin (อูยน̃)
[ãõ] aon (อาวน̃)
[õũ] oun (โอวน̃)
[ĩũ] iun (อีวน̃)
สระ+สะกดนาสิก[im] im (อีม)
[am] am (อาม)[iam] iam (เอียม)[uam] uam (อวม)
[iŋ] ing (อีง)[uŋ] ung (อูง)
[aŋ] ang (อาง)[iaŋ] iang (เอียง)[uaŋ] uang (อวง)
[oŋ] ong (โอง)[ioŋ] iong (อี-โอง)
[eŋ] êng (เอง)[ieŋ] iêng (อี-เอง)[ueŋ] uêng (อู-เอง)
【[ɯŋ] eng (อืง)】
สระ+สะกดกัก[iʔ] ih (อิ)
[aʔ] ah (อะ)[iaʔ] iah (เอียะ)[uaʔ] uah (อัวะ)
[oʔ] oh (โอะ)[ioʔ] ioh (อิ-โอะ)
[eʔ] êh (เอะ)【[ueʔ] uêh (อุ-เอะ)】
[oiʔ] oih (โอะ-อิ)
[aoʔ] aoh (อะ-โอะ)
[ip̚] ib (อิบ)
[ap̚] ab (อับ)[iap̚] iab (เอียบ)[uap̚] uab (อ็วบ)
[ik̚] ig (อิก)[uk̚] ug (อุก)
[ak̚] ag (อัก)[iak̚] iag (เอียก)[uak̚] uag (อ็วก)
[ok̚] og (อก)[iok̚] iog (อิ-อก)
[ek̚] êg (เอ็ก)[iek̚] iêg (อิ-เอ็ก)[uek̚] uêg (อุ-เอ็ก)
[ɯek̚] eg (อึก)
สระเสริม[m] m (มฺ)[ŋ] ng (งฺ)[ŋʔ] ngh (งฺอ์)

เสียงวรรณยุกต์

เสียงวรรณยุกต์มีสองกลุ่มคือ อิม (陰 หรือหยิน) กับ เอี๊ยง (陽 หรือหยาง) กลุ่มละสี่เสียง รวมแปดเสียง เสียงสระ+สะกดกักจะมีเสียงวรรณยุกต์ 4 หรือ 8 เท่านั้น

เสียงวรรณยุกต์ของภาษาแต้จิ๋ว
วรรณยุกต์12345678
ชื่ออิมเพ้ง (陰平)อิมเจี่ยน (陰上)อิมขื่อ (陰去)อิมยิบ (陰入)เอี๊ยงเพ้ง (陽平)เอี๊ยงเจี่ยน (陽上)เอี๊ยงขื่อ (陽去)เอี๊ยงยิบ (陽入)
ระดับเสียง˧˧ 33˥˨ 52˨˩˧ 213˨ʔ 2˥˥ 55˧˥ 35˩˩ 11˦ʔ 4
ลักษณะกลางราบสูงตกต่ำยกต่ำหยุดสูงราบสูงยกต่ำราบสูงหยุด
ตัวอย่าง
คำอ่านhung1 (ฮูง)hung2 (หู้ง/ฮู่ง)hung3 (หู่ง-ปลายยก)hug4 (หุก)hung5 (ฮู้ง)hung6 (หูง)hung7 (หู่ง/หูง)hug8 (ฮุก)