การวิเคราะห์ภูมิทัศน์เมือง ของ ภูมิทัศน์เมือง

Larry W. Canter (บัณฑิต จุลาศัย, 2547, หน้า 109) สรุปเทคนิคสำหรับการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางด้านสุนทรียภาพไว้ 5 วิธี ดังนี้

1.การใช้แบบสอบถาม2.การบรรยายพร้อมภาพประกอบ3.การใช้หุ่นจำลอง4.การใช้เทคนิคภาพซ้อน5.การสร้างภาพโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

การคาดการณ์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น (เกริก กิตติคุณ, ภูมิทัศน์เมือง,หน้า 72) เป็นการคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้างโครงการและเมื่อโครงการแล้วเสร็จ เพื่อการประเมินผลกระทบที่จะมีต่อสุนทรียภาพของเมือง โดยการคาดการณ์เพื่อการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในเรื่องของสุนทรียภาพที่เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างที่ก่อผลกระทบต่อชุมชน ทั้งนี้รายงานการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่จะมีต่อภูมิทัศน์ของเมือง โดยการสร้างภาพจำลอง (Simulation) ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การวาดภาพเพื่อแสดงโครงการที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่พร้อมคำอธิบายแสดงถึงการวิเคราะห์สภาพปัญหาของพื้นที่โครงการ และเปรียบเทียบสภาพพื้นที่จริงก่อนโครงการก่อสร้างที่ยังไม่เกิดขึ้น กับสภาพพื้นที่จริงหลังโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ เพื่อแสดงให้เห็นภาพจำลองจากการวาดรูปมุมมองแสดงทัศนียภาพโดยรวมของโครงการแล้วว่าไม่ได้ส่งผลกระทบทางสุนทรียภาพ การสร้างหุ่นจำลอง (Mass Model) ที่ถูกต้องตามมาตราส่วน เพื่อเปรียบเทียบผลกระทบทางการมองเห็นเสมือนว่าโครงการได้ก่อสร้างแล้วเสร็จในพื้นที่ การใช้ภาพที่สร้างสรรค์จินตนาการด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างภาพสามมิติของโครงการ และภาพเคลื่อนไหว (3D Animation) เพื่อแสดงให้เห็นภาพรวมของโครงการกับพื้นที่โดยรอบ ส่วนวิธีการที่ใช้กันมากที่สุด และได้ผลการการวิเคราะห์ทัศนียภาพของเมืองอย่างง่าย คือ การสร้างภาพจำลองซ้อนทับภาพถ่าย (Photomontage) โดยใช้หลักการถ่ายภาพโครงการ และภาพพื้นที่บริเวณโดยรอบ แล้วนำมาสร้างภาพจำลองซ้อนทับภาพถ่าย โดยมีวัตถุประสงค์ของการสร้างภาพจำลอง คือ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ (Comprehension) ได้ว่าโครงการที่จะเกิดในอนาคตเป็นอย่างไร เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือได้ (Credibility) ว่าถูกต้องตามความเป็นจริง และปราศจากอคติ (Lack of Bias) ไม่โน้มเอียงไปในทางที่จะทำให้เกิดความสวยงามหรือน่าเกลียดเกินความเป็นจริง โดยใช้คุณสมบัติของภาพจำลองที่สามารถเป็นตัวแทนของโครงการในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง มองภาพเหมือนจริง (Accuracy) และมองเห็นภาพได้ชัดเจน (Visual Clarity) อยู่ในขอบเขตของความจริง มีความถูกต้อง และสามารถตรวจสอบได้ (Legitimacy) โดยเฉพาะในกรณีที่มีข้อสงสัยในด้านความน่าเชื่อถือ จะต้องสามารถอธิบายได้

ใกล้เคียง

ภูมิทัศน์วัฒนธรรม ภูมิทัศน์เมือง ภูมิทัศน์ ภูมิทัศน์และอิคารัสปีกหัก ภูมิทัศน์ประหยัดพลังงาน ภูมิทัศน์วัฒนธรรมนาขั้นบันไดหงเหอฮาหนี่ ภูมิทัศน์วัฒนธรรมหุบเขาออร์ค็อง ภูมิทัศน์และโบราณสถานแห่งหุบผาบามิยัน ภูมิทัศน์วัฒนธรรมทะเลสาบตะวันตกในหางโจว ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของจังหวัดบาหลี : ระบบซูบะก์ หลักการตามปรัชญาไตรหิตครณะ