การสังเกต ของ ภูเขาไฟเย็นยวดยิ่ง

แผนภาพระบบภูเขาไฟเย็นยวดยิ่งที่เป็นไปได้บนเอนเซลาดัส

วันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ยานอวกาศ กัสซีนี ถ่ายภาพไกเซอร์ที่ขั้วโลกใต้ของเอนเซลาดัส[7]

มีการพบหลักฐานทางอ้อมถึงภูเขาไฟเย็นยวดยิ่งต่อมาบนดาวบริวารน้ำแข็งหลายดวงในระบบสุริยะ เช่น ยูโรปา ไททัน แกนีมีดและมิแรนดา ยานอวกาศ กัสซีนี สังเกตปรากฏการณ์ที่คาดว่าเป็นภูเขาไฟเย็นยวดยิ่งบนไททัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณเทือกเขาดูมมอนส์และโซตราพาเทราที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งเป็น "หลักฐานที่ดีที่สุดของภูมิลักษณ์ภูเขาไฟบนดาวบริวารน้ำแข็ง"[8] ภูเขาไฟเย็นยวดยิ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่ใช้คาดการณ์ถึงแหล่งสะสมมีเทนในชั้นบรรยากาศ[9]

ในปี ค.ศ. 2007 หอดูดาวเจมิไนพบร่องรอยแอมโมเนียไฮเดรตและผลึกน้ำบนพื้นผิวแครอน ดาวบริวารของพลูโต แสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของภูเขาไฟเย็นยวดยิ่งหรือไกเซอร์เย็นยวดยิ่ง[10][11] ต่อมาในปี ค.ศ. 2015 ยานอวกาศ นิวฮอไรซันส์ พบว่าพื้นผิวแครอนยังมีอายุไม่มาก ซึ่งอาจเป็นผลมาจากภูเขาไฟเย็นยวดยิ่ง[12] ขณะที่มีการพบภูเขายอดแหว่งบนพลูโต ซึ่งเป็นองค์ประกอบของภูเขาไฟเย็นยวดยิ่ง[13]

ในปี ค.ศ. 2015 ยานอวกาศ ดอว์น จับภาพจุดสว่างสองแห่งในแอ่งบนซีรีส นำไปสู่การคาดการณ์ถึงภูเขาไฟเย็นยวดยิ่ง[14] ต่อมาเดือนกันยายน ค.ศ. 2016 นักวิทยาศาสตร์นาซารายงานผลการศึกษาภูเขาอะฮูนามอนส์บนซีรีสว่าเป็น "โดมภูเขาไฟที่ไม่เหมือนที่ใดในระบบสุริยะ ภูเขาขนาดใหญ่นี้มีแนวโน้มเกี่ยวข้องกับภูเขาไฟ โดยเฉพาะภูเขาไฟเย็นยวดยิ่ง ซึ่งปะทุของเหลวจากสารระเหยง่ายอย่างน้ำ แทนที่จะเป็นซิลิเกต ... เป็นตัวอย่างเดียวของภูเขาไฟเย็นยวดยิ่งที่อาจเกิดจากของผสมโคลนเค็ม และก่อตัวเมื่อไม่นานมานี้"[15] นอกจากนี้แอ่งออเคเตอร์บนซีรีสที่มีจุดสว่างอาจมีภูเขาไฟเย็นยวดยิ่ง[16][17] การศึกษาในปี ค.ศ. 2017 ระบุว่าการปะทุครั้งใหญ่ล่าสุดของแอ่งออเคเตอร์เกิดขึ้นเมื่อ 4 ล้านปีก่อน และน่าจะยังคงมีพลัง[18]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ภูเขาไฟเย็นยวดยิ่ง http://news.discovery.com/space/ceres-mystery-brig... http://www.nature.com/news/icy-volcanoes-may-dot-p... http://www.popularmechanics.com/space/solar-system... http://www.skyandtelescope.com/astronomy-news/char... http://www.spacedaily.com/reports/Ceres_The_tiny_w... http://www.spaceflightnow.com/news/n0707/17charon/ http://www2.ess.ucla.edu/~jewitt/papers/2004/JL200... http://dawn.jpl.nasa.gov/news/news-detail.html?id=... http://saturn.jpl.nasa.gov/news/newsreleases/newsr... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15592406