องค์ประกอบภูมิทัศน์เมือง ของ ภูมิทัศน์เมือง

จากอดีตการเลือกที่ตั้งของเมืองตามจุดมุ่งหมายเพื่อการป้องกันการรุกรานจากข้าศึกศัตรู การสร้างเมืองโดยอาศัยสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ จึงถูกกำหนดเป็นปัจจัยแรกขององค์ประกอบเมือง ต่อมาเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงจากชนบทไปสู่ความเป็นเมือง และเกิดการขยายตัวจากศูนย์กลางเมืองไปชานเมืองมากขึ้น สภาพแวดล้อมของเมืองถูกกำหนดตามสิ่งที่มนุษย์สร้าง โดยมีโครงข่ายคมนาคมขนส่งเป็นตัวเชื่อมโยงชุมชนต่างๆองค์ประกอบของเมือง มีปัจจัยที่หลากหลายทั้งทางกายภาพ และสังคมตามสิ่งปลูกสร้างทางสถาปัตยกรรมของพื้นที่เมืองและพื้นที่ว่าง อันก่อให้เกิดสภาพภูมิทัศน์ในแต่ละเมืองที่แตกต่างกัน โดยได้แบ่งประเภทขององค์ประกอบภูมิทัศน์ ดังนี้

1. องค์ประกอบภูมิทัศน์เมือง ตามลักษณะสภาพแวดล้อมทางภูมิประเทศของเมือง (Natural Environment)

2. องค์ประกอบภูมิทัศน์เมือง ตามสภาพแวดล้อมทางที่มนุษย์สร้างสรรค์ (Manmade Build Environment) ได้แก่ สภาพแวดล้อมของเมืองที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ และสิ่งปลูกสร้างของชุมชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่ของเมือง

เมื่อพิจารณาในแง่ของการวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของเมือง และประเมินเงื่อนไขขององค์ประกอบโดยพิจารณาจากรูปทรงทางผังเมือง ลักษณะและตำแหน่งที่ตั้ง ซึ่งองค์ประกอบสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของเมืองจากปัจจัยสภาพภูมิประเทศ และสภาพทางธรรมชาติ (Landform and Nature) โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพภูมิประเทศกับภูมิทัศน์เมือง และสถาปัตยกรรมใน 3 รูปแบบ ได้แก่ (Spreiregen, Paul D., 1965, page 51-52)

1. ภูมิทัศน์เมืองที่ตอบรับกับสภาพภูมิประเทศทั้งในเชิงสุนทรียภาพและประโยชน์ใช้สอย

2. การประเมินความสัมพันธ์ และผลกระทบระหว่างงานสถาปัตยกรรมในเมืองกับพื้นที่ธรรมชาติ

3. การตัดสินใจว่าพื้นที่ใดควรปล่อยให้คงอยู่ตามธรรมชาติ เพื่อช่วยเสริมสร้างคุณค่าให้กับเมือง

ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเมืองตามสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างสรรค์ (Manmade Build Environment) จากการประเมินเงื่อนไขขององค์ประกอบโดยพิจารณาจากรูปลักษณะของงานสถาปัตยกรรม ทางสัญจร และตำแหน่งของที่ตั้งตามสภาพแวดล้อมในชุมชนเมือง ได้แบ่งองค์ประกอบเมืองทางกายภาพที่มนุษย์สร้างสรรค์ 7 องค์ประกอบ ได้ดังนี้ (วรรณศิลป์ พีรพันธุ์, 2538, หน้า 5-18)

1. การวางผังเมือง (Urban Planning)

2. เส้นทางคมนาคม (Routes)

3. พื้นที่เมือง และพื้นที่ว่าง (Urban Spaces and Open Spaces)

4. กระสวนและลักษณะของเนื้อเมือง (Pattern, Grain and Texture)

5. ย่านของเมือง (The Districts of a City)

6. ปัจจัยเชิงนามธรรม (Nonphysical Aspects)

7. รายละเอียดประกอบเมือง (Details)

ภาพลักษณ์ หรือจินตภาพของเมือง (Image of the city) เควิน ลินซ์สถาปนิกชาวอเมริกัน (Kevin Lynch, 1977, Pages 47 - 48) ได้ศึกษาองค์ประกอบของเมือง ที่ได้จากการสังเกต ที่ประกอบด้วย เอกลักษณ์ (Identity) โครงสร้าง (Structure) และความหมาย (Meaning) ส่วนประกอบทั้งสามต่างมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด สิ่งต่างๆที่ก่อให้เกิดจินตภาพได้ชัดเจนต้องมีคุณสมบัติด้านเอกลักษณ์ และโครงสร้างอย่างชัดเจนปรากฏเป็นร่องรอยในความทรงจำแก่ผู้พบเห็น โดยเป็นมโนภาพของเมืองด้านความงามที่มีลักษณะเฉพาะอันชัดเจน แตกต่างไปจากเมืองอื่น อันชวนให้ระลึกถึงและจดจำได้ง่าย ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ตามลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม รวมถึงผู้คนและกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองนั้นๆ โดย Kevin Lynch พบว่ามีองค์ประกอบทางกายภาพของเมือง (The City Image and Its Elements) ที่ผู้คนมักใช้ในการสร้างจินตภาพขึ้นในใจระหว่างตนเอง และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับเมือง ให้แนวคิดองค์ประกอบในการรับรู้ของเมือง ทำให้ได้ภาพของเมืองในการค้นหาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองจากผู้พบเห็นที่ช่วยให้ผู้คนใช้ในการสร้างมโนภาพของตัวเองเกี่ยวกับเมือง ตามองค์ประกอบพื้นฐาน 5 ประการดังนี้ (วิมลสิทธิ์ หรยางกูล, 2537, 157-161)

1. เส้นทาง (Path)ทางสัญจร เป็นช่องทางการเคลื่อนที่ใช้สัญจรไปมา เช่น ถนน ทางรถไฟ ทางด่วน ทางเท้า เป็นต้น เส้นทางเหล่านี้เป็นส่วนที่มีความสำคัญมากต่อการเดินทางของผู้คนในเมือง ในขณะที่ผู้คนเคลื่อนไหวผ่านเส้นทาง ผู้คนมีโอการสเห็นส่วนต่างๆของเมืองตามเส้นทาง และเกิดความสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆของเมือง

2. เส้นขอบ (Edge)เส้นขอบ หรือ ขอบเขต เป็นองค์ประกอบที่มีลักษณะกำหนดขอบเขตของบริเวณที่ไม่ได้ใช้เป็นเส้นทางตามทัศนะของผู้สังเกต อาจปรากฏเป็นเส้นกั้นจากส่วนหนึ่งไปอีกส่วนหนึ่ง ที่เป็นแนวกั้นตามธรรมชาติ เช่น ชายฝั่งทะเล หรือ ริมฝั่งแม่น้ำ และแนวกั้นที่แสดงขอบเขตที่มนุษย์สรรสร้างขึ้น เช่น กำแพงเมือง คูเมือง

3. ย่าน (Districts) เป็นบริเวณพื้นที่ชุมชนที่มีขนาดของพื้นที่ตามลักษณะเฉพาะของชุมชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมือง มีเอกลักษณ์ของบริเวณอันเกิดจากลักษณะเฉพาะร่วมกันของบริเวณที่ผู้สังเกตเข้าสู่ภายในเมืองได้ โดยแต่ละพื้นที่จะมีสภาพความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันตามโครงสร้างทางสังคม วิถีชีวิตของชุมชนจะแสดงลักษณะกิจกรรมของผู้คนที่ปรากฏเป็นย่านที่มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันในเมือง

4. ชุมทาง (Node) จุดศูนย์รวม หรือ ชุมทาง มักเป็นจุดศูนย์กลางของเส้นทาง เช่น บริเวณสี่แยก หรือ ชุมทางสถานีขนส่งต่างๆ ชุมทางสถานีรถไฟใต้ดิน อาจเป็นสถานที่ซึ่งมีกิจกรรมหนาแน่นบริเวณจัตุรัสใจกลางเมือง จุดศูนย์รวมจึงเป็นจุดเด่นเฉพาะตัวของย่านในเมือง เกิดความสัมพันธ์กับเส้นทางต่างๆที่รวมกันเป็นชุมทางเมื่อมาถึงและเดินทางเชื่อมต่อไปยังที่อื่นๆ

5. ภูมิสัญลักษณ์ (Landmark)จุดสังเกต หรือ จุดหมายตา เป็นจุดอ้างอิง หรือ ภูมิสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นจุดหมายตา แตกต่างจากชุมทาง ที่บุคคลไม่สามารถเข้าสู่ภายในจุดหมายตาได้ โดยทำหน้าที่เป็นสัญญาณชี้แนะสำหรับสภาพแวดล้อม เช่น ป้าย อาคารสำคัญๆ อนุสาวรีย์ เป็นต้นไฟล์:Urbanscape1ภาพแสดง 5 องค์ประกอบหลักตามจินตภาพเมือง (Image of the city) ของลินซ์ (เกริก กิตติคุณ, 2552, หน้า 27.)ไฟล์:Urbanscape2ภาพแสดงจินตภาพในการรับรู้พื้นที่บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ ของนักท่องเที่ยว (เกริก กิตติคุณ, 2552, หน้า 29.)

ใกล้เคียง

ภูมิทัศน์วัฒนธรรม ภูมิทัศน์เมือง ภูมิทัศน์ ภูมิทัศน์และอิคารัสปีกหัก ภูมิทัศน์ประหยัดพลังงาน ภูมิทัศน์วัฒนธรรมนาขั้นบันไดหงเหอฮาหนี่ ภูมิทัศน์วัฒนธรรมหุบเขาออร์ค็อง ภูมิทัศน์และโบราณสถานแห่งหุบผาบามิยัน ภูมิทัศน์วัฒนธรรมทะเลสาบตะวันตกในหางโจว ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของจังหวัดบาหลี : ระบบซูบะก์ หลักการตามปรัชญาไตรหิตครณะ